สาเหตุโรคโลหิตจาง - โลหิตจางเกิดจาก เหตุใดได้บ้าง


992 ผู้ชม


 โลหิตจาง Anemia
   


Anemia is a disorder that results in a decrease in the ability of the blood to carry oxygen. Anemia is itself not a diagnosis but merely a sign of underlying disease. The initial classification of anemia is best accomplished by examination of the data from a hematology analyzer and by an examination of the peripheral blood smear. The physician most commonly classifies anemias initially by the instrument's red cell indicies, especially the mean corpuscular volume (MCV). On newer counters, the red cell distribution width (RDW) or red cell morphology index (RCMI) is another useful measurement. The anemia may be microcytic, normocytic, or macrocytic.
"โลหิตจางเป็นภาวะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่โรคโดยตรง เป็นเครื่องบอกเหตุว่า มีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่
ซึ่งต้องค้นหาดูว่าเป็นอะไร แล้วจึงจะทำการรักษาที่ถูกต้อง
ในภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า
ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง"
เลือดจางหรือโลหิตจางเป็นคำที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นคนหน้าซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรง
ก็มักจะลงความเห็นกันไว้ก่อนว่าเป็นโลหิตจาง  นี่เป็นการลงความเห็นโดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะที่พบ
เห็นได้โดยง่าย ซึ่งในทางการแพทย์เราก็ใช้
นอกจากนี้มีข้อมูลอื่นๆ อีกที่เป็นประโยชน์ ที่จะช่วยลงความเห็นว่า มีภาวะโลหิตจางหรือไม่และอาจช่วย
บอกต่อว่าโลหิตจาง เกิดจากสาเหตุใดด้วยโลหิตจาง (anemia)
โลหิตจางหรือเลือดจาง (anemia) เป็นภาวะที่จำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายลดน้อยลง ผู้ที่มีโลหิตจาง
จะมีอาการซีด, เพลีย, เหนื่อยง่าย ทำงานไม่ค่อยไหว ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางรุนแรงอาจจะมีการทำงานของ
หัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวาย และสมองจะทำงานช้าลง จนกระทั่งหมดสติได
   
Microcytic Anemia - Hypochromia, Target Cells,
Microcyte     Normocytic Normochromic - Hemolytic Anemia

้ โรคหรือสาเหตุของโลหิตจางมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก, โฟเลต (folate), วิตามินบี 12, โรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia), โรคที่มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น
2) การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสเลือด ได้แก่การเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (ซึ่งชนิดเรื้อรังจะทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก), การที่เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง (โรค autoimmune hemolytic anemia), โรคโลหิตจางกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรคขาดเอ็นซัยม์ของเม็ดเลือดแดง, โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น
อาการอ่อนเพลีย, เหนื่อยง่าย ที่พบในภาวะโลหิตจางอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะโลหิตจาง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอดเป็นต้น แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะโลหิตจางได้โดยการตรวจวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงใน เลือดหรือวัด ความเข้มข้นของสีฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง) ในเลือด หลังจากนั้นแพทย์จะต้องตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางนั้น ๆ เพื่อให้การรักษาได้ตรงตามสาเหตุต่อไป

อาการที่ชี้แนะว่าโลหิตจาง
ผู้ที่โลหิตจางไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้
อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโลหิตจาง และความเฉียบพลันของการเกิดโรคครับ
1. อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น  เคยเดินบันไดได้
    โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย
    ถ้ามีโลหิตจางรุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย
    ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
2. อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
3. อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
4. อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร
    นอนไม่หลับ
5. อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจ
    รุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
6. อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล
    ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
7. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด
ประวัติที่ชี้แนะสาเหตุของโลหิตจาง
1. ระยะการเกิดอาการ หมายถึงว่าเกิดอาการโดยรวดเร็วเฉียบพลัน หรือเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ
จากอาการต่างๆ 1 ถึง 7 ข้อที่ชี้แนะว่ามีโลหิตจางที่ผมกล่าวมาข้างต้นหากพบว่า อาการพวกนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือกะทันหันก็พอบอกได้ว่า เกิดจากสาเหตุของโลหิตจางชนิดเฉียบพลัน
แต่ถ้าระยะการเกิดอาการเป็นแบบช้าๆ เนิ่นนานไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ค่อยๆ เป็นจากน้อยๆ ก่อนแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่า สาเหตุของโลหิตจางเป็นชนิดเรื้อรังครับ
2. ประวัติการเสียเลือด หมายถึงมีการสูญเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง เมื่อเสียมากก็จะเกิดภาวะโลหิตจางตามมาครับ เช่น
อาเจียนเป็นเลือด
ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ
ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่
อาการทั้ง 3 ข้างต้นอาจหมายถึงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แล้วมีเลือดออกจากแผลจนเกิดการสูญเสียเลือดและภาวะโลหิตจางตามมา
หากมีประวัติการกินยาหรือยาโรคปวดข้อ ปวดกระดูกร่วมด้วยอาจหมายถึง โรคกระเพาะดังกล่าวเกิดจากยาที่กิน
ประวัติมีประจำเดือนมามากหรือมาบ่อย
ประวัติเป็นริดสีดวงทวารถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ
ประวัติบาดเจ็บมีแผลเลือดออกมาก
อาการเหล่านี้ก็ช่วยบอกว่าโลหิตจางเกิดจากสาเหตุอะไร
ประวัติดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้มแบบน้ำปลาหรือสีโคคาโคล่า อาจบ่งบอกถึงว่าโลหิตจางเกิดจากภาวะการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
3. ประวัติอาการร่วมอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่
มีจุดหรือจ้ำเลือดตามตัวบ่อยๆ อาการนี้อาจหมายถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ที่นำไปสู่การสูญเสียเลือด และเกิดโลหิตจางตามมา
เป็นไข้หรือโรคติดเชื้อบ่อยๆ อาจแสดงถึงปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อป่วยบ่อยๆ ก็นำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้
เป็นโรคระบบอื่นอยู่ เช่น โรคไต โรคตับ โรคข้ออักเสบ โรคมะเร็ง ฯลฯ โรคเรื้อรังเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโลหิตจางได้ครับ
โรคโลหิตจาง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญอยู่
3 ประการคือ
1. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
“โลหิตจาก” การขาดธาตุเหล็กนี้พบได้บ่อยในชาวชนบท ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร ผู้ที่เพิ่งแท้งบุตรหรือหญิงหลังคลอด ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคริดสีดวงทวาร
2. โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
โดยปกติ “เม็ดเลือดแดง” จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายประมาณ 120 วัน แล้วจะเสื่อมสลายไปพร้อมกับมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทน จึงเกิดภาวะสมดุลในร่างกายไม่เกิดภาวะโลหิตจาง สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายมีอยู่ 2 ประการคือ
2.1 ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี (G-6-PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ทั่วไปในเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เป็นโรคพบจากรรมพันธุ์ ที่แสดงอาหารในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
2.2 โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
3. โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
เนื่องจากไขกระดูที่อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด หากมีความผิดปกติของไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง ก็จะเกิดภาวะโลหิตจางขึ้นโดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบอาจเกิดจากพิษของยา หรือสารเคมีไปทำลายไข
กระดูก เช่น ยาเฟนิลบิวทาโซน คลอแรมเฟนิคอล ซัลฟา หรือเคมีจำพวกน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน สีทา
บ้าน รังสีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

อาการแสดง
อาการแสดง หมายถึง ลักษณะที่พบเห็นหรือตรวจพบในตัวผู้ป่วย ที่มีเลือดจาง มี 2 ชนิดครับ คือ
ชนิดที่บอกว่า มีภาวะโลหิตจางและที่บอกว่า มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เลือดจาง
1. อาการแสดงที่บอกว่ามีภาวะโลหิตจาง
อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ลักษณะซีด
  - ดูได้จากสีของผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ
  - หรือดูจากสีของเยื่อบุด้านในของเปลือกตาล่าง (พลิกเปลือกตาดู)
2. อาการแสดงที่ช่วยชี้แนะถึงสาเหตุของโลหิตจาง
  - มีตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) อย่างอ่อน แสดงถึงภาวะโลหิตจาง จากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
  - มีจุดและจ้ำเลือดตามตัวชี้แนะถึงการมีเกร็ดเลือดต่ำ เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว 
    หรือโรคที่เกิดการทำลายทั้งเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด
  - ลิ้นเลี่ยน อาจแสดงถึงโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผิวลิ้นจะเลี่ยนและซีด
  - เล็บอ่อนยุบเป็นแอ่ง พบในโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
  - ความดันโลหิตสูง อาจหมายถึงโลหิตจางจากไตวายเรื้อรัง
  - ความดันโลหิตต่ำ อาจหมายถึงภาวะช็อกจากการสูญเสียโลหิตอย่างรวดเร็ว เช่น  
  - เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือจากภาวะหัวใจวาย
  - ตับและม้ามโต พบได้ในโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  - ต่อมน้ำเหลืองโต อาจหมายถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะมีตับโตและม้ามโตด้วย
  - อาการบวม ผิวแห้ง มักพบในโรคไต
  - อาการขึ้นผื่นที่ใบหน้า และผมร่วง พบในโรคเอสแอลอี (SLE)
  - ท้องมาน พบในโรคตับแข็ง
  - ข้อบวม พิการ พบในโรคข้อเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์อาไทรติส โรคเอสแอลอี เป็นต้น
โลหิตจางที่พบบ่อยในบ้านเราเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก จากโรคเลือดธาลัสซีเมีย และเกิดจากโรค
ในระบบอื่นครับ
ระยะการเริ่มเกิดของโรค
อาจแบ่งโลหิตจางได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. โลหิตจางเฉียบพลัน
หมายถึงมีอาการของโลหิตจางเกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจาก
1. เสียเลือดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร จากประจำเดือนออกมาก
2. เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเฉียบพลัน จะมีอาการร่วมคือดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้ม อาจมีไข้ ม้ามอาจโต ถ้ามีประวัติเข้าป่า อาจเป็นมาลาเรีย
3. อาจเกิดจากมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน ซึ่งจะมีไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ข. โลหิตจางเรื้อรัง
เกิดอาการโลหิตจางนานกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือนๆ ก็ได้
การตรวจสอบลักษณะทางคลินิกจากประวัติ อาการและอาการแสดงจะช่วยชี้แนะ ถึงสาเหตุของโลหิตจางได้ครับ
ประวัติการเสียเลือดเรื้อรัง เกิดภาวะของธาตุเหล็ก ที่พบบ่อยได้แก่โรคกระเพาะอาหาร โรคประจำเดือนมาก ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีพยาธิปากขอที่ดูดเลือดจากลำไส้
ลักษณะของธาลัสซีเมียจากหน้าตาและผิวพรรณ
ลักษณะทางคลินิกของโรคตับ โรคไต โรคเอสแอลอี ฯลฯ
ลักษณะทางคลินิกของการขาดสารอาหาร เช่น เลือกกินเฉพาะอาหารบางชนิด กินอาหารน้อย ติดสุรา ฯลฯ

การรักษาโลหิตจาง
หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจางคือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจางครับ
แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น
- รักษาภาวะหัวใจวาย
- ลดการออกแรง
- ให้ออกซิเย่น
- ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำ เป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตามครับ
2. การรักษาจำเพาะ เป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุ (ถ้าทำได้) และให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป
เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอครับ

แนวทางการปฏิบัติตน
ครับส่วนนี้ก็มีความสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโลหิตจางนอกเหนือจากที่ต้องรักษา ด้วยยาตามที่แพทย์สั่ง
อาหาร การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ การพักผ่อนควรปฏิบัติให้ถูกหลัก หากสงสัยให้สอบถามจากแพทย์ครับ
ในโลหิตจางที่เป็นโรคทางพันธุกรรมยังมีอีกสิ่งที่สำคัญมากคือ "การให้คำปรึกษา" ครับ
ผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจ
พ่อแม่อาจไม่เข้าใจ
แฟน สามีหรือภรรยาอาจไม่เข้าใจ
อาจกล่าวโทษต่อกันว่าพันธุ์ไม่ดี
ปัญหาเหล่านี้จะบรรเทาลงได้จากการได้รับคำปรึกษาจากกผู้รู้ครับ และต้องได้รับความร่วมมือ จากครอบครัวด้วย นี่รวมไปถึงการให้คำปรึกษา ก่อนแต่งงานด้วยนะครับ
   
