วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือนอย่างรุนแรง ปวดท้องประจําเดือน อาการ


1,506 ผู้ชม


วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือนอย่างรุนแรง ปวดท้องประจําเดือน อาการ

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปวดประจำเดือน

          เชื่อคุณผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการก่อนมีประจำเดือนทุกเดือนจนเกิดความคุ้นเคยกับมัน เดือนไหนไม่มีอาการเหมือนขาดอะไรสักอย่าง บางคนก็มีอาการไม่มากจนไม่รบกวนคุณภาพชีวิต แต่บางคนก็เป็นมากจนเกิดอาการซึมเศร้า ประมาณว่าผู้ป่วยร้อยละ 8-10จะมีอาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน อาการต่างๆเหล่านี้ได้แก่ คัดเต้านม เวียนศีรษะ ปวดท้องอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดโดยมาก อาการมักจะไม่รุนแรงจนกระทั่งรบกวนคุณภาพชีวิต แต่คนกลุ่มหนึ่งอาการเหล่านี้รุนแรงจนกระทั่งบางคนเกิดอาการซึมเศร้า แบ่งกลุ่มอาการออกเป็น

อาการทางกาย

         อาการทางกายมักเกิดก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง คัดเต้านม บวมน้ำเล็นน้อย บางคนอาจจะเจ็บเต้านมขณะไข่ตกเมื่อมีประจำเดือนอาการเจ็บเต้านมก็หายไป จุกเสียดแน่นท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ร้อนตามตัว นอนไม่หลับ ไวต่อเสียงและกลิ่น

อาการทางอารมณ์

          อารมณ์ของผู้ป่วยจะผันผวนมากโกรธง่าย เครียด จะสูญเสียสมาธิ บางคนความจำไม่ดี มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้าอย่างมาก โกรธง่าย บางคนอาจจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล และปวดศีรษะจากความเครียดก่อนมีประจำเดือนเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า  Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)ซึ่งเป็นโรค premenstrual syndrome ที่มีอาการรุนแรง โดยต้องมีอาการทางซึมเศร้าอย่างน้อย 5 อาการตามการวินิจฉัย

การวินิจฉัย Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)

ผู้ป่วยจะเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนและหายไปหลังประจำเดือนมาโดยจะต้องมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการเป็นอย่างน้อย

-  รู้สึกซึมเศร้าหมดหวัง อาจจะมีความคิดทำร้ายตัวเอง
-  มีความวิตกกังวลและเครียด
-  อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และอาจจะร้องไห้
-  อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธคนอื่นง่าย
- ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนอื่น 
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน
-  อ่อนเพลียขาดพลังงานในการทำงาน
-  Food cravings or bingeing
- นอนไม่หลับ
- ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง
- อาการทางกายได้แก แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ

สาเหตุของการเกิด Premenstrual syndrome

         Reproductive Hormones and Neurotransmitters เมื่อให้ยาที่ลดการสร้าง estrogen สามารถทำให้อาการดีขึ้นจึงเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศกับสารที่หลั่งในสมอง ได้แก่ serotonin และ gamma-aminobutyric acid (GABA). ระดับ serotonin ที่ต่ำจะสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าและ carbohydrate cravingsและการขาดสาร GABA จะทำให้เกิดความวิตกกังวล
          เสียสมดุลของ Calcium และ Magnesium โดยพบว่าคนที่ขาด magnesium และมีระดับ calcium สูงจะเกิดอาการได้ง่าย
          เกิดจากความเครียดทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดออกมาได้แก่ cortisol ทำให้กระตุ้นเกิดอาการขึ้นมา
ผลของเสียต่อสุขภาพของ Premenstrual syndrome

          ขณะที่มี Premenstrual syndrome จะทำให้โรคหลายโรคกำเริบ เช่นโรคปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคsle
          ผลเสียทางอารมณ์ทำให้มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บางคนอาจจะมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง 
          ผู้ป่วยมักจะกังวลเรื่องเจ็บเต้านมทำให้ต้องตรวจ mamography ก่อนวัยอันควร
การวินิจฉัย Premenstrual syndrome

          ผู้ป่วยควรทำตารางจดอาการต่างๆที่เกิดในรอบเดือน 2-3 เดือนนำไปปรึกษาแพทย์โดยเริ่มจดตั้งแต่วันที่หนึ่งของรอบเดือนจนกระทั่งประจำเดือนมาดังตัวอย่าง หากมีอาการเหมือนกันและเป็นช่วงเดียวกันของรอบเดือนก็ให้การวินิจฉัยว่าเป็น premenstrual syndrome

การป้องกัน

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัดดังนั้นจึงยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีและเชื่อถือได้จึงมีคำแนะนำรวมๆเพื่อป้องกัน

- รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มี carbohydrate สูง
- รักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ และสุรา
- ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นเช่น  ibuprofen or naproxen
- รับประทาน calcium ทุกวัน (1,500 mg/day),เท่ากับดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว
- หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด
การรักษาโดยไม่ใช้ยา

- อาหารให้หลีกเลี่ยงของหวาน กาแฟ บุหรี่ สุรา รับประทานผักสด ผลไม้ ธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม นมสด หลีกเลี่ยงเนื้อแดง  แนะนำให้รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ อย่ารับประทานครั้งละมากๆ รับประทานอาหารให้เป็นเวลาเพื่อป้องกันท้องอืด
- การออกกำลังกายควรวันละ 30 นาทีโดยการเดินเร็วๆไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหนักเพราะจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติ
- ให้รับประทาน calcium วันละ 1200 มิลิกรัมต่อวันซึ่งจะเห็นผลหลังจากรับยาไปแล้ว3 เดือน
- วิตามินมีบางรายงานว่าอาการ Premenstrual syndrome เกิดจากการขาดวิตามินหลายชนิดได้แก่ vitamins A, E, B-6, และ B1ดังนั้นจึงมีผู้แนะนำให้รับวิตามิน B1 และ B6 
- นอนพักให้เพียงพอ
- ลดความเครียด
การรักษาโดยใช้ยา

- Selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) เป็นยาที่เพิ่มระดับ serotonin ในสมองเป็นกลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้าได้แก่ fluoxetine , sertraline , paroxitine มีรายงานว่าสามารถอาการซึมเศร้าและอาการปวดศีรษะ
- GnRH Analogs เป็นยาที่ลดการสร้าง estrogen ทำให้ไม่มีการตกไข่ทำให้อาการ คัดเต้านม อ่อนเพลีย และโกรธง่ายหายไป แต่ต้องระวังหากใช้มากกว่า 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
- Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
- ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งจะป้องกันไข่ตกสามารถลดอาการของ premenstrual syndrome
- ยาฉีดคุมกำเนิดก็นำมาใช้รักษาอาการได้
- ยาแก้ปวด

ข้อมูล : www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด