กางเกงในกันไส้เลื่อน การรักษาโรคไส้เลื่อนขาหนีบ ภาพไส้เลื่อน


3,349 ผู้ชม


   ไส้เลื่อนเกิดขึ้นได้เมื่อลำไส้ยื่นออกมานอกช่องท้อง ทางตำแหน่งที่ผนังของหน้าท้องอ่อนแอ บางรายทำให้มีการเจ็บ หรือเห็นเป็นก้อนยื่นออกมา โดยเฉพาะเวลาไอ ยืน หรือยกของหนัก
     ไส้เลื่อนพบได้หลายตำแหน่ง
      ที่หัวหน่าว inguinal hernia พบบ่อยที่สุดคือ ประมาณ 75 %
      ที่สะดือ พบได้ 10-30%หากเป็นในเด็กอาจหายเองได้ก่อนอายุ 2ปี ถ้าไม่หายต้องผ่าตัด และหากเป็นผู้ใหญ่มักพบในหญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด
      ที่โคนขา femoral hernia ซึ่งเป็นชนิดที่มักพบในผู้หญิง
      นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจเป็นได้ แต่พบได้น้อย
    อาการของไส้เลื่อน
       ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ แต่ที่พบได้คือ
        - มีก้อนนูนขึ้นมาที่ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่ง
        - มีอาการจุก แสบร้อน ปวด บริเวณที่นูน
        - เวลามีอาการไอ ยกของหนัก จะปวดจุกที่ท้องน้อยหรือขาหนีบ
        - ในผู้ชายบางครั้งไส้เลื่อนจะลงไปถึงถุงอัณฑะทำให้เป็นก้อนขนาดใหญ่ในถุงอัณฑะข้างหนึ่ง
          ถ้าหากว่ามีอาการปวด หรือพบก้อนบริเวณหัวหน่าว หรือโคนขา ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษใดๆ
          โดยในการตรวจร่างกายแพทย์จะตรวจคลำพบตำแหน่งที่มีไส้เลื่อน และสามารถคลำหาจุดที่ผนังหน้าท้องอ่อนแอจนไส้เลื่อนดันออกมา บางครั้งแพทย์อาจจะให้ยืน หรือให้ออกแรงเบ่ง เพื่อจะได้ตำแหน่งที่ชัดเจนขึ้น
         โดยปกติแล้วไส้เลื่อนจะไม่อันตราย แต่หากว่าไส้เลื่อนออกภายนอก แล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ อาจจะทำให้เกิดการขาดเลือดทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไข้ขึ้น ปวดรุนแรง ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการผ่าตัดโดยด่วน
    สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน
            - ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นผิดปกติ
            - มีตำแหน่งที่ผนังหน้าท้องอ่อนแอกว่าปกติ
            - ท้องผูก
            - ยกของหนักเป็นประจำ
            - ภาวะที่มีน้ำในช่องท้อง
            - ตั้งครรภ์
            - น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
            - ไอเรื้อรัง จามเรื้อรัง
         บางคนจะมี ตำแหน่งที่ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากมีจุดที่ผนังหน้าท้องปิดไม่สนิท ตั้งแต่เล็กๆ และทำให้เกิดไส้เลื่อนตามมา เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแอลง หรือออกกำลังกายหนักไป ไอเรื้อรัง ในผู้ชาย เนื่องจากมีตำแหน่งที่ท่ออสุจิออกจากช่องท้องลงไปถึงอัณฑะ จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนที่ตำแหน่งนี้ได้ง่าย
    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน
            - เพศชาย
            - มีประวัติในครอบครัว
            - ไอเรื้อรัง
            - ท้องผูกเรื้อรัง
            - อ้วน
            - ตั้งครรภ์