   
MACROCYTIC ANEMIA
Macrocytic anemias are less commonly encountered than normocytic or microcytic anemias. These anemias may be caused by marrow failure such as aplastic anemia and myelodysplasis, or caused by deficiencies of vitamin B12 or folic acid; or caused by autoimmune hemolysis or cold agglutinins. A mild degree of macrocytosis with a normal RDW is commonly seen as a result of alcohol abuse. The MCV is greater than 100 fl. in macrocytic anemia
MICROCYTIC ANEMIA
Microcytic anemia is based on the protocol for patients who have an automated MCV of less than 75 fl. The three most common causes of microcytic anemias are iron deficiency, thalassemia minor, and anemia of chronic disease. Cases of thalassemia have elevated red counts and lower RDW's than would be expected for the MCV and the degree of anemia. Iron deficiencies are almost always associated with a high RDW. Some anemias of chronic disease may be normocytic and others such as renal disease are microcytic. Anemias of chronic disease do not have decreased iron stores.
NORMOCYTIC ANEMIA
Normocytic, normochromic anemia is the largest, most frequently encountered anemia. If acute blood loss can be ruled out, the diagnosis remains to be intrinsic or extrinsic. Hereditary spherocytosis, drug induced anemia, and anemia secondary to other malignancies are a few of the anemias of this classification.
Normocytic anemia may include hemolytic anemia. The peripheral blood smear and the history often suggest possible causes for the anemia.
Causes of Anemia
Red cells in the marrow can be reduced in many ways: eg. by marrow damage (ie. aplasia, infiltration by other tumors, drug induced damage), decreased stimulation (ie. renal disease, certain endocrine disorders), lack of certain nutrients (ie. iron deficiency anemia , folate deficiency anemia), some hereditary disorders (ie. thalassemia, sickle cell anemia, G6PD deficiency, sideroblastic anemia), etc.
Similarly, acute destruction or loss can likewise reduce the number of red cells in the blood stream. Since the spleen is the major filter of the red cells, any inappropriate increase in splenic function will result in unusually high destruction of the red cells. Increased splenic function (or hypersplenism) may be caused by a primary splenic disease or secondary to the complications of other disease states. Other major mechanisms for red cell destruction will include infective causes (eg malaria), self-destructive causes (eg autoimmune hemolytic anemia), hereditary disorders (eg paroxysmal nocturnal hemoglobinuria), and physical agents (eg burns). Furthermore, in any situations where there is significant bleeding, the number of red cells can also decrease accordingly.
Diagnosis of Anemia
Clinically, there are several laboratory tests that can assist the physicians to arrive at a diagnosis. A careful study of the blood film often offers many clues eg. changes in shape/size/colour of the blood cell, any abnormal intracellular inclusions, any parasites or worms present, etc. With these blood features as a guide, the clinician can proceed to other tests for diagnostic confirmation. These confirmatory tests may include a genetic study for certain hereditary disorders, biochemical determination of certain intracellular/extracellular chemical levels such as iron/folate, CT scan of the spleen for possible splenic disorders, bone marrow/lymph node biopsy for malignancies, etc.
Treatment of Anemia
Once a diagnosis is made, the aims of management are two prongs ie to eliminate the causative factors as well as to restore the red cell functions if possible. This would often necessitate the use of various nutritional supplements, pharmaceutical agents and/or surgical procedures. In certain situations, the physician may even need to restore the red cell functions by giving blood/red cell transfusions.
   
Megaloblastic Anemia, Bone marrow smear, May-Giemsa stain, x1000     Pernicious Anemia, Bone marrow smear, May-Giemsa stain, x1000

 
ที่มา  www.thailabonline.com

 

อัพเดทล่าสุด