1. ผ่าตัดไส้เลื่อนนี่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลประมาณกี่วันคะ แล้วหลังจากนั้นต้องพักฟื้นประมาณ กี่วันถึงจะไปทำงานได้ตามปกติ
2. หลังการผ่าตัดต้องใช้เวลานานมั้ยคะ กว่าจะไปเล่นโยคะ หรือว่า เต้นแอโรบิกได้น่ะ
3. ผ่าตัดไส้เลื่อนนี่ ประกันจะจ่ายให้มั้ยคะ
เพราะ ไม่แน่ใจว่า ไส้เลื่อนจะเป็นโรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือป่าว
4. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสำหรับโรงพยาบาลเอกชน นี่ประมาณเท่าไหร่คะ
ตอบจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ
1. ผมนอน 2 วันจากนั้นไปพักที่บ้านอีก 1 อาทิตย์
2. หมอห้ามยกของหนัก+ออกกำลังกายหนักๆ
เป็นเดือนเลยครับจำไม่ได้ว่าเท่าไร ประมาณ 5-6 เดือนครับ
3. ตอนผมผ่าตัดยังไม่มีปกส. แต่น่าจะจ่ายนะ
4. ผมผ่าที่รพ.รามคำแหง 10 ปีที่แล้ว 26,000 บาทครับ
--- คำตอบอื่นๆ
>> รพ.เอกชนแถว นนทบุรี ประเมิน สามหมื่น ...
... รพ. ชลประทาน รวม เจ็ดพันกว่า ...
นอนโรงพยาบาล 3 วัน
พักที่บ้านอีก 1 เดือน
ค่าผ่าตัดเกือบๆ 3 หมื่น ค่าห้องวันละเกือบๆ พัน แต่ประกันสังคมจ่ายให้
>> นอนโรงพยาบาล 4 วัน กลับมาพักฟื้นต่อที่บ้านอีกประมาณ 1 อาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน)
หลังผ่าแล้ว หมอห้ามยกของหนัก ๆ 3 เดือนครับ รวมถึงห้ามเบ่ง ห้ามออกแรงที่จะเกิดแรงดันช่วงท้องอ่ะครับ การออกกำลังกายก็น่าจะไม่ได้ เพราะมันจะกระเทือนถึงแผลได้นะ
ผ่าที่โรงพยาบาลเอกชน ตอนนั้น ปกส. จ่ายให้ทั้งหมด ประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท แต่มีค่าห้องที่ผมจ่ายเพิ่มเพราะนอนห้องพิเศษ ก็เอาส่วนต่าง ไปเบิกกับประกันของบริษัท
>> ผ่าตัดที่ รพ บำรุงราศ(กระทรวงสาธารณะสุข)
นอน รพ. 3 วัน
งบประมาณ 15,000 บาท เมื่อปลายปี 2554
ไส้เลื่อนเกิดขึ้นได้เมื่อลำไส้ยื่นออกมานอกช่องท้อง ทางตำแหน่งที่ผนังของหน้าท้องอ่อนแอ บางรายทำให้มีการเจ็บ หรือเห็นเป็นก้อนยื่นออกมา โดยเฉพาะเวลาไอ ยืน หรือยกของหนัก
ไส้เลื่อนพบได้หลายตำแหน่ง
ที่หัวหน่าว inguinal hernia พบบ่อยที่สุดคือ ประมาณ 75 %
ที่สะดือ พบได้ 10-30%หากเป็นในเด็กอาจหายเองได้ก่อนอายุ 2ปี ถ้าไม่หายต้องผ่าตัด และหากเป็นผู้ใหญ่มักพบในหญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด
ที่โคนขา femoral hernia ซึ่งเป็นชนิดที่มักพบในผู้หญิง
นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจเป็นได้ แต่พบได้น้อย
อาการของไส้เลื่อน
ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ แต่ที่พบได้คือ
- มีก้อนนูนขึ้นมาที่ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่ง
- มีอาการจุก แสบร้อน ปวด บริเวณที่นูน
- เวลามีอาการไอ ยกของหนัก จะปวดจุกที่ท้องน้อยหรือขาหนีบ
- ในผู้ชายบางครั้งไส้เลื่อนจะลงไปถึงถุงอัณฑะทำให้เป็นก้อนขนาดใหญ่ในถุงอัณฑะข้างหนึ่ง
ถ้าหากว่ามีอาการปวด หรือพบก้อนบริเวณหัวหน่าว หรือโคนขา ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษใดๆ
โดยในการตรวจร่างกายแพทย์จะตรวจคลำพบตำแหน่งที่มีไส้เลื่อน และสามารถคลำหาจุดที่ผนังหน้าท้องอ่อนแอจนไส้เลื่อนดันออกมา บางครั้งแพทย์อาจจะให้ยืน หรือให้ออกแรงเบ่ง เพื่อจะได้ตำแหน่งที่ชัดเจนขึ้น
โดยปกติแล้วไส้เลื่อนจะไม่อันตราย แต่หากว่าไส้เลื่อนออกภายนอก แล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ อาจจะทำให้เกิดการขาดเลือดทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไข้ขึ้น ปวดรุนแรง ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการผ่าตัดโดยด่วน
สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน
- ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- มีตำแหน่งที่ผนังหน้าท้องอ่อนแอกว่าปกติ
- ท้องผูก
- ยกของหนักเป็นประจำ
- ภาวะที่มีน้ำในช่องท้อง
- ตั้งครรภ์
- น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
- ไอเรื้อรัง จามเรื้อรัง
บางคนจะมี ตำแหน่งที่ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากมีจุดที่ผนังหน้าท้องปิดไม่สนิท ตั้งแต่เล็กๆ และทำให้เกิดไส้เลื่อนตามมา เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแอลง หรือออกกำลังกายหนักไป ไอเรื้อรัง ในผู้ชาย เนื่องจากมีตำแหน่งที่ท่ออสุจิออกจากช่องท้องลงไปถึงอัณฑะ จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนที่ตำแหน่งนี้ได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน
- เพศชาย
- มีประวัติในครอบครัว
- ไอเรื้อรัง
- ท้องผูกเรื้อรัง
- อ้วน
- ตั้งครรภ์
- งานบางอย่างที่ต้องยืนมาก ยกของหนักมาก
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด