โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก...ป้องกันได้ด้วยอาหาร... ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตต่ำกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็กที่จะใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง1 �ซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก2 ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะวัยเด็กต่ำกว่า2 ปี หญิงระหว่างวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ3 จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย โดยกองโภชนาการ และ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในครั้งที่4 ในปี พ.ศ. 2538 และครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2546 พบอัตราความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มอายุ4 โดยกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ กลุ่มทารก 6-11 เดือน คิดเป็นร้อยละ50 รองลงมาคือ กลุ่มผู้สูงอายุ� เด็กวัยเรียน เด็กวัยก่อนเรียน และหญิงตั้งครรภ์ โดยพบอัตราความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่ง เป็นอัตราที่สูงและควรรีบทำการแก้ไขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและมีมาตรการควบคุมและ ป้องกันโดยการให้ยาเหล็กเฟอรัสซัลเฟตเสริมในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน เพื่อให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตามการบริโภคยาเม็ดเหล็กมักเกิดผลข้างเคียงตามมา อันได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง ถ่ายบ่อย เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพื่อให้ได้ผลดีและยืนยาว ควรใช้อาหารเป็นตัวป้องกัน เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนและไม่มีผลข้างเคียงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กลงในอาหารบางชนิด ได้แก่ ซองเครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป �น้ำปลา เป็นต้น5�� เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของธาตุเหล็กแก่อาหารให้มากขึ้น
ผลเสียของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย� ดังนั้นผลจากการขาดธาตุเหล็กทำให้ร่างกายมีภาวะซีด� อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศรีษะ เหนื่อยง่าย ทำงานหรือเล่นกีฬาได้ไม่อึดเหมือนปกติ นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร อันได้แก่ ลิ้นอักเสบ ภาวะกลืนลำบาก� น้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร เป็นต้น ถ้ามีภาวะขาดเหล็กอย่างเรื้อรังอาจพบเล็บงอขึ้นเป็นแอ่งคล้ายช้อนเรียกว่า เล็บรูปช้อนได้ ดังแสดงในภาพที่ 1 ในเด็กวัยก่อนเรียนถ้าร่างกายมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ขณะที่วัยเรียนจะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือเพิ่มอัตราเสี่ยงการตายของมารดาในขณะคลอดได้ นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วและมีภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงอาจทำให้โรคหัวใจมีอาการรุนแรงขึ้นและเกิดภาวะหัวใจวายได้7,8 เนื่องจากพัฒนาการของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเกิดขึ้นอย่างช้าๆและ ไม่ปรากฎอาการจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่าง รุนแรงทำให้สมรรถภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักและป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิด ขึ้น
สาเหตุภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 1.�� ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ� เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย หรือรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี� ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพืชผักที่รับประทานส่วนใหญ่มีสารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก� หรืออาจเนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกายในการดูดซึมธาตุเหล็กโดยตรง ได้แก่ หลังผ่าตัดลำไส้� โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น 2.�� ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น� ซึ่งพบในวัยเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี� วัยรุ่น� หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร 3.