บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นความดันสูง และ ตนเป็นความดันสูงมีอาการอย่างไร !!


797 ผู้ชม


ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร

ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท

สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ

ส่วน ใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ พบมากถึง ร้อยละ 95 แต่มีปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆที่พบ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด

อาการ

หาก เป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ จะมีเลือดกำเดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย

การรักษา

1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ การงดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ ตลอดจนการฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด
2. การรักษาทางยา โดยแพทย์ และไม่แนะนำให้หยุดยาเองเป็นอันขาด เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย

การป้องกัน

1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
2. งดสูบบุหรี่
3. จำกัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
6. รับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม น้ำเต้าหู้ ในรายที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ
7. รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น
8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน
9. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย
10. หมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
11. คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่นตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์

ารปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

1. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

  • ดูแลน้ำหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกาย
  • หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาว ๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่าย ๆ ควรเริ่มต้นทีละน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จะทำให้หัวใจและปอดทำงานดีขึ้น ช่วยการสูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย
  • ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือน้ำปลาน้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้พอเพียง

2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริมให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และยังทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
3. ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้ความดันขึ้น และทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. การบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ และมีเส้นใยอาหารสูง จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10
6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
7. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ อาจเป็นเดือนละ 1–2 ครั้ง ควรบันทึกลงสมุดบันทึกไว้ด้วย
8. สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม กล้วยเป็นประจำถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ

ที่มา  www.agingthai.org

อัพเดทล่าสุด