            - งานบางอย่างที่ต้องยืนมาก ยกของหนักมาก
            - ทารกที่คลอดก่อนกำหนด
    ภาวะแทรกซ้อนจากไส้เลื่อน
        - แรงกดทับบนเนื้อเยื่อรอบๆ ไส้เลื่อนขนาดใหญ่ อาจะทำให้มีอาการบวมอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ ได้ ยิ่งในผู้ชายที่มีไส้เลื่อนลงไปในถุงอัณฑะ จะยิ่งมีอาการปวดบวมได้
        - ลำไส้ส่วนที่ออกมาอุดตัน บางครั้งผนังหน้าท้องส่วนที่ไส้เลื่อนออกมา ไปบีบรัดหรือกดทับลำไส้ ทำให้เกิดลำไส้อุดตัน จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องรุนแรงได้ ถือว่าเป็นภาวะทีต้องผ่าตัดด่วน
        - ลำไส้ขาดเลือด ถ้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้ส่วนที่ออกมาถูกกดทับ จะทำให้เกิดการขาดเลือด และเนื้อเยื่อลำไส้ส่วนนั้นตายได้ ภาวะนี้ก็ต้องรับการผ่าตัดด่วนเช่นกัน
    การรักษา
        ถ้าไส้เลื่อนมีขนาดเล็ก และไม่มีอาการใดๆ รบกวน ก็สามารถสังเกตอาการและติดตามไปก่อนได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีอาการปวดเจ็บ ควรจะรับการรักษาโดยการผ่าตัด
        การผ่าตัด โดยหลักการก็คือการเข้าไปดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไปในช่องท้อง และสร้างความแข็งแรงให้กับผนังหน้าท้อง โดยการเย็บเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และอาจจะให้วัสดุสังเคราะห์ เย็บปิดไปบนตำแหน่งนั้นเพิ่มอีกขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่
        แต่หากเป็นการผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้องจะใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า และแผลที่หน้าท้องก็จะเล็กกว่ามาก ทำให้ทดแทนการผ่าตัดแบบเดิมไป
    การป้องกันไส้เลื่อน
            - ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
            - ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันท้องผูก
            - เลี่ยงการยกของหนัก หรือยกด้วยท่าที่ถูกต้อง
            - หยุดสูบบุหรี่
            - การใส่อุปกรณ์หรือ support เพื่อช่วยเรื่องไส้เลื่อน อาจไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์ หรือใช้ระยะสั้นก่อนผ่าตัดเท่านั้น
---------

ต่อมลูกหมาก ไส้เลื่อน กับ กางเกงใน
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

1. การไม่ใส่กางเกงใน ไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคใดๆ ทั้งสิ้น
(รวมทั้งโรคต่อมลูกหมากโต และไส้ เลื่อน)
ที่ ว่ากันว่าพระเป็นโรคต่อมลูกหมาก (คงหมายถึงต่อมลูกหมากโต) กันมาก ก็คงไม่ได้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งกายของท่าน แต่เกี่ยวกับความเป็นผู้ชาย และความมีอายุมากของท่าน
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เฉพาะในผู้ชาย (เนื่องจากผู้หญิงไม่มีต่อมนี้) ซึ่งจะพบมากขึ้นตามอายุ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวกับอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย
ในตำราต่าง ประเทศระบุว่าผู้ชายอายุ 41-50 ปี จะพบมีต่อมลูกหมากโตถึงร้อยละ 20 และเมื่อมีอายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป จะเป็นโรคนี้ถึง 4 ใน 5 คน (ร้อยละ 80)
