เหงือกอักเสบมีเลือดออกตามไรฟัน เลือดออกตามไรฟันขาดวิตามินอะไร


1,733 ผู้ชม


เลือดออกตามไรฟัน ใช่ขาดวิตามิน

    ในบางคนที่มีเลือดออกตามไรฟัน มักเข้าใจว่า เป็นการขาดวิตามิน แต่ในความเป็นความจริงแล้วเลือดออกตามไรฟันนั้น อาจมีสาเหตุมาจากการเริ่มต้นเป็นโรคเหงือกอักเส
   การ มีหินปูน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือก รวมทั้งเชื้อโรคที่เกาะบนหินปูน จะกระตุ้นเหงือกให้อักเสบขึ้นมา เกิดภาวะเลือดออกตามไรฟันง่ายขึ้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคทางระบบเช่น ภาวะเลือดไหลออกง่าย (Bleeding) ก็ได้เช่นกัน
   ใน ส่วนของโรคเหงือกอักเสบนั้น ต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้จัดการด้วยการขูดหินปูน จะทำให้เหงือกแข็งแรงขื้น เลือดจะไม่ออกตามไรฟัน และ ควรป้องกันไม่ให้เหงือกเกิดการอักเสบอีก ด้วยการเอาใจใส่ดูแล ความสะอาดช่องปาก โดยแปรงฟันให้ถูกวิธีหลังอาหารทุกมื้อ อาการเหงือกอักเสบ และเลือดออกตามไรฟัน ก็จะไม่ปรากฏอีกต่อไป..

--------------------

เวลามีเลือดออกตามซอกเหงือกหรือตามไรฟัน เรา มักจะคิดว่าขาดวิตามินซี เพราะเรียนสุขศึกษามาตั้งแต่สมัยประถม คงจำกันได้อาการสำคัญของการขาดวิตามินซีคือ เลือดออกตามไรฟันแต่จริงๆ แล้ว บ้านเราเป็นเมืองที่มีผลไม้ ผักตลอดทั้งปีโอกาสขาดวิตามินซีถึงขนาดทำให้เลือดออกตามเหงือก ซอกฟันนั้นมีน้อยมาก แต่ที่เราพบบ่อยๆ และมักมองข้ามไป คือ การที่มีเหงือกอักเสบ ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

          - เวลาแปรงฟัน แล้วมีเลือดติดที่ขนแปรง
          - เวลาบ้วนยาสีฟัน ซึ่งเป็นฟองสีขาว แต่มีเลือดผสมออกมาด้วย
          อันนี้ละเป็นสัญญาณของเหงือกอักเสบเริ่มขึ้นแล้ว แต่ถ้าสังเกตให้ละเอียด เอากระจกมาส่องดู...

          เหงือกที่สุขภาพดี จะมีสีชมพู ขอบคมเรียบ ถ้ามีอาการอักเสบจะเห็นเป็นสีแดง นูนขึ้น บวมเป็นรอยหยักไม่เรียบ ถูกอะไรเสียดสีเลือดจะซึมออกง่าย เช่น แปรงฟัน รับประทานอาหารกรอบๆ แข็งๆ หรือใช้ไม้จิ้มฟัน ถ้าเป็นแบบนี้ต้องรีบพบทันตแพทย์

          ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบก็คือ เศษ อาหารที่เรารับประทานเข้าไป แล้วทำความสะอาดไม่หมด ตกค้างอยู่เกาะตามร่องฟัน ซอกเหงือก ขอบเหงือก เศษอาหารเหล่านี้เกาะ ในลักษณะของคราบฟันเหนียวๆ มีอาหารที่ไหนแบคทีเรียก็ตามมา ก็เกิดการอักเสบเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าจะไม่ให้เหงือกอักเสบก็ต้องลดคราบอาหารอย่าให้เกาะติดฟัน

วิธีพื้นฐานที่ใช้อยู่คือ
          - แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ
          - ใช้ไหมขัดซอกฟัน
          - ใช้น้ำยาบ้วนปาก


