แนะนำ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง หญิงกำลังท้องเป็นโลหิตจางต้องทานอะไรบำรุง !!


1,033 ผู้ชม


โภชนาการรายสัปดาห์ของคุณแม่ตั้งครรภ์


เขียนโดย กัมพล   

อาหาร โภชนาการรายสัปดาห์ของคุณแม่ตั้งครรภ์เกิด อะไรขึ้นในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ อ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการอ ย่างไรบ้าง และคุณแม่ควรรัปประทานอาหารอย่างไรเพื่อตอบสนองกับความต้องการข องลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

Week 1 วางแผนตั้งครรภ์ ถ้าไม่เคยใส่ใจกับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมาเลย เห็นทีคราวนี้ต้องปฏิวัติตัวเองเพื่อลูกซะแล้ว คุณควรเริ่มกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เริ่มกินยาบำรุงประเภทวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด (ไม่ควรเกินจากนี้) โดยคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะบางทีคุณอาจไม่ถึงกับต้องพึ่งยาบำรุงก็ได้แตงโมอาจช่วยให้ คู่ของคุณมีน้ำเชื้อที่มากพอที่จะทำให้คุณตั้งครรภ์ได้ งด เหล้า บุหรี่ ทั้งตัวคุณ และคู่ของคุณอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การปฏิสนธิของไข่ล้มเหลวได้ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของคุณได้รวมทั้งคุณผู้ชายที่สูบบุห รี่จะมีน้ำเชื้อน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่สูบ
Week 2 เลือกเพศลูก นอกจากเลือกช่วงเวลาในการร่วมเพศแล้วโภชนาการก็มีส่วนสำคัญต่อค วามสำเร็จในการเลือกเพศให้ลูกเช่นกัน ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้หญิง คุณต้องกินอาหารที่มีสารอาหารประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งคุณจะได้สารอาหารเหล่านี้จากอาหารจำพวกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้ชาย คุณต้องกินอาหารที่มีสารประเภทโปตัสเซียม และโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคุณจะได้จาก ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์ทุกชนิด
Week 3 เริ่มการปฏิสนธิ ทันทีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณต้องเอาใจใส่กับคุณภาพลูกน้อยในครรภ์ ควรเริ่มจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปกินอาหารที่มีกรดโ ฟลิกสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงคุณควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ไปจนปลายสัปดาห์ 12
Week 4 ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ช่วงนี้เองที่คุณเริ่มรู้สึกแปลกๆ ของอาการแพ้ท้อง ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้คุณได้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว อาการแปลกๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ปกติไม่เคยชอบ หรืออยากกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวการตามใจปากบริโภคอาหารเหล่านี้ เข้าไปมากอาจทำให้คุณขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต ของลูกน้อยในครรภ์ของคุณได้ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุ ผนังมดลูก คุณจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะมันจะช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่นำเอาออกซิเจนมาสู่ตัวอ่อนได้ คุณสามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารกลุ่มธัญพืชต่างๆ ถั่ว ตระกูลต่างๆ ผักขม และผงกะหรี่
Week 5 สร้างรกและอวัยวะ คุณควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง กรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน จะช่วยให้ลูกของคุณมีเสบียงมากพอในการสร้างอวัยวะต่างๆ โปรตีนจะมีอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ, นม, โยเกิร์ต, ชีส และพืชตระกูลถั่วนอกจากนี้ธาตุเหล็ก และแคลเซียมยังคงจำเป็นอยู่มาก คุณควรเลิกดื่มชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนจะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าคุณอดไม่ได้จริงๆ คุณก็สามารถดื่มได้ เพราะไม่มีอันตรายใดๆ ต่อลูกในครรภ์ แต่ควรดื่มประมาณวันละ 2-7 ถ้วยต่อวันสำหรับกาแฟสำเร็จรูป และ 1-4 ถ้วยต่อวันสำหรับชา และควรทิ้งระยะเวลาจากอาหารมื้อที่มีธาตุเหล็กประมาณครึ่งชั่วโ มง เท่านี้คุณก็สามารถลิ้มรสชากาแฟ โดยที่ยังคงได้รับธาตุเหล็กอย่างเต็มที่จากอาหารมื้อปกติด้วย