ดังนั้น พระที่อายุมากจึงมีสัดส่วน (เปอร์เซ็นต์) ของการเป็นโรคนี้มากกว่าประชากรทั่วไป (ที่มีทั้งหญิงและชาย ทำให้สัดส่วนของการเป็นโรคนี้น้อยลงเท่าตัว) เช่น พระ อายุ 50 ปี จำนวน 100 รูป มีผู้ที่เป็นโรคนี้ 20 รูป (ร้อยละ 20) ส่วนประชากรทั่วไป 100 คน (หญิง 50 คน บวกชาย 50 คน) ก็จะมีผู้ชายที่เป็นโรคนี้เพียง 10 คน (ร้อยละ 20 ของชาย 50 คน)
ดังนั้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่า พระมีโอกาสเป็นโรคต่อมลูกหมากกันมาก ก็เลยคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับการไม่ใส่กางเกงใน
2. อาการที่เล่ามานั้น ยังบอกไม่ได้ชัดว่าน่าจะเป็นจากสาเหตุอะไร
ดู จากอายุก็มีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากโต แต่ก็ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆก็ได้ จึงขอแนะนำให้หาโอกาสไปปรึกษาแพทย์ดูให้แน่ใจ
 
ในรายที่เป็นต่อมลูก หมากโตต่อมนี้ซึ่งอยู่ใต้ท่อปัสสาวะจะกดดันให้ท่อปัสสาวะตีบ ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ คนไข้จะมีอาการปัสสาวะพุ่งไม่แรง หรือไหลรินเป็นหยด หรือสุดช้าได้ บางคนอาจตื่นขึ้นถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยครั้ง ออกครั้งละไม่มาก ถ้าเป็นมากๆ ก็มักจะมีอาการถ่ายปัสสาวะไม่ออก
การรักษา ถ้าเป็นเล็กน้อยอาจไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเริ่มมีการอุดกั้น ของทางเดินปัสสาวะชัดเจน แพทย์ อาจให้ยากินเพื่อให้ถ่ายปัสสาวะคล่องขึ้น (ซึ่งต้องกินทุกวัน) แต่ถ้าเป็นมาก ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดครับ

----

***อย่างผู้ชายถ้าไม่ใส่ก็จะเป็นไส้เลื่อนแต่ผู้หญิง ไม่ใส่ก็ไม่เป็นไม่ใช่เหรอทำไมถึงต้องใส่อ่ะ ***
***กางเกง ในไม่ได้กันไส้เลื่อนน่ะครับ มันไว้กันไข่ย้วย ดังนั้นผู้หญิงจะใส่หรือไม่ใส่ก็ไม่ต่างกัน แต่ถ้าใส่กระโปรง แนะนำให้ใส่เหอะครับ ฝุ่นมันเข้า ***
***ผู้หญิงเขาใส่ไว้กันเชื้อโรคเศษฝุ่นเข้าไปลามเลียน้องน้อยค่ะ(เขาว่าขนอย่างเดียวป้องกันไม่พอ) วิชาการนะ ๆ***
***ปัญหา นี้ช่างลำเค็ญในการที่จะตอบจริงๆ ไส้เลื่อนเกิดมาจากข้างใน ไม่เกี่ยวกับกางเกงในสักเท่าไหร่ นักฟุตบอลยุโรป หลายคนเล่นบอลโดยไม่นุ่งกางเกงใน เวลาคู่ต่อสู้ดึงกางเกงเวลาเลี้ยงบอล เห็นออกมาแกว่งทั้งพวง ก็ไม่เห็นจะเป็นไส้เลื่อนกันเลย สำหรับผู้หญิง จะไม่ใส่ก็ได้ ไม่เป็นไส้เลื่อนหรอก ถ้าทนอาการเย็นวาบๆไหว***
จากหลากหลายคำถาม หลากหลายคำตอบที่ได้ค้นคว้ามาตามกระทู้ต่างๆ
ทุก คนคงรู้ว่าในท้องของเรามีลำไส้ และคงเคยได้ยินเจ้าโรคไส้เลื่อนกันมาบ้าง เคยสงสัยไหมครับว่าไส้เลื่อนนั้นมาจากอะไร อยู่ในพุงดีๆทำไมถึงเลื่อน เลื่อนแล้วเป็นอย่างไร เลื่อนแล้วไปไหน วันนี้จะมาคุยกันสั้นๆครับ

           ในท้องของเรามีลำไส้อยู่สองส่วน ส่วนแรกคือลำไส้เล็ก เป็นลำไส้ส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ขดอยู่ตรงกลางท้อง ทำหน้าที่ย่อยอาหารต่อจากกระเพาะ อีกส่วนคือลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่อยู่รอบๆลำไส้เล็ก  ทำหน้าที่เก็บอุจจาระและปล่อยออกไป ลำไส้พวกนี้จะมีเนื้อเยื่อบางๆเหมือนกระดาษ ที่ขึงลำไส้ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ที่ทางหน้าท้องจะมีเนื้อเยื่อบุผนังและกล้ามเนื้อบังลำไส้ไว้อีกที จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้ลำไส้มีที่อยู่ประจำของมันอยู่ในช่องท้อง หากวันใดที่ลำไส้มีเหตุให้มันเปลี่ยนไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เราก็จะเรียกมันว่า "ไส้เลื่อน"