          ไม่เพียงเท่านี้อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องให้การดูแลอย่างดี คือ เรื่องหินปูนที่เกาะตามตัวฟัน หินปูนมาจากไหน มาจากน้ำดื่ม อาหาร น้ำลาย ตกตะกอนผสมกับคราบอาหารที่แปรงไม่หมดเกาะแน่นตามตัวฟัน ถ้าไม่เคยขูดทำความสะอาดมันก็เกาะหนาและลงลึกมากขึ้น ไปอยู่ใต้เหงือกเป็นช่อง เป็นกระเป๋า ยิ่งทำให้แบคทีเรียเข้าไปหลบซ่อนง่าย และอันตรายต่อกระดูกรองรับรากฟัน ซึ่งจะค่อยๆ ละลายตัว มีผลทำให้ฟันโยกคลอนถึงกับหลุดไปเลยก็มี

          โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่ค่อยเป็นค่อยไปจนทำให้เราใจเย็น ผัดผ่อนการไปพบทันตแพทย์ พอไปพบก็มีอาการลุกลามมากแล้ว การรักษาก็ทำได้ยากและใช้เวลานานกว่าจะหาย

ถ้ามองถึงวิธีรักษาโรคเหงือกอักเสบ ควรให้น้ำหนักที่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคดีที่สุด

          - อย่าให้เศษอาหารติดที่ตัวฟันและเหงือก
          - หลังอาหาร แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน
          - เลี่ยงอาหารเหนียว แป้ง อาหารหวาน
          - สำคัญที่สุดถึงฟันยังไม่มีอาการปวดเจ็บก็ควรไปพบทันตแพทย์ตรวจ ทุกๆ 6 เดือน และขูดหินปูนทำความสะอาดด้วย
            ครั้งสุดท้ายที่คุณไปพบทันตแพทย์นานมาแล้วหรือยัง

------------

เกิดอะไรขึ้นหากขาดวิตามิน

               ร่างกายจำต้องได้วิตามินจากอาหาร เพราะไม่สามารถสร้างขึ้นได้ หรือสร้างขึ้นได้เพียงเล็กน้อยไม่พอกับความต้องการของร่างกาย

หากอาหารมีวิตามินน้อย ร่างกายจะขาดวิตามินทำให้สุขภาพเสื่อมลง ร่างกายจึงต้องการวิตามินในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน  เมื่อได้รับไม่เพียงพอติตต่อกันไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดอาการขาดวิตามินบางตัว คนส่วนมากขาดวิตามินบางชนิดในขั้นไม่รุนแรง แต่มีผลทำให้ร่างกายเกิดผิดปกติขึ้นมา

อาการขาดวิตามินบางตัว ในขั้นไม่รุนแรงได้แก่ 

วิตามินเอ  มองไม่เห็นในที่มีแสงน้อย (ที่เรียกว่าว่าตาบอดกลางคืน) เยื่อบุตาแห้ง ภูมิต้านทานโรคต่ำลง เป็นหวัดง่าย

วิตามินบี           เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว เหนื่อยง่ายนอนมากแต่ตื่นเช้าไม่ไหวปัจจุบันมีผู้ขาดวิตามินนี้มาก การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลมากทำให้ขาดวิตามินบี ๑

วิตามินบี          ผิวหนังอักเสบเป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอก การทานอาหารมัน ๆ อยู่

เสมอ มีผลทำให้ขาดวิตามินบี ๒

ไนอะซิน               เบื่ออาหาร ประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารลดลง ท้องเสีย กระเพาะอาหารลำไส้ และผิวหนังภายนอก เกิดการอักเสบ เป็นต้น

วิตามินบี            มีอาการเบื่อาหาร วิตามินบี ๑๒  ทำให้เป็นโรคโลหิตจางชนิดพิเศษ หากขาดมากกว่านี้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท

กรดแพนโทเดอนิค             ผิวหนังอักเสบ ปวดศีรษะ

กรดโฟลิค             ท้องเสีย ลิ้นเป็นฝ้า

ไบโอติน                ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อเหนื่อยหอบ

