5 ท่าฝึกโยคะ - ท่าโยคะลดความอ้วน เอามาฝากกัน !!


1,550 ผู้ชม


5 ท่า ฝึกโยคะ ลดความอ้วน

 

            BEAUTY WITH YOGA สวยสมวัยด้วย "โยคะ"

หญิง สาวหลายล้านคนต้องพึ่งมีดหมอเพื่อชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่นหรือยกกระชับส่วน ต่างๆ ให้เต่งตึง แต่การพึ่งศัลยกรรมความงามก็หาใช่ทางออกเพียงอย่างเดียว ยังมีวิธีธรรมชาติอีกมากมายที่จะช่วยให้คุณดูสวยอ่อนเยาว์

และการฝึกโยคะก็เป็นหนึ่งในวิธีฟื้นฟู ดูแล และสร้างสรรค์ความงามแบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของความสวยใสเปล่งปลั่งที่สะท้อนมาจากจิตใจภายในที่ สมบูรณ์สดชื่น ทั้งนี้เพราะโยคะช่วยกระตุ้นในเรื่องการไหลเวียนของโลหิต คืนความสดใสให้ผิวพรรณ ที่สำคัญคือทำให้คุณดูอ่อนกว่าวัย และสวยงามตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า

โยคะ,Yoga

โยคะถือกำเนิดที่ประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้วผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียก yogins or yogîs

ส่วนผู้หญิงเรียก yoginîs ส่วนผู้สอนเรียก guru ประเทศตระวันตกได้นำโยคะมาเป็นการออกกำลังกายโดยดัดแปลงจาก Hatha-yoga ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของโยคะ

เราสามารถใช้โยคะเพื่อประโยชน์ในการออกกำลังกาย การเปลี่ยนวิธีชีวิต การประสานกาย จิต วิญาณ

ความหมายของโยคะ

โยคะเป็นคำสันสกฤตหมายถึงการรวมให้เป็นหนึ่ง โยคะจะรวมกาย จิต วิญาณให้เป็นหนึ่งทำให้เรามีสติและอยู่บนพื้นฐานของความจริงของชีวิต

โยคะไม่ใช่ศาสนา เพราะมีโยคะบางชนิดไม่เกี่ยวกับศาสนาแต่ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานของความเชื่อ และแนวทางปฏิบัติของศาสนา การฝึกโยคะคือการฝึกการปลอดปล่อยจากสิ่งลวงตาและการหลงผิด

การฝึกโยคะเป็นฝึกการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งร่างกายและจิตวิญาณ นอกจากจะเปลี่ยนแปลงแล้วยังสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น

การฝึกโยคะจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 3 อย่างได้แก่

-การออกกำลังกายหรือการฝึกท่าโยคะ
-การหายใจหรือลมปราณ
-การทำสมาธิ
การ ฝึกท่าโยคะจะกระตุ่มอวัยวะและต่อมต่างๆในร่างกายทำงานดีขึ้นสุขภาพจึงดีขึ้น การหายใจเป็นแห่งก่อให้เกิดพลังของชีวิต การควบคุมการหายใจจะทำให้จิตใจและสุขภาพดีขึ้น การฝึกท่าโยคะและการหายใจจะเป็นพื้นฐานในการทำสมาธิ หากท่านได้ฝึกทั้งสามอย่างจะทำให้ผู้ฝึกมีสุขภาพที่แข็งแรง จิตใจผ่องใสและเข็มแข็ง

ชนิดของโยคะ

ท่าโยคะ-นอนหงาย


Râja-Yoga (the royal path of meditation)
เป็น โยคะที่เน้นการเข้าฌาณเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ซึ่งต้องการความสงบทั้งร่างกายและจิตใจ ข้อดีของการฝึกโยคะชนิดนี้คือฝึกง่ายมีวิธีปฏิบัติที่แน่นนอน เป็นการฝึกแบบวิทยาศาสตร์ ผู้ฝึกจะได้ความสงบและปัญญา ข้อเสียคือการฝึกจะต้องใช้เวลามากอาจจะทำให้ผู้ฝึกต้องแยกตัวเองออกจากสังคม

ท่าโยคะ-นอนคว่ำ



Karma-Yoga (the path of self-transcending action)

เป็น โยคะที่เกี่ยวข้องกับศาสนามากที่สุด มีการยึดเหนี่ยว พิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า มีการสวด มีการเข้าเข้าฌาณ เทพเจ้าที่บูชาได้แก่ พระวิษณุเป็นต้นข้อดีคือผู้ฝึกจะไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีฐิติ ทำงานบริการได้ดี



Bhakti-Yoga (the path of devotion)

เป็นโยคะสำหรับผู้ต้องการเสียสละ

ท่าโยคะ-นั่ง



Jnâna-Yoga (the path of wisdom)
เป็น โยคะแห่งปัญญา เน้นเรื่องความจริง Realityเป็นหนึ่ง โลกที่เราคุ้นเคยมักจะมีภาพลวงตา เช่นการเห็นเชือกเป็นงู การที่จะทราบจะต้องเพ่งพินิจ การที่เราเห็นผิดเป็นชอบเรียกมายา(mâyâ)หรือหลงผิด การแก้การหลงผิดสามารถทำได้โดยการปลีกวิเวก(viveka)เมื่อรู้ว่าอะไรไม่จริง ก็สละสิ่งนั้น

ท่าโยคะ-ยืน



Tantra-Yoga (which includes Kundalinî-Yoga)

เป็น โยคะที่รวมหลายชนิดของโยคะรวมกัน Tantra-yoga สอนให้รู้จักด้านมืดของชีวิต เน้นพิธีการบวงสรวง เน้นการเข้าฌาณเพื่อปลุกพลังภายในร่างกาย Tantra-yoga เน้นการประสานกายและพลังจิต

Mantra-Yoga (the path of transformative sound)
เป็นโยคะที่ไม่ซับซ้อน เน้นการสวดภาวะนาและกล่าวคำว่า โอม

Hatha-Yoga (the forceful path of physical self-transformation)
จุด ประสงค์โยคะนี้เป็นการเตรียมร่างกายเพื่อให้มีพลังที่จะบรรลุสู่ความสำเร็จ จะต้องประกอบด้วยการออกกำลังและฝึกลมปราณ การฝึกโยคะนี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง อดทนต่อความหิว ร้อน หรือหนาว เมื่อร่างกายและจิตใจแข็งแรงก็ทำให้ผู้ฝึกเข้าถึงสมาธิฌาณได้ง่าย
ประโยชน์ของการฝึกโยคะ

การฝึกโยคะดั้งเดิมต้องการค้นหาความสุขที่แท้จริง
ความ สุขที่ไม่ใช่เกิดจากความพอใจหรือความรื่นรมย์ การฝึกโยคะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความสมดุลของระบบประสาท และมีรู้ความหมายแท้จริงของชีวิต จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวตามสิ่งแวดล้อม ไม่เสียใจ ไม่ดีใจเกินไป เป็นการฝึกจนเกิดปัญญา แต่ปัจจุบันได้นำมาฝึกเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้ -ช่วยให้เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
-ช่วยผ่อนคลายความเครียด และอาการปวดเมื่อย
-ช่วยทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น รวมทั้งการทรงตัว
-ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น
-ทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น
-ทำให้มีสติดีขึ้นรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร
-ทำให้ใจเย็นลง
-ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

ที่มา  www.handbtoday.com

อัพเดทล่าสุด