อาการลมออกหู หรือ โรคลมออกหู แนะวิธี แก้อาการลมออกหู


2,513 ผู้ชม


สาเหตุของอาการหูอื้อ หูตึง 
 
 
อาการหูอื้อ หูตึง หมายถึงการได้ยินไม่ชัด หรือสมรรถภาพการได้ยินลดลง เป็นอาการที่พบได้บ่อย และเป็นอาการนำที่สำคัญของการสูญเสียการได้ยิน โรคหรือความผิดปกติใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นตั้งแต่หูชั้นนอกไปจนถึงหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการหูอื้อ หูตึง ได้ทั้งสิ้น ความผิดปกติที่พบได้บ่อยเช่น ขี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุ หูชั้นกลางอักเสบ ส่วนในคนสูงอายุพบว่าการได้ยินเสียไปเนื่องจากประสาทหูเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ พึงระลึกไว้เสมอว่าสาเหตุของอาการหูอื้อ หูตึง มีหลายอย่าง และบางอย่างก็อาจแก้ไขให้หายได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนทุกราย 
 
 
 
เมื่อเสียงจากภายนอกผ่านรูหูเข้ามา คลื่นเสียงจะทำให้แก้วหูสั่น แล้วส่งผ่านหูชั้นกลางเข้าสู่หูชั้นใน ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้านำเข้าสู่สมอง หูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนมีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับเสียง กับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อันมารวมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว หูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้วยังแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ภายในส่วนเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ 
 
เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็น หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมากถึงหูตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดการได้ยินที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนดมาตรฐาน คนปกติมักมีระดับการได้ยินที่ 25 เดซิเบลหรือน้อยกว่า พวกหูตึงค่าความดังนี้จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ และพวกที่หูหนวกมีระดับการได้ยินเสียไปมากกว่า 90 เดซิเบล 
 
 
 
ปัญหาหูหนวกหูตึงย่อมมีผลต่อการพูดคุย และการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลกระทบทางสังคมกับคนข้างเคียง ยิ่งในเด็กแล้วผลที่ตามมาอันใหญ่หลวงคือ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา และการพูดให้สมบูรณ์สอดคล้องกับวัยได้ เสียงที่ดังเกินไปอาจจะมีผลทำให้หูตึงชั่วคราว หรืออาจทำให้หูตึงหรือประสาทหูเสื่อมแบบถาวร หูตึงชั่วคราวมักเกิดภายหลังจากที่ไปได้ยินเสียงดัง ๆ ในช่วงไม่นานนัก เช่น หลังเทศกาลตรุษจีนที่มีการจุดประทัดกัน ส่วนหูตึงแบบถาวร มักพบในพวกที่ได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่น พวกที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา เสียงที่ดังนี้นอกจากจะมีผลต่อการได้ยินแล้ว ยังมีผลต่อร่างกายอีกหลายด้าน เช่น อาจรบกวนการนอน รบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน รบกวนการสื่อสารติดต่อ ทำให้อารมณ์ตึงเครียด หงุดหงิดและอารมณ์เสียได้ง่าย 
 
ประสาทหูเสื่อมในวัยชราเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน เพราะคนเรามีอายุยืนขึ้น ควรนำผู้ป่วยมารับการตรวจวัดระดับการได้ยินก่อนว่าหูตึงมากน้อยเพียงใด และจะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ ไม่ควรด่วนตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟังไปตามการโฆษณา บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีประสาทหูพิการ ตัดสินใจไปซื้อเครื่องช่วยฟังมาใช้ โดยอ่านเอาจากโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ หรือบางรายซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่า สาเหตุของหูตึงหรือประสาทหูเสียนั้น มีมากมายหลายอย่าง และบางอย่างก็อาจรักษาให้หายได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด และแม้ว่าบางโรคอาจทำให้มีการสูญเสียการได้ยินถาวร และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ก่อนการใช้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจวัดระดับการสูญเสียการได้ยิ น เพื่อดูว่าจะได้รับประโยชน์จากเครื่องหรือไม่มากน้อยเพียงไร การติดต่อพูดคุยกับผู้ที่มีประสาทหูพิการหรือผู้สูงอายุ ต้องพูดช้า ๆ และชัดเจน พูดตรงหน้าเพื่อให้ผู้ฟังเห็นหน้าและริมฝีปาก ขณะออกเสียงไม่ควรสูบบุหรี่หรือเคี้ยวอะไรอยู่ในปากขณะพูด หากพูดแล้วยังสื่อความหมายไม่ได้ ควรเปลี่ยนประโยค หรือคำพูดไปใช้คำอื่นที่มีความหมายอย่างเดียวกัน 
 