Week 6 ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ทำให้อาการแพ้ท้องเริ่มรุนแรงในบางราย คุณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กินให้น้อยลง แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น ถ้ากินอะไรไม่ได้เลย ให้กินขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช หรือผักโขมแทนได้ ในรายที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก ให้ฝานขิงอ่อนเป็นแผ่นบางๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยๆ จิบ จะช่วยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อโรคจากการกินอาหารด ิบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไข่ที่ไม่ได้ปรุงให้สุกเสียก่อน, อาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ และอาหารแช่แข็ง
Week 7 เซลล์ประสาทส่วนกลางและสมองพัฒนา ช่วงสำคัญที่สุดในการปูพื้นฐานสู่ความเป็นอัจฉริยะให้กับลูกอยู ่ตรงนี้เอง โอเมก้าทรี คือสารอาหารที่จะช่วยให้สมองของลูกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ซึ่งคุณจะได้รับจากน้ำมันปลา (ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ถั่วอัลมอล, ถั่วเหลือง, ถั่ววอลนัท), เมล็ดฟักทอง อย่าลืม! กรดโฟลิกช่วยทำให้เซลล์แต่ละตัวของตัวอ่อนแข็งแรง คุณยังคงจะต้องได้รับสารอาหารตัวนี้ต่อไปจนเข้าสัปดาห์ที่ 12
Week 8 เซลล์เม็ดสีพัฒนาระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อนภายในสมอง คุณจึงยังต้องหมั่นกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้าทรีขณะเดียวกัน วิตามินบี 2 ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ คุณจึงต้องได้รับสารอาหารชนิดนี้ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก โดยคุณจะได้วิตามินบี 2 จาก นม, ไข่แดง, ไข่ปลา, เนยแข็ง ผักใบเขียว เป็นต้น
Week 9 เซลล์กระดูกมีโครงร่างที่ชัดเจน นิ้วมือและเท้าของทารกเริ่มแยกออกจากกันแคลเซียมคือสารอาหารหลั กที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง คุณควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการสร้างรากฐานกระดูก และฟันที่แข็งแรงให้กับทารกและยังช่วยป้องกันการขาดแคงเซียมในต ัวคุณด้วย และเพื่อให้การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพ คุณยังต้องได้รับวิตามินดีด้วย ออกไปนอกบ้านรับแดดยามเช้าตรู่สักครึ่งชั่วโมง หรือถ้ากลัวผิวเสีย หรือไม่แน่ใจว่าแดดแรงเกินไปหรือไม่ ก็ให้กินพวกน้ำมันปลา ไข่ และนม ก็สามารถช่วยได้
Week 10 ทารกเริ่มได้อาหารจากคุณโดยตรง เพราะรกเริ่มมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้คุณจะต้องระมัดระวังอาหารที่บริโภคเข้าไป อาหารที่ไม่มีประโยชน์กับคุณ ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับลูกของคุณ คุณควรงดการกินตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายได้
Week 11 อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคุณเร็วกว่าปกติ วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วยขณะเดียวกันคุณก็ควรห ลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัดด้วย
Week 12 ร่างกายของคุณมีความต้องการน้ำมากขึ้น เพราะช่วงนี้ หน้าท้องของคุณจะขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ดังนั้น คุณจึงต้องดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อทดแทนกับน้ำที่คุณสูญเสียไปเพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนก ารย่อยอาหารภายในร่างกายของคุณ
Week 13 รกเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณมีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอี กด้วยวิตามินซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่
Week 14 ต่อมไทรอยด์พัฒนาถึงขั้นพร้อมผลิตฮอร์โมน ถ้าหากคุณชอบกินผักกะหล่ำปลี คุณจะได้รับวิตามินซีจากผักชนิดนี้ แต่ในระยะนี้คุณควรจำกัดปริมาณการบริโภคผักกะหล่ำปลีลง หรือไม่กินดิบๆ เพราะมันมีสารยับยั้งการทำงานไทรอยด์ได้
Week 15 ผิวหนังเริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณสามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมอง เห็นเส้นเลือดของเขาได้ คุณสามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการกินอาหารที่ม ีวิตามินเอคงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมี วิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนวิตามินเอ ที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ใน รูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง
Week 16 มดลูกขยาย น้ำคร่ำในรกเพิ่มขึ้นเป็น 7 ออนซ์ครึ่งวิตามินซี จะช่วยให้คอลลาเจนรวมตัวกันได้ดี ทำให้เซลล์ยึดติดกันเหนียวแน่น วิตามินซีนอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของลูกคุณแข็งแรงแล้ว ยังช่วยผิวหนังของคุณมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การแตกลายของผิวหนั งลดลงและกลับคืนมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์หลังคลอด แต่คุณก็ไม่ควรลืมทาโลชั่นบริเวณผิวหนังที่แตกลายร่วมด้วยนะคะ
Week 17 ไขเคลือบผิวทารกเริ่มพัฒนาขึ้น เป็นไขมันชนิดพิเศษที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดระยะเวลาท ี่อยู่ในครรภ์และช่วยปกป้องผิวอ่อนบางของทารกด้วย ไบโอตินจะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน วิตามินช่วยลดไขมันที่มีสภาพเป็นกลางในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกมีมากในถั่วต่างๆ ผลไม้ น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน และผักเขียวปนเหลือง
Week 18 ระบบประสาทหู พัฒนาจนใช้งานได้แล้ว อวัยวะต่างๆ เติบโตจนทำให้ลูกของคุณสามารถรับรู้ความรู้สึกจากโลกภายนอกได้แ ล้วไบโอตินนอกจากจะช่วยในการถนอมผิวพรรณแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทด้วยขณะที่วิตามินบี 1 จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหารต่อระบบประสาท และยังช่วยปกป้องคุณจากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือดของ คุณ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัด มีมากในธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม
Week 19 หนังศรีษะเริ่มมีผมงอกออกมา เล็บมือและเท้าเริ่มเจริญขึ้นผิวหนังหนาขึ้นเป็น 4 ชั้นแล้ว ในช่วงนี้คุณควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีเพราะนอก จากจะช่วยเสริมการเติบโตของทารกน้อยในครรภ์คุณแล้ว ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วอบแห้ง
Week 20 มดลูกขยายเบียดเข้าไปในช่องท้อง ช่วงนี้คุณจึงอาจมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นริดสีดวงทวารได้ คาร์โบไฮเดรตนอกจากจะให้พลังงานกับคุณแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกให้กับคุณได้อีกด้วย มีมากในข้าว มันฝรั่ง ขนมปังโฮลวีต
Week 21 ระบบการย่อยอาหารพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปได้ และขับของเสียออกมาในลำไส้ใหญ่ช่วงนี้ร่างกายของคุณมีความต้องก ารพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหารไนอะซินจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาล และไขมัน เป็นพลังงาน และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทั้งของคุณ และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ มีการทำงานที่ดีขึ้นด้วย มีมากในเนื้อหมู ไก่ ปลา เห็ด ถั่วต่างๆ งา และธัญพืช
Week 22 เซลล์ประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ประสาทสัมผัสเจริญเต็มที่ ลูกของคุณจะใช้ประสาทส่วนนี้ในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวความแตก ต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทส่วนปลาย มีมากในเนื้อวัว ไก่ หมู ปลา นม เนยแข็ง
Week 23 ปริมาณพลาสมาในตัวคุณเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ ควรให้แพทย์ตรวจดูว่าคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่ เพราะภาวะโลหิตจาง หากเป็นมากอาจเข้าขั้นอันตรายได้
Week 24 น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด การกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงตลอดช่วงของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช ่วง 3 เดือนสุดท้ายจะทำให้มีไขมันน้อยลง ทำให้ทรวงทรงของคุณกระชับเข้าที่ได้อย่างรวดเร็วหลังคลอดแถมยัง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการตั ้งครรภ์ด้วย คุณจะได้ไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ ธัญพืช
Week 25 อวัยวะเพศ และระบบสืบพันธ์พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงนี้การแบ่งเพศชายหญิงในตัวทารกจะชัดเจนแล้ว เด็กชายจะเริ่มมีถุงอัณฑะ ส่วนเด็กหญิงบริเวณช่องคลอดจะมีช่องลึกเข้าไป วิตามินเอ จะช่วยพัฒนาอวัยวะสืบพันธ์ของทารก
Week 26 ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกของคุณเริ่มลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ สีนัยน์ตาของเขาจะพัฒนาต่อไปจนหลัง
คลอด 2-3 เดือน สีนัยน์ตาจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างถาวรโดยรูม่านตา อย่าลืม! โอเมก้าทรีช่วยพัฒนาระบบนัยน์ตาของทารก
Week 27 ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอ ลูกของคุณมีรูปร่างหน้าตาคล้ายทารกแรกคลอดแล้วล่ะ ถ้าเขาเกิดอยากออกมาดูโลกตอนนี้ เขาจะมีโอกาสรอดชีวิต 85% ภายใต้การดูแลพิเศษ ปัญหาคือว่าระบบต่างๆ และอวัยวะอีกหลายส่วนยังมีการทำงานที่ไม่เต็มที่และระบบภูมิต้า นทานยังอ่อนแออยู่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โอเมก้าทรี วิตามินซี ล้วนช่วยให้เขามีการเติบโตที่แข็งแรงมากขึ้น
Week 28 ถึงเวลาทดสอบภาวะต่างๆ ในร่างกายของคุณแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้น เพราะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายอาจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ แถมร่างกายของคุณก็อ่อนล้าจากการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 1 จะช่วยให้คุณมีพละกำลังพร้อมที่จะอึดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณ ต่อไป