ทำไมถึงเลื่อน
        ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนก็คือ ''''''''ผนังหน้าท้อง''''''''ขาดความแข็งแรง โดยสาเหตุต่างๆกันไป
        1)ผิดปกติตั้งแต่เกิด บางคนมีช่องทางระหว่างช่องท้องกับลูกอัณฑะ(ซึ่งคนปกติจะปิดสนิท) บางคนขาดกล้ามเนื้อหน้าท้องบางตัว หรือมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องตั้งแต่เกิด ทั้งนี้แม้แต่จะเป็นแต่เกิด แต่อาจจะมาก่อเรื่องเมื่ออายุมากแล้วก็ได้
         2)การเสื่อมลงตามอายุ พบในผู้สูงอายุ ซึ่งกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องอ่อนกำลังลง
        3)อุบัติเหตุที่หน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงหรือเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง
        4)แรงดันในช่องท้องสูง การยกของหนัก ไอบ่อย มีการเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ จะทำให้แรงดันในท้องเพิ่มขึ้นและค่อยๆทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง มากขึ้นอย่างช้าๆ
         5)หลังการผ่าตัดช่องท้อง เนื้อเยื่อที่ถูกผ่าจะขาดความยืดหยุ่นและเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของหน้าท้อง หากช่วงพักฟื้นเกิดเหตุแทรกซ้อนกับแผล ก็จะทำให้เกิดไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัดได้มากขึ้น
         ปัจจัยเหล่านี้ถ้ามีเพียงข้อเดียวมักไม่เกิดอะไรขึ้น แต่หากเป็นพร้อมกันหลายๆข้อ ก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดไส้เลื่อนได้มากขึ้น
ชนิดของไส้เลื่อน
ถ้าแบ่งตามตำแหน่งที่ตรวจพบ จะแบ่งได้เป็น
      1) ไส้เลื่อนลงอัณฑะ
      2) ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนล่าง
      3) ไส้เลื่อนโคนขา
      4) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด
      5) ฯลฯ ไส้เลื่อนยังมีอีกหลายชนิด แต่เจอได้น้อยกว่ามาก
       การแบ่งแบบนี้ ได้ประโยชน์ในแง่ของการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายด้วยตา บางครั้งอาจจะบอกได้ถึงที่มาที่ไปของโรค และนำไปใช้ในการเลือกวิธีการในการผ่าตัด
        ประโยชน์อีกแง่หนึ่งก็คือบอกให้รู้ได้ว่า ไส้เลื่อนไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะกับผู้ชาย และไม่จำเป็นต้องลงไข่

ไส้เลื่อนเกิดในผู้หญิงได้ด้วยเหรอ
         ถ้าดูตามกายวิภาค ทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก ในส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ในช่องท้อง ก็มีการเจริญที่ใกล้เคียงกัน อวัยวะที่ภายนอกดูต่างกันต่างก็มีการเจริญทางกายวิภาคที่คล้ายกัน ผนังหน้าท้องของทั้งชายและหญิงก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ดังนั้นการเกิดไส้เลื่อนทุกชนิดจึงเกิดได้ในทั้งชายและหญิง
ไส้เลื่อนเกิดจากไม่ได้ใส่กางเกงในหรือไม่