วิตามินซี               ร่างกายปวดเมื่อย เบื่ออาหาร มีเลือดออกตามไรฟัน เป็นหวัดง่าย ร่างกายบริเวณที่ถูกแรงกระแทกเกิดรอยฟกช้ำง่าย

วิตามินดี               ร่างกายปวดเมื่อย หงุดหงิดง่าย

วิตามินอี และเค กรณีที่ขาดเพียงเล็กน้อย จะไม่ปรากฏอาการใด ๆ 

วิตามิน 

ประโยชน์ 

แหล่งที่มา 

วิตามินเอ

มีผลต่อสายตา :

ประการแรก          ช่วยให้สายตามองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อย

ประการที่สอง      ช่วยให้มองเห็นสีสันต่าง ๆ

แครอท ฟักทอง และผักเขียวเหลืองต่าง ฯลฯ

วิตามินบี

เปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน และรักษาระบบประสาท

เต้าหู้ถั่วหมัก  (กะปิเจ) ถั่วต่าง ๆ เชนรำข้าว ข้าวซ้อมมือ และงา

วิตามินบี

ใช้ในการเจริญเติบโตและในกระบวนการเมตาบอริซึ่มไขมัน เมื่อขาดวิตามิน บี ๒ จะกลายเป็นคนแคระเกร็น

นม ผักบุ้ง

วิตามินบี

ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโน และเป็นเอนไชม์แยกกรดอะมิโน ลดอาการภูมิแพ้

ข้าวสาลี ข้าวโพด

วิตามินบี ๑๒

สร้างเม็ดเลือดแดง หากมีน้อยก่อให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้น วิตามินชนิดนี้สามารถเก็บสะสมไว้ที่ตับและมีผลต่อระบบประสาท

นม เนยแข็ง

ไนอะซิน

เปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วย

ระบบย่อยอาหาร

เห็ด ถั่วต่าง ๆ งา  อาหารที่มีธัญพืชเป็นส่วนประกอบ

กรดแพนโทเดอนิค

มีหน้าที่สำคัญป้องกันประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาต ควบคุมอวัยวะย่อยอาหาร ทำให้เส้นผมเงางาม บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ครีมนวดผมต่าง ๆส่วนมากใช้กรดแพนโทเดอนิคเป็นส่วนผสมสำคัญ

นม ถั่วเหลือง ธัญพืชต่าง ๆ

กรดโฟลิค

เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดเเดง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ต้องระวังอย่าให้ขาดสารตัวนี้จะทำให้ทารกศีรษะลีบ

ผักใบเขียวทุกชนิด

ไบโอติน

ถนอมผิวพรรณและบำรุงระบบประสาท รักษา

อาการโรคทางระบบประสาท เช่น โรคนอนไม่หลับ

โรคชึมเศร้า เป็นต้น

ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ ยีสต์ เป็นต้น

วิตามินซี

ช่วยโคลาเจนรวมตัวกันได้ดี ป้องกันและรักษา

โรคหวัด ป้องกันสารก่อมะเร็ง

มะนาว บร็อกเคอรี่ มะเขือเทศ พริกหยวก ผักชีฝรั่ง กะหล่ำปลีอ่อน ถั่วแขก ฟักทอง  สาหร่ายทะเล องุ่นสีม่วง และ ผักใบเขียว

วิตามินดี

ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส อันที่จริงแล้วผิวหนังสามารถสร้างวิตามิน ดี ได้จากแสงแดดจึงควรมีโอกาสสัมผัสแสงอาทิตย์ยามเช้าบ้าง ร่างกายจะแข็งแรงมากขึ้น และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับไตอีกด้วย

เห็ดหอม นม เนยสด

วิตามินอี

ช่วยเอนไซม์ยับยั้งความชราทำให้เลือดไหลเวียน

สะดวก

น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ถั่วต่าง ๆ และผักสีเขียวปนเหลือง

วิตามินเค

ช่วยให้เลือดแข็งตัว โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผล

ผักบุ้ง หัวผักกาดขาว ผักชีฝรั่ง  แครอท เนย ถั่วหมัก (กะปิเจ หรือ เต้าเจี้ยว)

 Source: https://www.mindcyber.com

อัพเดทล่าสุด