Week 29 โปรแลคตินกระตุ้นเต้านมพร้อมผลิตน้ำนม ช่วงนี้หัวนมของคุณอาจมีน้ำนมสีเหลืองข้นไหลออกมา ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของเต้านม คุณควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมไว้ให้กับ ลูกน้อยของคุณ
Week 30 มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นครั้งแรก คุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกเป็นพักๆ แต่ยังไม่ใช่อาการเจ็บท้องคลอด เป็นเพียงการเตรียมท่าของทารกให้พร้อมสำหรับการคลอดเท่านั้นไบโ อตินในผลไม้สดแช่เย็น หลังอาหารจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอีกด้วย
Week 31 ปอดของลูกคุณพัฒนาขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ถุงลมในปอดสามารถหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อช่วยให้ถุงลมสามาร ถทำหน้าที่ของมันได้ หากทารกก่อนคลอดก่อนกำหนด แต่ตอนนี้เขายังต้องพึ่งออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดที่ฉีดเข ้ามาทางสายสะดืออยู่ ช่วงนี้วิตามินซี มีความจำเป็นมาก มันจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารก ในครรภ์ขณะที่แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นวิตามินเค จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้กับคุณ
Week 32 ศรีษะของลูกคุณเริ่มเคลื่อนลงแล้ว ลำตัวของเขาจะใหญ่ขึ้นจนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง แรงกดทำให้คุณรู้สึกเจ็บชายโครง อย่าลืมขอวิตามินเสริมจากหมอที่คุณฝากครรภ์ ลูกของคุณต้องการการบำรุงมากเป็นพิเศษในช่วงนี้
Week 33 ภาวะโลหิตจางในตัวคุณลดลง สืบเนื่องมาจากปริมาณพลาสมาเริ่มมีปริมาณเท่ากับเซลล์เม็ดเลือด แดง อีกทั้งภาวะร่างกายของคุณในช่วงนี้ จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารมื้อปกติเพิ่มขึ้นเป็น 66% คุณจึงไม่ต้องกังวลกับการบำรุงด้วยธาตุเหล็กอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่คุณจะเป็นโรคโลหิตจาง
Week 34 ลูกของคุณอยู่ในท่าพร้อมที่จะคลอดแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ออกมามากเป็น 10 เท่าของร่างกายผู้ใหญ่การทำงานของปอดดีขึ้น จนไม่จำเป็นต้องพึ่งการดูแลพิเศษ หากต้องคลอดออกมาในตอนนี้ ถึงสอย่างนั้นเขาก็ยังอยากอยู่ข้างในท้องของคุณ ดึงแคลเซียมจากร่างกายของคุณมาเสริมสร้างกระดูกของเขาให้มีความ แข็งแรงมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าแคลเซียมยังจำเป็นเสมอสำหรับคุณ
Week 35 ยอดมดลูกขยับขึ้นในระดับสูงสุด อยู่ใต้กระดูกสันอกทำให้คุณหายใจขัดเจ็บชายซี่โครง รับประทานอาหารลำบาก ลองใช้วิธีเดียวกับตอนแพ้ท้องใหม่ๆ ดูซิคะ รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง และพักผ่อนให้มากจะช่วยได้
Week 36 กระโหลกศรีษะเป็นรูปร่าง แต่ยังไม่แข็งแรงพอแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้าทรี จะช่วยให้กะโหลกศรีษะของลูกคุณแข็งแรงมากขึ้นและพร้อมที่จะมุดต ัวโผล่พ้นช่องคลอดออกมาพบกับคุณในไม่อีกกี่สัปดาห์นี้
Week 37 เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และจะมีการสร้างต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอดเยื่อหุ้มเซล ล์ประสาท มีความสำคัญต่อสมองอัจฉริยะของลูกคุณจำได้หรือไม่? โอเมก้าทรี อาหารพลังสมองของลูกในท้องของคุณ
Week 38 ทารกเริ่มเคลื่อนศรีษะลงมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้คุณรู้สึกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น แต่น้ำหนักของมดลูกจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะแทน ทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ เพราะน้ำยังจำเป็นต่อการดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายของคุณอยู่
Week 39 อาการเจ็บครรภ์เตือนเกิดขึ้น ความรู้สึกจะใกล้เคียงกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สบาย คิดถึงลูกของคุณที่จะคลอดออกมา เจ็บท้องคลอดจะเป็นอุปสรรคขี้ปะติ๋วสำหรับคุณ วิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทของคุณผ่อนคลายขึ้น
Week 40 ได้เวลาสบตาเทวดาของคุณซะที จุกเมือกที่ปากทางเข้ามดลูกลอกตัวออกมา ปากมดลูกเปิดออก ถุงน้ำคร่ำแตกของเหลวและเลือดไหลออกมาการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่ให้พลังงานทุกชนิดจำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมของคุณคาร ์โบไฮเดรต วิตามินบี 1 วิตามินซี และอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดอาหารใจที่ได้กอดเทวดาตัวน้อ ยของคุณไว้ในอ้อมอก อ้า…ความอ่อนล้าทั้งหมดหายไปเป็นปลิดทิ้ง.

ที่มา   www.ladysquare.com

อัพเดทล่าสุด