        เป็นความเชื่อที่ผิดๆที่ว่า ไส้เลื่อนเกิดจากการไม่ใส่กางเกงในและกระโดดโลดเต้น คิดว่าความเชื่อนี้มาจากคนที่เป็นไส้เลื่อนจะสังเกตเห็นไส้เลื่อนได้ชัดเจน ขึ้นถ้าไม่ได้ใส่กางเกงในหรือยืนเดิน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุ
ในทางกลับกัน การใส่กางเกงในรัดๆโดยเฉพาะในผู้ชาย สามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้เช่นสังฆัง และการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ
ไข่บวม แต่หมอบอกว่าไม่ใช่ไส้เลื่อน
          เท่าที่พบ คนที่มารพ.ด้วยเรื่องกลัวเป็นไส้เลื่อน จะมีอาการหนึ่งก็คือลูกอัณฑะบวม ซึ่งอาการนี้จริงอยู่ที่ว่ามีไส้เลื่อนบางชนิดที่ทำให้ลูกอัณฑะบวมได้ แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการบวมที่ลูกอัณฑะได้ เช่น ท่อน้ำเชื้ออักเสบ ลูกอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะบิดตัว หรือมีน้ำในลูกอัณฑะ ทั้งนี้อาการเหล่านี้สามารถตรวจแยกจากไส้เลื่อนได้
ไข่ดันล่ะ
           ไข่ดันเป็นภาษาทั่วไปที่เรียกอาการมีก้อนที่บริเวณขาหนีบและหุบขาได้ไม่ ถนัดไม่จำเพาะว่าต้องเป็นไส้เลื่อน บางคนเป็นต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต บางคนเป็นไส้เลื่อนจริง บางคนมีอัณฑะบวมโดยไม่ใช้ไส้เลื่อน ดังนั้นถ้าให้คนที่ไม่ใช่แพทย์พยาบาลตรวจแล้วระบุแค่ว่าเป็นไข่ดัน ก็ไม่ได้บอกอะไรครับ
อาการ
           อาการในสายตาของแพทย์มีสองกลุ่มคือแบบหนักกับแบบเบา
           แบบเบาๆก็คือ พบก้อนเคลื่อนเข้าออก หรือพบก้อนที่ค้างตุงไม่เลื่อนไปมา อาจจะไม่ปวดเลยหรือปวดมากก็ได้แบบหนักๆ ก็อาการเหมือนกลุ่มเบาๆ แต่ว่ามีอาการของลำไส้อุดตันหรือพบการอักเสบของลำไส้และช่องท้อง โดยมากมักพบในกลุ่มที่ก้อนเลื่อนมาแล้วไม่กลับเข้าที่และมีอาการปวด
           ทั้งสองกลุ่มนี้ตัดกันด้วยเรื่องอาการลำไส้อุดตันหรือการอักเสบในช่องท้อง ครับ การที่แบ่งเป็นสองกลุ่มนี้ก็เพื่อเลือกว่าจะต้องผ่าตัดในทันทีเลยหรือไม่ หรือยังรอได้
ส่วนขนาดหรือลักษณะไม่ได้เป็นตัวตัดสิน เนื่องจากพบว่าส่วนใหญ่แล้วในก้อนไส้เลื่อนที่เห็นตุงๆ ไม่ใช่ไส้ แต่เป็นพังผืดโอเมนตัม Omentum เลื่อนลงมาปิด ซึ่งไส้เลื่อนที่เกิดจากพวกนี้มักไม่ก่ออันตราย ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดในทันที
การรักษา         
            1) ผ่าตัด ความจริงผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อน ถ้าเป็นไปได้ควรจะผ่าตัด โดยเฉพาะในรายที่ไส้มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออก(เพราะพวกนี้ถ้าวันไหนเลื่อน เข้าแล้วไม่ออก มักเกิดเรื่อง) เมื่อผ่าไปแล้ว แพทย์ก็จะทำการตัดและเย็บปิดช่องทางที่ผิดปกติและใช้เทคนิกการผ่าตัดเพื่อ เสริมความแข็งแรงให้บริเวณนั้น หรืออาจจะใส่วัตถุสังเคราะห์รูปตาข่ายไปพยุงส่วนนั้นให้แข็งแรง
            2) ดันไส้เลื่อนกลับ ในบางรายที่มารพ.ด้วยก้อนมีขนาดโตขึ้นและเจ็บปวด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไป
           3) รอต่อไป ในผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวหรือสภาวะร่างกายที่ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด หรือเสี่ยงเกิดที่จะผ่าตัดไหว ก็จะไม่ได้รับการผ่าตัด แต่ก็จะมีการแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดการเป็นหรือลดการเกิดอาการ
ผ่าตัดเลยไม่ได้หรือ
           ในทางทฤษฎี ไส้เลื่อนเป็นโรคที่ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ถ้าประเมินพบความเสี่ยงในการเกิดไส้เลื่อนติด (Incarcerated hernia & Strangulated hernia) ก็สมควรนัดทำการผ่าตัด
            แต่ในสภาพปัจจุบัน ศัลยแพทย์มีจำนวนไม่ได้**ส่วนกับจำนวนการผ่าตัด การผ่าตัดที่ต้องการความชำนวญและความเร่งด่วนมีมากขึ้น โรคไส้เลื่อนชนิดที่ยังไม่รุนแรงอาการยังไม่มาก จึงมักถูกให้รอไปก่อนและนัดมาผ่า , บางครั้งในกรณีที่นัดมาแล้ว เจอเคสผู้ป่วยที่หนักถึงชีวิตเข้ามา ก็มักจะต้องเลื่อนการผ่าไส้เลื่อนออกไป ดังนั้นการผ่าหรือไม่ผ่า บางครั้งนอกจากตั้งบนสภาพของโรคแล้ว ยังตั้งอยู่บนปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่างครับ
(ในระยะหลังศัลยแพทย์ต้องทำ งานหนักขึ้น เนื่องจากปัญหาฟ้องร้องทำให้หลายรพ.ไม่สามารถทำการผ่าตัดที่เคยผ่าได้ด้วย แพทย์ทั่วไป และต้องส่งผู้ป่วยไปให้ศัลยแพทย์ดูแลโดยไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น)
แบบไหนที่ดูไม่น่าผ่าแต่ควรผ่า
            ไส้เลื่อนที่พบในเด็ก เป็นภาวะหนึ่งที่ควรผ่า เนื่องจากว่าถ้าปล่อยไว้มีโอกาสเกิดไส้เลื่อนติดได้สูงกว่าในผู้ใหญ่ เมื่อพาเด็กไปตรวจและพบเป็นไส้เลื่อนแล้วก็สมควรมาผ่าตามแพทย์นัดครับ เนื่องจากถ้าปล่อยเอาไว้จนกลายเป็นแบบติดแล้วค่อยมาผ่าแบบฉุกเฉิน จะมีความเสี่ยงได้มากกว่า
กางเกงในพิเศษช่วยได้ไหม
            สมัยก่อนช่วงที่ให้รอผ่าตัดไส้เลื่อน อาจจะมีผู้ป่วยบางคนได้รับกางเกงในแบบพิเศษหรืออุปกรณ์ดันไข่(เป็นกางเกงแบบ ซูโม่และมีก้านติดแผ่นโลหะแบนมากดดันที่จุดที่มีไส้เลื่อน
ปัจจุบันการ ใช้เครื่องมือแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บที่จุดดังกล่าวและสามารถบดบังอาการที่ รุนแรงได้ แต่อาจมีใช้บ้างในระหว่างรอการผ่าตัด
แล้วจะทำอย่างไรขณะรอผ่าตัด
           การป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำในช่วงที่รอผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เราพอจะป้องกันได้ทั้งในรายที่เป็นแล้วและในรายที่ยังไม่เป็นก็คือ การลดความดันในช่องท้องจากการกระทำต่างๆคือ
           1) อย่าไอ - ในที่นี้คือไม่ไปรับสิ่งที่เสี่ยงต่อการไอ เช่นหยุดการสูบบุหรี่ รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด ถ้าไอควรจิบน้ำอุ่นบ่อยๆหรือใช้ยาแก้ไอตามสมควร
           2) อย่ายกของหนัก - การยกของหนักจะทำให้เกิดการเบ่ง และเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
           3) อย่าเบ่งอุจจาระ - ก็คือควรกินอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการระบาย เพราะหากท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระ ก็สามารถเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
           4) อย่าเบ่งปัสสาวะ - ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต่อมลูกหมากโตหรืออายุมาก อาจจะต้องเบ่งปัสสาวะบ่อย ทางแก้คือไปพบแพทย์ในเรื่องดังกล่าวเพื่อตรวจและรับการรักษาเพื่อให้ถ่าย ปัสสาวะคล่องขึ้น

อัพเดทล่าสุด