�� ร่างกายเสียเลือดอย่างเรื้อรัง� ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องมาจาก �มีประจำเดือนมาก (หญิงวัยเจริญพันธ์) โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร� กระเพาะอาหารอักเสบจากการรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ โรคริดสีดวงทวารหนัก เนื้องอกในทางเดินอาหารฯ นอกจากนี้อาจเนื่องมาจากโรคพยาธิปากขอซึ่งพบได้บ่อยในภาคใต้ของประเทศไทย �� การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมักไม่แสดงอาการปรากฏให้เห็นชัดเจน ดั้งนั้นต้องอาศัยการซักประวัติโดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุของภาวะโลหิตจางร่วมกับการตรวจร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญในรายที่มีภาวะซีด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยใช้ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) เพื่อวัดปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น หรือค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เพื่อวัดปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (ดังแสดงในภาพที่ 2) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยขนาดใหญ่ หรือในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามปัญหาการเกิดภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต แต่จะเป็นโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (Megaloblastic Anemia) ทำให้การตรวจวัดด้วยค่าฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบินมีความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ภาวะธาลัสซีเมียทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นกัน ดังนั้นจะต้องดูอาการของโรคประกอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคด้วย
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง แหล่งอาหารที่สำคัญของธาตุเหล็กแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของฮีม (Heme iron) พบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลา เป็ด ไก่ ฯ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ได้แก่ �ตับหมู ตับวัว เลือดหมู เครื่องใน ไข่ เป็นต้น (ดังแสดงในตารางที่ 1) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของธาตุเหล็ก เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ดี ถึงร้อยละ 10-3010 โดยไม่ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหารและวิตามินซีช่วยในการดูดซึม (2) ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปที่ไม่ใช่ฮีม (Non-heme iron) พบในพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะผักใบเขียวเข้ม ได้แก่ ผักกูด ผักแว่น ดอกโสน โหระพา มะเขือพวง ผักกะเฉด ฯ รวมทั้ง ธัญพืชได้แก่ ข้าว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ (ดังแสดงในตารางที่ 2) ซึ่งประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยบริโภคธาตุเหล็กจากพืชเป็นสำคัญ11,12 อย่างไรก็ตามปริมาณที่ร่างกายเราสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชไปใช้ประโยชน์ได้นั้นมีเพียงร้อยละ 2-1010 นอกจากนี้การดูดซึมของธาตุเหล็กที่ได้จากพืชยังขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับสารอื่นที่มีในอาหารที่รับประทานในมื้อนั้น สารที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารที่สำคัญได้แก่ แทนนิน(Tannin) �ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ชา� กาแฟ� และผักรสฝาดต่างๆ ได้แก่ ผักกระถิน ขี้เหล็ก ใบเมี่ยง ฯ ไฟเตต (Phytate) ซึ่งพบในอาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืช และ ถั่วเมล็ดแห้งได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวโพด นมถั่วเหลือง ฯ โดยทั้งแทนนินกับไฟเตตจะรวมตัวกันธาตุเหล็กให้อยู่ในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนที่ทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม และ ผลิตภัณฑ์จากนม ยังส่งผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก7,13 ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มนมพร้อมกับอาหารที่มีธาตุเหล็ก ตารางที่ 1: แหล่งอาหารจากสัตว์ที่มีธาตุเหล็กสูง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม อาหาร
| ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม)
| ตับหมู
| 65.5
| หอยแมลงภู่ (แห้ง)
| 57.5
| �ปอดหมู
| 47.6
| เลือดวัว�
| 44.1
| หอยนางรม (แห้ง)
| 33.2
| กุ้งฝอยสด
| 28.0
| เลือดหมู�
| 25.9
| หอยขม
| 25.2
| เลือดไก่ (ดิบ)
| 23.9
| ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนสะโพก)
| 16.9
| ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนปีก)
| 15.8
| หอยแมลงภู่
| 15.6
| กุ้งทะเล กุ้งเปลือกขาว
| 14.8
| ซี่โครงหมู (เนื้อไม่มีมัน)
| 14.0
| ปลาทูสด
| 11.9
| เลือดเป็ด
| 10.2
| ตับไก่
| 9.7
| ม้ามวัว�
| 9.7
| ตับวัว�
| 8.7
| เนื้อวัว (แห้ง อบ)
| 8.1
| ปลาดุก
| 8.1
| ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนน่อง)
| 7.8
| กึ๋นไก่�
| 6.5
| หอยแครง
| 6.4
| ไข่ไก่ (ไข่แดง)
| 6.3
| ไข่ไก่ (ทั้งฟอง สุก)
| 3.2
| ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย14 ตารางที่ 2: แหล่งอาหารจากพืชที่มีธาตุเหล็กสูง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม อาหาร
| ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม)
| ถั่วแดง (ดิบ)
| 44.6
| ผักกูด
