หนังตากระตุกเกิดจากอะไร วิธีแก้หนังตากระตุกเกิดจากอะไร - ตากระตุกข้างขวา ส่วนล่าง


794 ผู้ชม


หนังตากระตุกเกิดจากอะไร วิธีแก้หนังตากระตุกเกิดจากอะไร - ตากระตุกข้างขวา ส่วนล่าง

ตากระตุกเกิดจากอะไร
ผู้ถาม : ดรุณี/กรุงเทพฯ
ดิฉันมีปัญหาที่ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหามาขอเรียนถาม คุณหมอดังนี้ค่ะ
    * ตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด
    * อาการตากระตุก จำเป็นต้องหาหมอหรือไม่
    * ถ้าเป็นบ่อยๆ จะมีอันตรายไหม (ดิฉันเป็นมาติดต่อกันหลายวันมากเลยค่ะ)
รบกวนช่วยตอบด้วยค่ะ
ผู้ตอบ : นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย
ตากระ ตุก (เปลือกตานะครับ ไม่ใช่ลูกตา ถ้าลูกตากระตุกนี่อีกเรื่องหนึ่ง) มีทั้งแบบที่เป็นชั่วครั้ง ชั่วคราวแล้วมักหายเองใน ๑-๒ สัปดาห์ และแบบที่เป็นถาวรเป็นปีๆ ครับ
สาเหตุ เกิดจากการส่งกระแสประสาทมากระตุ้นกล้ามเนื้อเปลือกตา (และอาจจะกล้ามเนื้อใบหน้าข้างเดียวกันร่วมด้วย) จากเส้นประสาทสมองคู่ที่ ๗ มากกว่าปกติ ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน บางรายเกิดหลังอุบัติเหตุที่ศีรษะ บางรายอาการเกิดขึ้นเอง โดยมีสิ่งกระตุ้นคือ กาเฟอีน (กาแฟ-น้ำอัดลม) การอดนอน ความเครียด บุหรี่ เป็นต้น
การรักษา/วิธีแก้หนังตากระตุกเกิดจากอะไร
- หยุดหรือลดสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น
- ถ้าไม่ดีขึ้นให้หาหมอ มียาให้ครับ
ใน รายที่มีอาการน้อยมักตอบสนองดีกับยากิน ถ้าไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น การฉีดยา Botulinum toxin (ที่มีคนเอามาใช้ฉีดลบรอยย่น นั่นแหละครับ) เข้าที่กล้ามเนื้อเพื่อให้คลายตัวและไม่กระตุกครับ

------------

ถาม- ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นอะไรไม่รู้ครับ อยู่ เปลือกตาบน (เน้นว่าเปลือกตา)  อยู่ ๆ ก็กระตุก เป็น ระยะ ๆ (เป็น ๆ หาย ๆ)  เป็นได้ราว ๆ 1 สัปดาห์  ช่วงที่เป็นถี่ ๆ หนังตาจะกระตุกจนเห็นได้เลย  แล้วก็รู้สึกเมื่อยตา พอเป็นไปหาหมอตา มา หมอบอกว่าเกิดจาก ใช้สายตามาก นำตาน้อย ไม่เพียงพอ อ้อ ใส่ contact len ด้วยครับ หมอจ่ายยา ให้กินคลายกล้ามเนื้อ กับน้ำตาเที่ยมให้ แต่ยังรู้สึกว่า อาการที่ว่าไม่ลดลง เลย  เลยชักไม่แน่ใจว่ามันเป็นที่ลูกตา หรือเส้นประสาทกันแน่ ต้องหาหมออะไรถึงจะรักษาได้ตรงอาการ คุณหมอในที่นี้ใครเคยเจออาการนี้ช่วยแนะนำด้วย

ตอบ - เจอบ่อยครับ
มีคนไข้ให้ได้ดูกันทุก 2-3 สัปดาห์
 
สาเหตุเกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเปลือกตา ยิงสัญญาณไม่ปกติ เปลือกตาก็เลยกระตุกยิกๆ
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
- การทำงานหนัก
- การอดนอน
- การมีสิ่งระคายเคืองที่ตา เช่น คอนแทคเลนส์, ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา, สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไป
 
ส่วนใหญ่จะหายเองในเวลาไม่กี่สัปดาห์ 
 
คำแนะนำ
- ใส่คอนแทคเลนส์น้อยๆ เท่าที่จำเป็น
- หยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ วันละ 4 ครั้งขึ้นไป
- นอนให้พอ
- พักเมื่อต้องใช้สายตากับคอมหรือหนังสือ 5-10 นาทีทุก ชั่วโมง
 
