วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้ รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำอาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมาก ในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามิน ดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของ ระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน ข้อมูลทั่วไป - วิตามินดี จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไปแล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และโดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดแล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะไป กระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหารจะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทางจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้
- วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมใน เลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี
- คุณสมบัติ
- วิตามินดีที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต - ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี ชนิดของวิตามินดี วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดยฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ - วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
- วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7- ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็กแล้ว ส่งผ่านไปยังผิวหนัง
จำนวนวิตามินดีที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ - จำนวนแสง U.V. จากแสงแดดตอนเช้า ฤดูอาจได้ไม่ถึง 1 ชม. ฤดูร้อนกลางวัน อาจได้แสงถึง 4 ชม. - แสง U.V. นี้ไม่สามารถผ่านหมอกควัน ฝุ่นละออง กระจก หน้าต่าง ม่านกั้นประตูหน้าต่าง เสื้อผ้าและสีของผิวหนัง ( melanin) จากการศึกษา ปริมาณของ วิตามินดีในเลือดที่ได้จากการสังเคราะห์จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลในฤดูร้อนความ เข้มข้น ของ วิตามินดีในเลือดจะสูงกว่าในฤดูหนาว ประโยชน์ต่อร่างกาย - วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
- วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
- ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
- ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีด อันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่าง กายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
- เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
- ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
- เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
- เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
- หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย
แหล่งที่พบ - พบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมาก ในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรก
- นมเป็นอาหารที่นิยมเสริมวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ปริมาวิตามินดีที่เสริม คือ 400 IU ต่อลิตร
- ปริมาณของวิตามินดีในอาหารอาจเปลี่ยนแปลงได้มากตามฤดูกาล และภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น การถูกแสงแดดมากหรือน้อย อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีวิตามินดีมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำ - ในการที่บุคคลต่าง ๆ ควรได้รับปริมาณวิตามิน ดี มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ไขมันในอาหาร การสร้างน้ำดีจากตับ การดูดซึมของระบบทางเดินอาหาร ความบ่อยครั้งในการถูกแสงแดดและขึ้นอยู่กับปริมาณของสารมีสี และ เคราตินที่มีอยู่ที่ผิวหนัง ถ้าผิวขาวมีสารมีสีน้อย แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปในชั้น Granulosum ของผิวหนังได้มาก ทำให้ 7 - dehydrocholesterol ซึ่งมีอยู่มากในชั้นนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน ดี สามได้มาก ถ้าผิวเหลืองเนื่องจากมีเคราตินมากหรือผิวดำเพราะมีสารมีสีมาก แสงอัลตราไวโอเลตจะผ่านเข้าไปได้น้อยทำให้มีการสังเคราะห์วิตามิน ดีสามที่ผิวหนังน้อย
- วิตามิน ดี 2.5 ไมโครกรัม (100 ไอยู) สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนและช่วยให้มีการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้อย่าง เพียงพอสำหรับการสร้างความเจริญเติบโตของกระดูกและฟันในทารก แต่การกินวันละ 10 ไมโครกรัม (400 ไอยู) นั้นช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น
-
- ทารก 10 ไมโครกรัม
- เด็ก 10 ไมโครกรัม
- ผู้ใหญ่ 20 - 29 ปี 7.5 ไมโครกรัม
- 30 - 60 ปี (หรือมากกว่า) 5 ไมโครกรัม
- หญิงมีครรภ์ +5 ไมโครกรัม
- หญิงให้นมบุตร +5 ไมโครกรัม