 
 
ผู้ป่วยโรคมีเนีย จะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อยมักพบร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกเกิดขึ้นในทันทีทันใด ระยะเวลาอาจจะอยู่นานกว่า 20 นาทีถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรงแต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาต เมื่อหายเวียนศีรษะผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ ส่วนอาการหูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวร ถ้าเป็นระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเป็นแค่ชั่วคราวหลังจากหายเวียนศีรษะ แล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการเวียนบ่อย ๆ หรือเป็นมานานอาการหูอื้อมักจะถาวรบางทีหูหนวกไปเลยก็ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนจะบอกว่ามีเสียงเหมือนจั๊กจั่นหรือจิ้งหรีดร้อง บางคนก็บอกว่าเหมือนเสียงคำรามอยู่ในหูตลอดเวลา เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นขณะเวียนศีรษะ ส่วนอาการตึง ๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน เกิดจากแรงดันของน้ำในหูชั้นในที่ผิดปกติ 
 
หูชั้นนอกหมายถึงใบหู รูหู รวมไปถึงแก้วหู การอักเสบของหูชั้นนอกที่พบบ่อย คือการอักเสบของรูหู ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือผื่นแพ้ก็ได้ โดยมากมักเริ่มจากมีความชื้น เช่นน้ำเข้าหูและค้างอยู่ในหู ทำให้มีโอกาสที่เชื้อราหรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ก่อให้เกิดอาการอักเสบในรูหู การแคะหูทำให้มีแผลถลอกของรูหู และการติดเชื้อตามมาได้ อาการของหูชั้นนอกอักเสบมักเกิดภายหลังว่ายน้ำหรือแคะหู โดยผู้ป่วยจะมักมีอาการปวดหู หูเป็นน้ำเยิ้ม คล้ายหูแฉะ เป็นอาการหลัก บางรายมีอาการบวมแดงของรูหูและใบหู ซึ่งจะมีอาการหูอื้อตามมา โดยเฉพาะในรายที่มีเชื้อราหรือขี้หูมาก อาจทำให้รูหูอุดตัน ได้ยินไม่ชัด สำหรับการรักษา ส่วนใหญ่จะให้การรักษาตามสาเหตุ การทำความสะอาดหู ดูดหนอง หรือขี้หูออก แล้วเช็ดด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาเพิ่มความเป็นกรดในรูหู จะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น 
 
หูชั้นกลางจะเป็นโพรงอากาศเล็ก ๆ อยู่ระหว่างแก้วหูและหูชั้นใน โดยภายในหูชั้นกลางจะมีกระดูกฆ้อน ทั่ง โกลน มาต่อเชื่อมกันเพื่อนำเสียงเข้าสู่หูชั้นใน นอกจากนี้ยังมีท่อที่ต่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับจมูก ซึ่งจะทำหน้าที่คอยปรับความดันในหูให้เท่ากับภายนอก การอักเสบของหูชั้นกลางเกิดขึ้นได้บ่อยในเด็ก ซึ่งมักจะเป็นผลจากการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบนแล้วลามมายังหู การสังเกตหรือคอยติดตามดูอาการจะช่วยให้เราสามารถนำเด็กมาพบแพทย์ได้เร็วขึ้ น โดยเด็กมักจะบ่นปวดหู, หูอื้อ มีไข้ขึ้น ภายหลังจากเป็นหวัด ไอมาได้สามสี่วัน ในเด็กเล็กอาจร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อบุตรหลานของท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะกรณีที่อาการปวดมีมาก และไม่ขึ้น ภายหลังให้ยา แพทย์อาจพิจารณาเจาะแก้วหูเป็นรูเล็ก ๆ เพื่อระบายหนองออกและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น 
 
