ประวัติของแอโรบิก ประวัติความเป็นมาของแอโรบิก ประวัติแอโรบิกในประเทศไทย


2,002 ผู้ชม


ประวัติของแอโรบิก ประวัติความเป็นมาของแอโรบิก ประวัติแอโรบิกในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของแอโรบิก

          แอโรบิค เกิดขึ้นเมื่อ 26 ปี มาแล้ว โดย DR. Kenneth H.Cooper ได้เขียนเป็นตำราเรื่อง AEROBICS กล่าวไว้ว่า แอโรบิคเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งชื่อว่า AEROBICS EXERCISE หมายถึง การออกกำลังกายที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สัมพันธ์กันระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับปอดใช้ออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้ ดังนั้นการเต้นแอโรบิค (AREOBIC DANCING) จึงนับเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิคอีกชนิดหนึ่ง
          เบื้องหลังความสำเร็จของการเต้นแอโรบิคได้รับการกล่าวถึงเป็นหนังสือ ชื่อ Aerobic Dancing โดย Jacki Sorensen ว่า กีฬาเต้นแอโรบิค ได้รับความนิยมสูงสุดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดให้มีการเต้นแอโรบิคภายในสตูดิโอหรือ โรงยิมโดยรับเอาต้นแบบการเต้นแอโรบิคประกอบ ดนตรีแบบอาหรับ จากนั้นกีฬาการเต้นแอโรบิคปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเข้ากับจังหวะดนตรี ในปัจจุบันด้วยวิธีนับจังหวะบีทเพลงจึงทำให้การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิคทันสมัยและสนุกสนานอยู่เสมอ
          ประสิทธิภาพจากการเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ทั่วโลกเกี่ยวกับทางด้านพัฒนาสุขภาพเกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อ,หัวใจ, ปอด เทียบเท่ากับการเล่นกีฬาวิ่งจ๊อกกิง, ว่ายน้ำ, หรือการเดินขึ้นบันได จึงไม่น่าแปลกเมื่อกีฬาเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทย ความแรงของกีฬาเต้นแอโรบิคได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลกนี่เองทำให้การเต้นแอโรบิคไม่มีท่าเฉพาะที่แน่นอน แต่หลักมาตราฐานสากล นั้นกำหนดให้ท่าเต้นต้อง นับให้เข้ากับจังหวะบีทเพลงหรือตัวโน้ตดนตรี ส่วนกีฬาเต้นแอโรบิคที่ประเทศไทย นั้นเลือกใช้ท่าเต้นที่นับตามจังหวะ 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 เท่านั้นเพราะจะช่วยให้การเต้นแอโรบิคเป็นไปได้ง่ายกว่า
เคล็ดลับการเต้นแอโรบิค

แอโรบิกดานซ์ในประเทศไทย

          ประมาณปี พ.ศ. 2518 ประชาชนชาวไทยได้มีการตื่นตัวในการออกกำลังกายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวไทยมีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษามากขึ้น  และเข้าใจถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายว่าสามารถลดโรคภัยไข้เจ็บได้ ในระหว่างปี พ. ศ. 2518  ได้มีกลุ่มนักธุรกิจเปิดสถานบริหารร่างกายขึ้น ซึ่งบริหารโดยคนไทย ซึ่งสืบสานและนำตัวอย่างมาจากสถานบริหารร่างกายโดยชาวอเมริกากันซึ่งเป็นนักธุรกิจมาทำงานในกรุงเทพ ฯ

         ในระยะแรกวิธีการสอนการออกกำลังกายสำหรับประชาชนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมนั้น  เป็นวิธีการบริหารร่างหายดังกล่าว  ได้มีวิทยากรชื่ออาจารย์สุกัญยา  มุสิกวัน  ได้เข้าไปเป็นวิทยากรและเล็งเห็นว่า กิจกรรมที่จัดให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมบริหารร่างกายนั้นไม่เพียงพอกับการเสริมสร้างสมรรถภาพเท่าใดนัก

         ในปี พ.ศ. 2519  อาจารย์สุกัญยา  มุสิกวัน  จึงได้จัดกิจกรรมชื่อว่า Slimnastic  ซึ่งมาจากคำว่า Slim + Gymnastic  ซึ่งเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายประกอบเพลง เป็นเครื่องมือในการออกกำลังกายสำหรับสมาชิก อันทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินมากขึ้น กิจกรรมดังกล่าว ได้เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรีเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายเพื่อลดสัดส่วนของร่างกาย ในปี พ.ศ. 2522  อาจารย์สุกัญยา  มุสิกวัน   (พานิชเจริญนาม) ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น  และได้เดินทางกลับมา

         ในปี พ.ศ. 2526  ได้เล็งเห็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Slimnastic  ควรเป็นไปในรูปแบบแอโรบิกดานซ์เหมือนสากล  จึงได้เริ่มสอนและได้จัดอบรมให้ผู้ที่สนใจและลูกศิษย์  ให้นำไปเผยแพร่ทั่วประเทศ  โดยจัดในรูปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 130 คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ  และนับจากปี 2526  เป็นต้น

         มาจนถึงปัจจุบัน  แอโรบิกดานซ์จึงเป็นกิจกรรมที่แพร่หลาย  และมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพลศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  และด้านเอกชน  ก็เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปฝึกร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความอดทนและได้มาซึ่งรูปร่างที่ดี  การออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์  ได้มีการพัฒนาและมีวิวัฒนาการเป็นการออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ เช่น  แอโรบิกดานซ์แบบแจซเซอร์ไซด์  แอโรบิกในน้ำ เสต็ปแอโรบิก  เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น  มีความสนุกสนานจากการออกกำลังกายและคงการออกกำลังกายให้นานที่สุด ที่สำคัญก็เพื่อประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์  และเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนานและได้ประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง

ข้อมูล : papan.activeboard.com
           aerobicdanceproject.wordpress.com

อัพเดทล่าสุด