| 36.3
| หัวมันเทศ �
| 31.2
| ผักแว่น
| 25.2
| เห็ดฟาง
| 22.2
| งาดำคั่ว
| 22.0
| หัวเผือก
| 22.0
| ใบแมงลัก
| 17.2
| ถั่วดำ (ดิบ)
| 16.5
| เต้าหู้เหลือง/ขาวอ่อน
| 14.0
| ถั่วลิสง (ดิบ)
| 13.8
| ถั่วเหลือง (ดิบ)
| 10.0
| ฟองเต้าหู้
| 9.5
| ยอดกะถิน อ่อน
| 9.2
| ดอกโสน
| 8.2
| ใบชะพลู
| 7.6
| มะเขือพวง
| 7.1
| ใบย่านาง
| 7.0
| ถั่วแขก ถั่วแดงหลวง
| 6.9
| เห็ดหูหนู
| 6.1
| ใบขี้เหล็ก
| 5.8
| ผักกะเฉด
| 5.3
| ถั่วเขียว (ดิบ)
| 5.2
| ฟักทองเนื้อและเปลือก
| 4.9
| มะเขือเทศ
| 4.9
| ผักกาดหอม
| 4.9
| ยอดสะเดา
| 4.6
| ตำลึง
| 4.6
| ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย14 ในขณะที่วิตามินซี (Ascorbic acid)15 ซึ่งพบมากในผักและผลไม้สด ช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กในอาหารจากพืชผักได้สูงถึงร้อยละ 50 และเปปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนซีสทีน (cysteine)16 ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ ยังช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่นเดียวกัน จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่คนไทยบริโภคมีสารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กสูง17 ดังนั้นควรแนะนำประชาชนกลุ่มนี้ ให้มีการเพิ่มปริมาณวิตามินซีในอาหารที่บริโภคเพื่อเพิ่มความสามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ บุญเรือน พูลเดช18 (2545) และนภาพร กุลคำธร19 (2544) พบว่าการเติมน้ำส้มคั้นสด 100% ลงในเมนูต้มเลือดหมูที่มีข้าวกล้องเป็นส่วนประกอบ ทำให้เปอร์เซ็นต์การดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดังกล่าวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รุจิรา โชคชัย20 (2542) รายงานว่าการเลือกชนิดของเครื่องดื่มหรืออาหารเสริม ที่จะรับประทานร่วมกับอาหารเช้าแบบต่าง ๆ มีผลต่อปริมาณธาตุเหล็กในอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้� ดังนั้นจึงควรแนะนำให้บริโภค เครื่องดื่มที่ยับยั้งการดูดซึมของธาตุเหล็ก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชา� กาแฟ� นมถั่วเหลือง ฯ ในระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่มีการบริโภคธาตุเหล็กต่ำกว่าความต้องการของร่างกาย21 ซึ่งปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Recommended Dietary Allowance for Thai; RDA)22 ของธาตุเหล็กจะแตกต่างกันในแต่ละวัย ได้แก่ ทารกเป็นวัยที่มีความต้องการธาตุเหล็กสูง และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก (5.8-8.1มก./วัน) และวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยวัยรุ่นหญิง(19.1-26.4 มก./วัน) จะมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าวัยรุ่นชาย(11.8-16.6 มก./วัน) เนื่องจากมีการสูญเสียเหล็กทางเลือดประจำเดือน และมีความต้องการสูงสุดในระยะตั้งครรภ์ (ควรได้รับยาเม็ดธาตุเหล็กเสริมวันละ60 มก.) เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น� การเจริญเติบโตของรกและการเสียเลือดระหว่างการคลอด หลังหมดประจำเดือนความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายจะลดลงเท่ากับเพศชาย การป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก 1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ แกงจืดเลือดหมู ผัดถั่วงอกกับเลือดหมูและตับหมู ตับผัดขิง ผัดเปรี้ยวหวานตับ แกงคั่วสับปะรดกับหอยแมลงภู่แห้ง แกงเผ็ดฟักทองกับเลือดหมู เป็นต้น 2. รับประทานอาหารที่ให้วิตามินซีสูงพร้อมอาหารมื้อหลักเพื่อช่วยเพิ่มความ สามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย อาหารที่ให้วิตามินซีสูงได้แก่ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม มะม่วง มะละกอ สับปะรด ฯ และผักสด เช่น ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักหวาน ผักกระโดน เป็นต้น 3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กพร้อมมื้ออาหารหลัก อันได้แก่ ชา กาแฟ นมถั่วเหลือง เป็นต้น โดยเปลี่ยนมารับประทานระหว่างมื้อแทน 4. เสริมธาตุเหล็กในประชาการที่มีความเสี่ยงสูง� ซึ่งปัจจุบันกรมอนามัยได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กให้แก่เด็กวัยเรียน� หญิงตั้งครรภ์� และหญิงวัยเจริญพันธ์ ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ� และโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานฯ� สรุป ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสำคัญที่ควรป้องกันในคนทุกวัย เพราะคนที่ขาดธาตุเหล็กจะทำให้ความความสามารถในการเรียนรู้ สมรรถภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง การรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายเราสามารถสร้างเม็ดเลือด แดงให้อยู่ในระดับปกติและป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ โดยอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดของธาตุเหล็ก |