การรักษาความดันสูง ด้วย ยารักษาโรคความดันสูง และ ยาลดความดันสูง อย่างปลอดภัย!!


1,942 ผู้ชม


ยารักษาโรคความดันเลือดสูง
(HYPER TENSION)
1. ไดอะซีแพม 2 มก. (DIAZEPAM-2)
2. ไฮโดรคลอไรไทอะไซด์ (ยาขับปัสสาวะ)
3. รีเซอร์ปีน 0.25 มก. (RESERPINE)
4. แอลโดเมต 250 มก. (ตัวยาเมธิลโดปา)
     โรคความดันโลหิตสูง มักจะพบในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุการเป็นโรค ความดันเลือดในคนหนุ่มสาว ค่าปกติตัวบนอยู่ระหว่าง 100 ถึง 130 มม. ปรอท ความดันตัวล่างค่าปกติอยู่ระหว่าง 70 ถึง 90 มม. ปรอท (รายเฉลี่ยของความดันเลือดปกติราว 120/80) โดยที่ค่าความดันเลือดในคนปกติแตกต่างกัน ค่าที่สูงกว่านี้ หรือต่ำกว่านี้ ก็หาใช่ว่าจะต้องเป็นความดันสูงต่ำ ก็หาไม่ ต้องดูเป็นราย ๆ ไป บางคนค่าความดันตัวล่าง 60 มม. ปรอท อาจจะปกติไม่เป็นความดันต่ำก็ได้ (ความดันต่ำ ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหรืออาการที่ตรวจพบได้เท่านั้น การ รักษาความดันเลือดต่ำนั้นแทบจะเรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้อง รักษาแต่อย่างใดเลย ถ้าหากไม่มีอาการผิดปกติอย่างใด)
     ส่วนในคนสูงอายุ คืออายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าของ ความดันปกติราว 110/170 ถึง 140/90 มม. ปรอท
     ถ้าความดันเลือดเกิน 140/90 ถึง 160/95 มม. ปรอท ถือว่าอยู่ในช่วงก้ำกึ่ง
     ถ้าความดันเลือดเกิน 160/95 มม. ปรอท ถือว่า เป็นความดันเลือดสูง
     ส่วนใหญ่ของคนป่วยด้วยโรคนี้ จะไม่รู้ตัวเองว่า กำลังเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ เพราะส่วนมากจะไม่มี อาการ
     ในกรณีที่มีอาการ สิ่งที่พบมากก็คือปวดศรีษะ, มึนงง, เวียนศรีษะ, ตามัว, เหนื่อยง่าย, หรือนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้ อาจจะเป็นอาการของโรคอื่นก็ได้ แพทย์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้วินิจฉัยได้ว่า ท่านมีความดันเลือดสูงหรือไม่ โดย การวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต
     ถ้าความดันเลือดสูง ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที มักจะเกิดการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดขึ้นบ่อยครั้ง การไหลเวียนของหลอดเลือดไปยังอวัยวะสำคัญต่อชีวิต อาจเสียไปได้ เช่น สมอง, หัวใจ, ไต, ตา, โดยเฉพาะสมอง อาจเกิดการแตกของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งอาจทำให้เป็น อัมพาตหรือตายได้
     อาจหลีกเลี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน และผลร้ายที่ ตามมาได้ ถ้าความดันเลือดสูงได้รับการรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ
วิธีการ รักษา
     คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นจะต้องกินยา ไปตลอดเป็นระยะเวลานาน เพื่อควบคุมความดันเลือดให้ อยู่ในภาวะปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติให้มากที่สุด (ให้ลงมา อยู่ในระดับประมาณ 140/80)
     ความดันเลือดของคนเรานั้นไม่คงที่ ในเวลาพักผ่อน ความดันเลือดจะลงต่ำ ในขณะทำงาน, ออกกำลัง, ตื่นเต้น, โกรธ, กลัว, ความดันเลือดจะขึ้นสูง
     ดังนั้น การที่หมอจะให้ยาลดความดันเลือดผู้ใด ต้องแน่ใจเสียก่อนว่าความดันเลือดของผู้นั้นสูงจริง ๆ นั่นคือ ให้นอนพักแล้วก็ยังสูง
     สำหรับคนที่ไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการอะไรมาก เช่น ปวดหัวนาน ๆ ครั้ง และความดันเลือดก็ไม่สูงมาก เช่น ความดันเลือดระหว่าง 160/100 ถึง 180/120 ในผู้ใหญ่ หมอมักจะเริ่มต้นด้วยการใช้ยาดังต่อไปนี้
     1. ยากล่อมประสาทไดอะซีแพม ขนาด 2 มก. กินครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าเย็น ถ้ากลางคืนนอนไม่หลับ กินได้อีก 1 เม็ด ก่อนนอน เพื่อลดความเครียดลง ความดัน เลือดจะได้ไม่ขึ้นสูง
     2. ยาขับปัสสาวะ ไฮโดรคลอไรไทอะไซด์ กินครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า คนที่ไม่มีอาการอะไรมาก การใช้ยาเพียง 2 ตัวนี้ คือยากล่อมประสาท และยาขับปัสสาวะ (ข้อ 1, 2) ก็มักจะ เพียงพอสำหรับการคุมความดันเลือด หมอจะใช้ยาทั้ง 2 ตัว นี้ดูสัก 1-2 สัปดาห์ ถ้าความดันยังไม่ลด จึงจะเพิ่มยาอื่น ที่เป็นยาลดความดันเลือดโดยตรง คือ เพิ่มยาในหัวข้อ 3 หรือ 4 อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับยาในหัวข้อ 1 และ 2 (รวมใช้ยา 3 อย่าง)
     3. ยาลดความดันเลือด รีเซอร์ปีน 0.25 มก. กิน ครั้งละครึ่งเม็ด ถึง 1 เม็ด วันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้า-เย็น ยานี้อาจทำให้ง่วง ถ้าง่วงให้งดขับรถ ขับเรือ หรือทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ไม่ควรใช้ในคนเป็นโรคกระเพาะ
     4. ยาลดความดันเลือด แอลโดเมต 250 มก. กิน ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า-เย็น ยานี้อาจทำให้ง่วง ถ้า ง่วงให้หลีกเลี่ยงจากการขับรถ ขับเรือ หรือทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร สิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งคือ จะต้องกินยาตามแพทย์สั่ง อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง อย่าหยุดยาเอง ถ้าหากกินบ้าง หยุดบ้าง อาจไม่ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง และยังอาจทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายด้วย
     ถ้ากินยาแล้วมีอาการไม่ปกติ ควรจะรีบไปบอกแพทย์ ทันที ซึ่งแพทย์อาจจะเปลี่ยนยาเป็นชนิดอื่น หรือปรับขนาด ยารับประทานให้เหมาะสมได้
     ควรไปให้แพทย์ตรวจวัดความดันเป็นระยะ ๆ ทุก 1-3 เดือน เพื่อจะได้ปรับขนาดยาให้พอเหมาะกับโรค หรือ บางราย (ที่สร้างกุศลมาก) อาจจะหยุดยาได้ชั่วคราว แต่ก็ ยังต้องกลับมาพบแพทย์ทุก 2-3 เดือน เพื่อวัดความดันเลือด หากพบว่ามีความดันสูงขึ้นอีกจะได้เริ่มรับประทานยาใหม่
ที่มา  thai.mindcyber.com

อัพเดทล่าสุด