ท้อง 1 เดือน อาการ ท้อง 1 เดือน เป็นหวัด กินยาอะไร


2,131 ผู้ชม


ท้อง 1 เดือน อาการ ท้อง 1 เดือน เป็นหวัด กินยาอะไร

การตั้งครรภ์ในเดือนที่ี่ 1

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์

        ในช่วงปลายของเดือนที่ 1 นี้ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากเมื่อตอนที่ฝังตัวจะมีลักษณะเหมือนตุ่มพองบนเยื่อบุโพรงมดลูก จนกระทั่งในสัปดาห์ที่สี่จะเริ่มมีถุงน้ำคร่ำเกิดขึ้น ภายในถุงน้ำคร่ำจะมีน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ป้องกันตัวอ่อนจากสิ่งแวดล้อม การกระทบกระเทือน ควบคุมอุณหภูมิให้ตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวได้เพื่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ และยังเป็นแหล่งน้ำให้ตัวอ่อนอีกด้วย

        ส่วนถุงเล็กๆ อีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับตัวอ่อนจะเป็นถุงไข่แดง ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็กๆมากมาย ทำหน้าที่ให้อาหาร กับตัวอ่อนในขณะที่ยังไม่สามารถดูดซึมอาหารเองได้ เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นก็จะเปลี่ยนมาใช้รกในการดูดซึมอาหารจากแม่มา เลี้ยงร่างกาย ที่ผนังด้านหนึ่งของรกที่ติดกับมดลูกของแม่จะมีขนเล็กๆมากมายทำหน้าที่ดูด ซึมอาหารส่งผ่านไปยังทารกโดยผ่านสายสะดือ ในส่วนของตัวอ่อนจะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ชั้นนอกสุดจะเจริญเป็นอวัยวะสำคัญเช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบปัสสาวะ และปอด เป็นต้น ในเดือนแรกตัวอ่อนจะมีส่วนที่เป็นหน้าและอกแล้ว มีการเต้นของหัวใจประมาณ 180 ครั้งต่อนาที ซึ่งหมายความว่าระบบเลือดของแม่และลูกได้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์และลูกได้ รับอ็อกซิเจนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ตัวอ่อนยังมีการสร้างส่วนที่จะเจริญไปเป็นแขนอย่างรวดเร็วในวันที่ 24, 25 หรือ 26 จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายภายในเดือนเดียว แต่ว่าตอนนี้ตัวอ่อนมีขนาดยาวเพียง ¼ นิ้วเท่านั้นเอง

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม

        คุณแม่บางท่านมีอาการอยากอาหารมาก ขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อาการที่แน่นอนเสมอไป การอยากอาหารอาจเป็นจากร่างกายกำลังต้องการสารอาหารต่างๆมากขึ้นเพื่อตัว อ่อนในครรภ์
        บริเวณรอบๆหัวนมมีสีเข้มขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และมีอาการเต้านมคัดตึงคล้ายกับก่อนจะมีประจำเดือน แต่จะคัดตึงมากกว่านั้นมาก
        ในบางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยในช่วงที่คาดว่าจะมีประจำ เดือน เนื่องมาจากการที่ตัวอ่อนฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูก
        อตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการสร้างฮอร์โมนจากรก Human chorionic gonadotropin ( hCG ) จะทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น อาจต้องลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนบ่อยๆ
        คุณแม่มักจะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น อาการคลื่นใส้ อาเจียน จะเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

        การพักผ่อน คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดโดยเฉพาะเวลากลางคืน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งครรภ์ออกมาในเวลากลางคืน คุณแม่ควรนอนหลับติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
        คุณแม่บางท่านอาจออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำเมื่อก่อนตั้งครรภ์ แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็จำเป็นต้องลดการออกกำลังกายลง การออกกำลังกายอย่างเบาๆ สม่ำเสมอในช่วงที่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามเดือนแรก และสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การออกกำลังกายมากเกินไปอาจทำให้เกิดการแท้งคุกคามหรือคลอดก่อนกำหนดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี โอกาสแท้งจะสูงกว่าปกติ ดังนั้นการออกกำลังของคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถออกกำลังได้ แค่ไหนอย่างไร
         คุณแม่ควรรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และควรเลือกอาหารที่จะรับประทานให้มากยิ่งขึ้น ในหนึ่งวันควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ อย่ากลัวอ้วนเพราะลูกจำเป็นต้องใช้อาหารจากคุณแม่ ควรรับประทานอาหารโปรตีนสูงรวมถึงคาร์โบไฮเดรตและไขมันด้วย ควรรับประทานพืชผักผลไม้สดทุกวันจะให้วิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นและยังได้กาก อาหารอีกด้วยซึ่งจะช่วยทำให้ท้องไม่ผูก ดื่มน้ำให้เพียงพอและดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่ารับประทานอาหารได้เพียงพอแล้ว คุณแม่จะสังเกตได้จากน้ำหนักตัว น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละไม่เกินครึ่งกิโลกรัม คุณแม่อาจชั่งน้ำหนักของตัวเองทุกสัปดาห์และจดบันทึกเอาไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อไปตรวจครรภ์คุณหมอจะให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักทุกครั้งเสมอ และเมื่อคุณหมอทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ก็จะเห็นปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่ล้อมรอบ ตัวทารกว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ ก็จะทำให้ทราบได้เช่นเดียวกันว่าคุณแม่รับประทานอาหารได้เพียงพอหรือไม่ เพราะปริมาตรของน้ำคร่ำสัมพันธ์กับการได้รับอาหารของทารก หากทารกได้รับอาหารมากก็จะปัสสาวะออกมามากซึ่งปัสสาวะของทารกก็คือน้ำคร่ำ นั่นเอง ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตั้งครรภ์ แต่อย่าเครียดกับการบริโภค เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่มีคุณหมอคอยดูแลให้อยู่แล้ว หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดคุณแม่และทารกก็จะมี สุขภาพดีทั้งสองฝ่าย