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ 
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

---

เวียนหัวบ้านหมุนเป็นเรื้อรังต้องหาสาเหตุ (เดลินิวส์)
          เวียนหัวบ้านหมุนเป็นอาการชนิดหนึ่งที่พบได้ทุกวัย มิใช่จะเกิดกับผู้สูงอายุเสมอไป เกิดกับใครจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานประจำก็ต้องหยุดงาน หากไปเกิดขณะเดินทางยิ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ขี่จักรยาน ขับรถยนต์ ว่ายน้ำ เดินลัดเลาะตามที่สูง ไหล่เขา ริมทะเล ล้วนทำให้เกิดอันตราย ถ้ากะทันหันมีคนช่วยเหลือไม่ทัน
  
          เวียน หัวหรือเวียนศีรษะ กินความหมายกว้างมาก อาจเล็กน้อยเพียงมึนๆ งงๆ หนักศีรษะ ตัวเบา ลอย คล้ายจะล้ม ไปจนถึงอาการรุนแรงจริงๆ จะเกิดมีความรู้สึก 2 อย่าง อย่างแรกตัวเราอยู่นิ่ง แต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเคลื่อนที่ หมุน หรืออีกแบบหนึ่ง ตัวเราเองรู้สึกว่ากำลังหมุน เคลื่อนที่ ในขณะที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่นิ่ง ทั้งสองแบบจะมึนหัวเวียนหัวหรือบ้านหมุนด้วยกันทั้งคู่
  
          อวัยวะที่เกี่ยวข้อง อวัยวะที่จะทำให้เกิดการเวียนหัวคือ เรื่องของหู ตา และ ระบบ ประสาท จะส่งคลื่นมายังสมองเป็นศูนย์กลางการควบคุม ทั้ง 3 อย่างต้องทำงานด้วยกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย เช่น เวลาเรานั่งรถที่กำลังวิ่งแล้วอ่านหนังสือ คนที่หู ตา ประสาท มั่นคงจะไม่เป็นอะไร ผู้ที่อ่อนไหว ตาไม่ค่อยดี อ่านหนังสือขณะรถเคลื่อนที่ เขย่าอาจเวียนหัวได้ วิธีแก้คือหยุดอ่าน มองไกลเสีย ให้เคลื่อนไหวไปในทางเดียวกัน เวียนหัวจะหาย
  
          ความ หมายเวียนศีรษะ Virtigo จะหมายถึงเวียนหัวแบบมีการเคลื่อนไหว Dizziness เวียนหัวทั่วๆ ไป Light headedness เบาโหวงๆ, Unsteadyness ทรงตัวไม่ได้, Loss Balance ไม่สมดุล
  
          นพ.วิรัช ทุ่งวชิรกุล แพทย์ทางโสต ศอ นาสิก หัวหน้างานโสตประสาท รพ.ราชวิถี หัวหน้าคือ นพ.เกียรติยศ โคมิน ผู้สนใจและมีประสบการณ์ทางด้านเวียนหัวมาก ไปศึกษาต่างประเทศเรื่องเวียนหัวมาเล่าให้ฟังว่า เวลาคนไข้ไปหาหมอ มีอาการเวียนหัวแล้วเล่าอาการต่างๆ ให้คุณหมอฟัง มักได้คำตอบจากคนไข้ว่า หมอเขาบอกว่าคงเกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน คุณหมอวิรัชบอกว่า เวียนหัวจากน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเป็นไปได้ แต่จากประสบการณ์พบน้อยมากอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีกได้
  
          โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) ซักประวัติดูจะมีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง เวียนหัวหมุนเกิน 20 นาที แต่ไม่เกิน 2 ชม. มีลมออกหู ต้องเป็นข้างเดียวกับการสูญเสียการได้ยิน และข้างเดียวกับการทรงตัวด้วย สาเหตุที่น้ำไม่เท่ากันเพราะการดูดซึมกลับไม่เท่ากัน ยังลึกลับ พิสูจน์ไม่ได้ วิจัยกันมานานแล้วยังไม่สำเร็จว่ามาจากเหตุใด ใครที่เป็นแล้วครั้งเดียวหายจะไม่ใช่โรคนี้ โรคนี้ต้องเป็น 2 ครั้งขึ้นไป แล้วเป็นๆ หายๆ โอกาสที่จะเป็นโรคนี้จึงน้อยมาก พบเพียง 10%
  
          สาเหตุ จากอื่นๆ จากสมองราว 5% จากยาต่างๆ เช่น ยาฆ่าเชื้อ และที่พบบ่อยคือ โรคความดันโลหิตสูง พอสบายใจขึ้นความดันลดลง ความดันลงมากไปก็เกิดอาการเวียนหัวได้ ต้องฝึกวัดความดันไว้ ตรวจดูหรือปรึกษาแพทย์แล้วอาการเวียนหัวจะหายไป หินปูนหลุด ปกติหินปูนจะเกาะอยู่อวัยวะรับเสียงของหูด้านใน พออายุมากขึ้นหรือถูกกระทบกระเทือน จะหลุดเป็นชิ้นเล็กๆ ออกมาตกลงไปในท่อของรูหู ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ โรคนี้มักเป็นตอนตื่นนอน ลุกขึ้นเวียนหัวทันที แก้โดยให้นอนหัวสูงไว้ อยู่นิ่งๆ ไม่ก้มหัว ท่านี้เศษหินปูนจะกลับเข้าที่เดิม ด้านจิตใจ พบมากถึง 15% จึงต้องมองทางสุขภาพจิตเพิ่มอีก
  
          ในภาพรวม โรคเวียนหัวบ้านหมุนจะเกี่ยวกับหูเพียง 50% เกี่ยวกับเรื่องนอกหูอีกครึ่งหนึ่ง จึงควรนึกถึงเรื่องนอกหูไว้ด้วย
  
          การ ค้นหาสาเหตุ ผู้ที่เป็นซ้ำๆ เรื้อรังทรมานมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ อย่าไปมุ่งฝังใจแต่เรื่องน้ำในหูไม่เท่ากัน เรื่องนอกหูยังมีอีก 50% เรื่องน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการนำให้รู้ก่อน เช่น หูอื้อ การได้ยินลดลง ลมออกหู ฯลฯ แก้ไขได้โดยลดอาหารพวกของเค็มจัด บุหรี่ กาแฟ ผงชูรส จะช่วยให้ทุเลาลงได้
  
          ไมเกรน พบบ่อยจะปวดหัวตุบๆ และเวียนหัว เกิดจากเส้นเลือดหดตัว เวลากินยาขยายหลอดเลือดอาจจะหายชั่วคราว แต่ถ้านอน ให้เต็มอิ่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะทุเลามากทีเดียว
  
          โม ชั่น ซิกเนส อาการเมารถ เมาเรือ อดนอน ทำให้เวียนหัวได้ บางรายยังเพิ่มคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หน้าซีดด้วย ผมเคยเดินทางไปแม่ฮ่องสอนทางรถยนต์ เลี้ยวไปเลี้ยวมาหลายโค้งมากมาย คนในรถเวียนหัวฟุบไปตามๆ กัน นั่งเรือ กลางทะเลคลื่นแรงๆ ก็เช่นกัน พอเหตุการณ์ผ่านไปร่างกายจะปรับตัวได้ หายไปเอง ใครที่รู้ตัวรู้ว่าจะเมาเรือเมารถ กินยาไว้ล่วงหน้าก่อนก็ทำให้ทุเลาลง ไปเที่ยวได้สนุกสมใจ
  
          เวียน หัวบ้านหมุนเป็นอาการอย่างหนึ่งเป็นซ้ำๆ เรื้อรังจะทรมานมาก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุดู ขอขอบคุณเอกสารความรู้เรื่องเวียนหัวของ พญ.กิ่งกาญจน์ เติมสิริ ด้วย

อัพเดทล่าสุด