 
 
ถ้าไม่ดีขึ้น เป็นหลายๆเดือน ต้องหาสาเหตุอื่น โดยเฉพาะในคนสูงอายุ เช่น เส้นเลือดโป่งพองไปกดเส้นประสาท, เนื้องอกที่ไปกดเส้นประสาทครับ

ความคิดเห็น - เราก็เป็นตากระตุกด้านซ้าย ไปพบหมอ หมอสั่งเจาะเลือด ให้กินวิตามิน ก็ดีขึ้นเล็กน้อยนะ หมอบอให้ใช้สายตาน้อย ๆ

-----------


ตากระตุก ( Benign Essential Blepharospasm )
             เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยมีอาการตาเขม่น หรือ ตากระตุกมาบ้าง พอเกิดอาการนี้ขึ้นมาก็จะรู้สึกรำคาญและกังวลขึ้นมาว่าจะมีอันตรายหรือไม่ ดังคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่า “ขวาร้ายซ้ายดี” เราจะมาดูกันว่าจะดีจะร้ายอย่างไรกันแน่
             ตากระตุกเป็นภาวการณ์เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหนังตา ( orbicularis oculi ) โดยไม่ตั้งใจ ( involuntary ) ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 5 คน ใน 1 แสนคน โดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณ 2,000 คนทุกปี มักเป็นในช่วงอายุ 50-60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1.8 เท่า
             สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน จากการศึกษาคาดว่าน่าจะเกิดจากการประสานงานผิดปกติ ( miscommunication ) ของเซลล์สมอง ( ส่วน basal ganglion ) และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย
             อาการเริ่มต้นอาจมีแค่เขม่นๆหรือมีการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อไม่มาก ทำให้กระพริบตาถี่ขึ้นกว่าปกติ ต่อมาถ้าเป็นมากขึ้นจะมีกล้ามเนื้อหนังตาเกร็งจนต้องกระพริบตาแรงๆ บางคนถึงกับลืมตาไม่ขึ้นและมีกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเกร็งร่วมด้วย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
             ภาวะที่จะทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น ความเครียด อ่อนเพลีย แสงสว่างจ้าๆ ส่วนภาวะที่จะทำให้อาการดีขึ้น เช่น การนอนหลับ การใช้สมาธิมุ่งมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การพูด การร้องเพลง ในบางคนหายเองได้ บางคนจะเป็นๆหายๆ บางคนเป็นเรื้อรัง ถ้ามีอาการมากก็รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้
             การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จะต้องได้รับการตรวจตาโดยละเอียดจากจักษุแพทย็ก่อน ว่าการเกิดตากระตุกนี้ไม่ได้เป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคตาอื่นๆ เพราะมีโรคตาบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น เปลือกตาอักเสบ ตาแห้ง ขนตาผิดปกติ การติดเชื้อของตา กระจกตาอักเสบ ต้อหิน ต้อกระจก โรคจอประสาทตา ซึ่งถ้าตรวจพบและรักษาโรคเหล่านี้ ฏ็จะทำให้อาการตากระตุกหายไปได้
             แต่ถ้าไม่พบโรคตาอื่น ก็แสดงว่าเป็นตากระตุกชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Benign Essential Blepharospasm ) จะให้การรักษาโดยใช้ยากิน ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายกลุ่ม แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ถ้าใช้ยากินไม่ได้ผลก็จะพิจารณาใช้ยาฉีด ที่นิยมในปัจจุบันคือ การฉีด botulinum toxin บริเวณที่มีอาการ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้ผลดีมาก ประมาณ 95% ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน ก็จะต้องฉีดซ้ำ แต่บางคนอาจอยู่ได้ 6-9 เดือน ผลข้างเคียงพบได้บ้าง แต่เป็นอยู่ชั่วคราวจะหายไปเองได้ เช่น หนังตาตก ตาปิดไม่สนิท หนังตาม้วนเข้าในหรือม้วนออกนอก มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น
              ถ้าใช้ยาฉีดไม่ได้ผลถึงจะใช้วิธีผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอากล้ามเนื้อหนังตาออก ( myectomy ) ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าการผ่าตัดเส้นประสาท ( neurectomy ) ที่พบภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
 
 โดย : คณะอนุกรรมการวิชาการ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

อัพเดทล่าสุด