วิธีแก้หนังตากระตุกเกิดจากอะไร ( ตากระตุกไม่หยุด หนังตากระตุกบ่อย )


1,205 ผู้ชม


วิธีแก้หนังตากระตุกเกิดจากอะไร ( ตากระตุกไม่หยุด หนังตากระตุกบ่อย )

ตากระตุก ( Benign Essential Blepharospasm )
ตากระตุก ( Benign Essential Blepharospasm )
             เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยมีอาการตาเขม่น หรือ ตากระตุกมาบ้าง พอเกิดอาการนี้ขึ้นมาก็จะรู้สึกรำคาญและกังวลขึ้นมาว่าจะมีอันตรายหรือไม่ ดังคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่า “ขวาร้ายซ้ายดี” เราจะมาดูกันว่าจะดีจะร้ายอย่างไรกันแน่
             ตากระตุกเป็นภาวการณ์เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหนังตา ( orbicularis oculi ) โดยไม่ตั้งใจ ( involuntary ) ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 5 คน ใน 1 แสนคน โดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณ 2,000 คนทุกปี มักเป็นในช่วงอายุ 50-60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1.8 เท่า
             สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน จากการศึกษาคาดว่าน่าจะเกิดจากการประสานงานผิดปกติ ( miscommunication ) ของเซลล์สมอง ( ส่วน basal ganglion ) และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย
             อาการเริ่มต้นอาจมีแค่เขม่นๆหรือมีการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อไม่มาก ทำให้กระพริบตาถี่ขึ้นกว่าปกติ ต่อมาถ้าเป็นมากขึ้นจะมีกล้ามเนื้อหนังตาเกร็งจนต้องกระพริบตาแรงๆ บางคนถึงกับลืมตาไม่ขึ้นและมีกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเกร็งร่วมด้วย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
             ภาวะที่จะทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น ความเครียด อ่อนเพลีย แสงสว่างจ้าๆ ส่วนภาวะที่จะทำให้อาการดีขึ้น เช่น การนอนหลับ การใช้สมาธิมุ่งมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การพูด การร้องเพลง ในบางคนหายเองได้ บางคนจะเป็นๆหายๆ บางคนเป็นเรื้อรัง ถ้ามีอาการมากก็รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้
             การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จะต้องได้รับการตรวจตาโดยละเอียดจากจักษุแพทย็ก่อน ว่าการเกิดตากระตุกนี้ไม่ได้เป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคตาอื่นๆ เพราะมีโรคตาบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น เปลือกตาอักเสบ ตาแห้ง ขนตาผิดปกติ การติดเชื้อของตา กระจกตาอักเสบ ต้อหิน ต้อกระจก โรคจอประสาทตา ซึ่งถ้าตรวจพบและรักษาโรคเหล่านี้ ฏ็จะทำให้อาการตากระตุกหายไปได้
             แต่ถ้าไม่พบโรคตาอื่น ก็แสดงว่าเป็นตากระตุกชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Benign Essential Blepharospasm ) จะให้การรักษาโดยใช้ยากิน ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายกลุ่ม แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ถ้าใช้ยากินไม่ได้ผลก็จะพิจารณาใช้ยาฉีด ที่นิยมในปัจจุบันคือ การฉีด botulinum toxin บริเวณที่มีอาการ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้ผลดีมาก ประมาณ 95% ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน ก็จะต้องฉีดซ้ำ แต่บางคนอาจอยู่ได้ 6-9 เดือน ผลข้างเคียงพบได้บ้าง แต่เป็นอยู่ชั่วคราวจะหายไปเองได้ เช่น หนังตาตก ตาปิดไม่สนิท หนังตาม้วนเข้าในหรือม้วนออกนอก มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น
              ถ้าใช้ยาฉีดไม่ได้ผลถึงจะใช้วิธีผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอากล้ามเนื้อหนังตาออก ( myectomy ) ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าการผ่าตัดเส้นประสาท ( neurectomy ) ที่พบภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
 
 โดย : คณะอนุกรรมการวิชาการ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

--------------

หลาย ๆ คนคงเคยตากระตุก  แต่สิ่งแรกที่จะนึกถึงก็คือ  "ขวาร้าย ซ้ายดี"  มันเป็นคำเชื่อตังแต่โบราณมาแล้ว   แต่แท้ที่จริงแล้วเมื่อไปพบแพทย์  แพทย์ได้บอกให้ฟังว่าอาการตากระตุก แบ่ง ได้เป็น 2 กรณี คือ เปลือกตากระตุก และลูกตากระตุก
           เปลือกตากระตุก อาจเกิดจากนิสัยความเคยชินในวัยเด็ก เด็กบางคนสามารถกระตุกเปลือกตาและใบหน้าเป็นครั้งคราวได้ และสามารถหยุดได้ทันทีเมื่อต้องการหยุด อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มักพบในคนสูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จะมีอาการเปลือกตา ค่อยๆ บีบตัวเกร็งทีละน้อยจนกลายเป็นหลับตาแน่นมากทั้งสองตา เกิดเป็นครั้งคราว  ขณะหลับจะไม่มีอาการ  หากทิ้งไว้นาน ความรุนแรงและความถี่จะมากขึ้นจน กลายเป็นตาปิดตลอด ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
           เปลือกตากระตุกอีกชนิดเกิดจากกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ากระตุก มักเกิดจากเส้นเลือดในสมองโป่งพอง หรือมีเนื้องอกกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเปลือกตา จะมีอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตาและกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอาการ เกร็ง จะคงอยู่แม้ขณะหลับจะมีอันตรายต้องได้รับการผ่าตัด
           ตากระตุก เป็นอาการกระตุกของลูกตาเป็นจังหวะด้วยทิศทางและความแรงแตกต่างกันออก ไปเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดขึ้นภายใน 2-3 เดือนแรกหลังคลอดหากลูกตากระตุกเท่าๆ กันในตาทั้งสองข้างอาจร่วมกับการมีศีรษะสั่นด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น นอกจากนี้ยังพบได้จากการล้าของกล้ามเนื้อตาทำให้ตากระตุก กลุ่มนี้ไม่มีปัญหา อะไรหายเองได้ แต่หากอาการตากระตุกเป็นอยู่นานๆ ควรต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของโรคจะได้แก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป
           เป็นไงคะสำหรับบทความทีนำฝากกัน บางทีการที่ตาของเรากระตุกนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องทั่วๆไปก็ได้ อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงอันตรายต่อร่างกายของเราก็ได้ ใครที่อ่านก็อย่าลืมนำไปเผยแพร่ความรู้ให้คนอื่นด้วยละ
"เรื่องเล็กๆ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้โดยไม่น่าเชื่อ"
ขอขอบคุณ : https://variety.teenee.com/foodforbrain/12007.html