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

        แท้งคุกคาม

        การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย อาจเป็นสัญญานของการตั้งครรภ์ที่รกของเด็กมีการฝังตัวเจาะเข้าไปในเส้นเลือด แม่ ทำให้มีเลือดออกในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีประจำเดือน แต่ในเดือนที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ไม่ควรจะพบเหตุการณ์เช่นนั้นอีกเพราะมัน อาจหมายถึงว่ามีการฉีกขาดของเส้นเลือดที่เชื่อมต่อถึงกัน ระหว่างแม่กับลูกจากการกระทบกระเทือน ซึ่งการกระทบกระเทือนนี้อาจเกิดจากคุณแม่ที่ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์จึง ได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย หรือมีการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่จากการที่คุณแม่มีฮอร์โมนช่วยใน การตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้จะทำให้มีเลือดออกและมีการแท้งตามมา การที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกัน ได้อีกทาง เพราะคุณหมอจะให้ยาฮอร์โมนเสริมในกรณีที่คุณแม่มีฮอร์โมนน้อย แต่ถ้าการมีเลือดออกได้เกิดขึ้นแล้วให้คุณแม่สังเกตสี ปริมาณ และอาการที่เกิดขึ้น เช่นเลือดออกเป็นสีแดงสดและมีปริมาณมากไหลออกมาทางช่องคลอด และคุณแม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วยคุณแม่ต้องรีบโทรหาคุณหมอหรือไปโรงพยาบาล ทันที

        อารมณ์แปรปรวน

        คุณแม่อาจค้นพบว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหว กังวล ซึมเศร้า สับสน หรือกลัว นั่นเป็นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจรบกวนการทำงานของ ระบบประสาทส่วนกลาง แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ เพียงแต่ให้คุณแม่รับทราบเอาไว้ว่ามันอาจเกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องปกติ

การตรวจต่าง ๆ

       ในเดือนที่หนึ่งนี้การตรวจเลือกจะ กระทำเพื่อการทดสอบการตั้งครรภ์ และการประเมินอายุครรภ์ของทารก ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจฮอร์โมน Beta hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรกของทารกนั่นเอง ดังตารางที่ 1.1

อายุครรภ์

hCG level (U/ML)

       0-1 สัปดาห์        

       0-50      

       1-2  สัปดาห์               

       40-300

       3-4  สัปดาห์                   

       500 – 6,000

       1-2  เดือน                         

       5,000 – 200,000

       2-3   เดือน                         

       10,000 – 100,000

       ไตรมาสที่ 2                        

       3,000 – 50,000

       ไตรมาสที่ 3 

       1,000 – 50,000


ตารางที่ 1.1 แสดงระดับของฮอร์โมน hCG ในหญิงตั้งครรภ์

การตรวจความดันโลหิต

       การตรวจความดันโลหิตจะทำทุกครั้งที่ คุณแม่มาตรวจครรภ์ สามารถทำได้โดยแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยแพทย์ หรือ ผดุงครรภ์ การตรวจความดันโลหิตจะใช้เครื่องตรวจที่มีชื่อว่า sphymomanometer และหูฟังของแพทย์ โดยที่ผู้วัดจะใช้ cuff พันรอบแขนของคุณแม่และบีบลมเข้าไปใน cuff แล้วปล่อยลมออก คอยฟังเสียงการเต้นของหัวใจจากเส้นเลือดที่แขนโดยใช้หูฟังของแพทย์ การวัดจะมีตัวเลขสองตัว ตัวเลขแรกคือ ความดันของเส้นเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว ตัวเลขที่สองคือความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ค่าความดันโลหิตปกติ คือ 120/80 mmHq คุณแม่อาจมีความดันต่ำหรือสูงกว่านี้เล็กน้อย การวัดความดันทุกครั้งจะเป็นการบอกแนวโน้มของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง การที่มีความดันสูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยไม่ควรกังวล คุณแม่อาจเดินมาเหนื่อยๆลองนั่งพักแล้ววัดใหม่อีกครั้ง แต่ความดันที่มีค่าสูงกว่า 140/90 mmHq แพทย์อาจต้องให้การดูแลคุณแม่เป็นพิเศษ

การชั่งน้ำหนัก

       การชั่งน้ำหนักมักชั่งทุกครั้งที่คุณแม่มารับการ ตรวจครรภ์ เพื่อตรวจการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างปกติ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรกังวลกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักมากเกินไป ปล่อยให้คุณหมอเป็นผู้ดูแลให้จะดีกว่า

https://www.perfectwomaninstitute.com/pregnant-mount1-th.php

อัพเดทล่าสุด