---------

โรคตากระตุก ตากระตุกไม่หยุด หนังตากระตุกบ่อย

ตากระตุก หรือ ใบหน้ากระตุก อันตรายหรือไม่

โรคตากระตุก

        อาการตากระตุก หรือ ใบหน้ากระตุก อันตรายหรือไม่ สาเหตุเกิดจากอะไร และ มีวิธีรักษาอย่างบ้าง อ่านรายละเอียดได้เลยค่ะ โรคตากระตุก ( Blepharospasm )
เป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อ orbicularis muscle รอบดวงตา เกิดอาการหดเกร็งและ กระตุก ส่วนโรค ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ( hemifacial spasm ) เกิดจากการหดเกร็ง และ กระตุก ของกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง พบได้ในวัยผู้ใหญ่ อายุเฉลี่ย 45-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
อาการเริ่มต้นมักกระตุกที่ หนังตา มาก่อน หลังจากนั้นก็กระจายไปครึ่ง ใบหน้า ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ป่วยอย่างมากและบ่อยครั้ง กล้ามเนื้อรอบตาจะเกร็งจนตาปิดไปรบกวนการมองเห็น ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้
สาเหตุ
เชื่อว่าเกิดจากเส้นเลือดที่เลี้ยงก้านสมองเกิดคดเคี้ยวและไปกดเบียดเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ทำให้เกิดการนำกระแสประสาทที่ผิดปกติขึ้นมา
การรักษา
ในยุคก่อนได้มีการรักษาทางยาและ การผ่าตัด ในอดีต ยาที่ใช้มีหลายชนิด เช่น carbamazepine ,gabapentin ,clonazepam ,baclofen ได้ผลบ้างเล็กน้อย ไม่ดีเท่าที่ควร และมีผลข้างเคียง เช่น ง่วง และ แพ้ยา
ส่วนการผ่าตัด เรียกว่า microvascular decompression โดยต้องเปิดเข้าไปในกระโหลกศีรษะและทำให้เส้นเลือดที่เบียดเส้นประสาทอยู่ แยกห่างจากกัน แต่ก็มักกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้เนื่องจากเส้นเลือดและเส้น ประสาทมีขนาดเล็กมาก เป็นการผ่าตัดที่อันตรายและมีความเสี่ยงสูง  ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดก็สูงมาก ปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยม  

โรคตากระตุก

นอกจากนั้น ถ้าใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเกิดจากสาเหตุที่ชัดเจน เช่นเนื้องอก ก็รักษาตามสาเหตุแต่ก็พบได้น้อยมาก
         
ในปัจจุบันการฉีดยา Botulinum toxin หรือ Botox เพื่อรักษาอาการใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดี แต่ราคาสูงและต้องทำการฉีดซ้ำทุก 3-6 เดือน
หลักการของการใช้ยา Botulinum toxin คือ ยาจะไปยับยั้งการนำกระแสประสาทที่สั่งการไปที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้น้อยลง ทำให้การกระตุกลดลง จะเริ่มเห็นผลการรักษา 1-2 สัปดาห์หลังจากฉีด และยาจะออกฤทธิ์อยู่นาน 3-6 เดือน
ผลข้างเคียงที่พบได้ เป็นผลข้างเคียงระยะสั้นและไม่ได้พบบ่อยได้แก่ หนังตาตก ปิดตาไม่สนิท ตาแห้ง แต่ก็จะหายไปเมื่อยาหมดฤทธิ์
หลังการฉีดยาผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น ผู้ป่วยที่มีหนังตาปิดสามารถลืมตา มองเห็นได้อีกครั้ง และสามารถเข้าสังคมและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
โดยสรุปการฉีดยา Botox สามารถใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อรอบตาและใบหน้ากระตุกได้ ดีโดยผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดสมองและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ในการผ่าตัดสมอง และไม่ต้องรับประทานยาซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงมาก นอกจากนี้การฉีดยา Botox ยังไม่พบผลข้างเคียงที่มีอันตรายใดๆ
 
ใครที่ต้องทรมานกับ โรคตากระตุก หรือ ใบหน้ากระตุก ไม่น่ากลัวเลยนะคะ กับวิธีการรักษาในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องเสี่ยงจากผลข้างเคียงในการการผ่าตัด เพียงแค่ฉีดด้วยเข็มฉีดยาเล็กๆ คุณก็ไม่ต้องรำคาญกับ ตากระตุก และ ใบหน้ากระตุก อีกต่อไปค่ะ 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ขอรับการปรึกษาได้ที่ 02-932-2553
บทความจาก พญ.เกศรา โกศัลย์ประไพ

อัพเดทล่าสุด