ผลของการได้รับมากไป - พบในรายที่บริโภค 300,000 - 800,000 I.U ต่อวันเป็นระยะเวลานาน วิตามิน ดี ประมาณ 30,000 I.U ต่อวัน หรือมากกว่านี้จะทำให้เป็นอันตราย สำหรับทารกและประมาณ 50,000 I.U ต่อวัน จะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก อาการเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำจัด น้ำหนักตัวลด มีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูกและมีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและในปัสสาวะสูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีในเลือดอาจไปจับอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในรายที่เป็นมากอาจถึงตาย เพราะมีการล้มเหลวของไต ส่วนในรายที่ยังเป็นไม่มากนัก เพียงหยุดให้วิตามิน อาการต่างๆจะหายไป
- อาการที่เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไป หรืออาการที่จำเป็นต้องสังเกตขณะที่รับประทานวิตามินดี คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
- เป็นที่น่าสนใจที่เด็กสามารถสร้างวิตามินมากเกินปกติได้ ซึ่งจะพบในเด็กที่ดื่มนมผสม (Fortified Milk) อาการเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนกับยาอื่น ๆ ได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเด็กได้รับวิตามินดี ในขนาดธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้นำให้ทราบว่าเด็กมีแคลเซียมมากในร่างกาย (Hypercalcemia) และวิตามินในร่างกายมากเกินความต้องการแล้ว สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปวดตามข้อ รูมาตอยด์ อาไทรติส (Rheumatoid arthritis) ถ้ารับประทานวิตามิน ดีเกินขนาดทำให้มีแคลเซียมไปเกาะที่ผนังเส้นโลหิตแดง ซึ่งจะทำให้ไตปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นปกติ และทำให้ความดันโลหิตสูงด้วย
- นายแพทย์ Arthur A.Knapp ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตา ชาวอเมริกา ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิตามินดี กับตา บอกว่าการที่คนได้รับวิตามิน ดีไม่พอจะทำให้เกิดสายตาสั้น (MYOPIA) และจุดใหญ่แล้วเนื่องจากความไม่สมดุลของแคลเซียม
ข้อมูลอื่นๆ - การดูดซึม วิตามินดีที่บริโภคเข้าไปจะถูกดูดซึมพร้อมกับไขมันผ่านผนังลำไส้เล็กตรงส่วน ของลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย โดยการช่วยเหลือของน้ำดี เออร์โกสเทอรอลและสารสเทอรอลอื่นๆ จากพืช ถูกดูดซึมได้ไม่ดีจากลำไส้แต่ถ้าเป็น เออร์โกสเทอรอล ที่ได้อาบแสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงแดด และเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดี ที่ผิวหนังจะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็กผ่านเข้าไปในระบบหมุนเวียน เนื่องจากวิตามินดี เป็นอินทรีย์สารที่ละลายได้ดีในไขมันฉะนั้นการดูดซึมจะดีเลวเพียงใดจึงขึ้น อยู่กับ ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันรวมทั้งต้องมีปริมาณของเกลือน้ำดี อย่างเพียงพอ จึงจะดูดซึมได้ดีด้วย แต่ถ้าหากมีความผิดปกติใดๆ ที่รบกวนการดูดซึมไขมัน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะการดูดซึมผิดปกติ หรือการเป็นโรคสปรู (Sprue) ที่ร่างกายต้องสูญเสียไขมันทางอุจจาระมาก ล้วนเป็นสาเหตุทำให้การดูดซึมวิตามินดีน้อยลง นอกจากนี้สีของผิวหนังจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดูดซึมแสงอัลตราไวโอเลต ถ้าผิวหนังมีสารมีสีมาก แสงจะผ่านไปได้น้อย ทำให้วิตามินดี ถูกสร้างขึ้นน้อย เช่น ในคนผิวดำมีสารมีสีมาก หรือคนผิวเหลืองที่มี เคราติน มาก
- หลังจากที่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กแล้วหรือสร้างขึ้นบนผิวหนัง วิตามินดี จะถูกส่งเข้าระบบน้ำเหลืองในรูปของ Chylomicron จากนั้นจึงเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับ
- วิตามินดี กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ผิวหนัง สมอง ปอด ม้ามและกระดูก แต่ก่อนเข้าใจว่าตับเป็นแหล่งแรกสำหรับเก็บสะสมวิตามินดี ไว้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันนี้พบว่าแหล่งแรกของการเก็บ วิตามินดี ไม่ใช่ตับแต่เป็น Fat depots ดังนั้นจึงพบวิตามินดีมีอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน
- ตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคนเก็บวิตามินดีไว้จำนวนจำกัดและมี ปริมาณน้อยกว่าตับปลา แต่ก็เพียงพอสำหรับการขาดวิตามินในระยะ 1 - 2 เดือนแรก
- ทารกที่คลอดใหม่ๆ ยังไม่มีการเก็บสำรองวิตามินนี้ ถ้าได้รับอาหารที่มีวิตามินดีไม่เพียงพอจะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อนได้ง่าย
- วิตามินดีถูกขับออกเล็กน้อยทางน้ำดี ส่วนใหญ่ของวิตามินดีที่ขับออกมาจะถูกดูดกลับเข้าไปใหม่ในลำไส้ สำหรับพวกวิตามินดี metabolite จะถูกขับถ่ายส่วนใหญ่ทางน้ำดี
[ซ่อน] วิตามิน (A11) |
| ละลายในไขมัน | | |
| ดี | ดี2 (Ergosterol, Ergocalciferol) ดี3 (7-Dehydrocholesterol, Previtamin D3, Cholecalciferol, 25-hydroxycholecalciferol, Calcitriol (1,25-dihydroxycholecalciferol), Calcitroic acid) ดี4 (Dihydroergocalciferol) · ดี5 · ดีแอนะล็อก (Dihydrotachysterol, Calcipotriol, Tacalcitol, Paricalcitol) |
| | |
| | | |
| ละลายในน้ำ | | บี1 (ไทอามีน) · บี2 (ไรโบเฟลวิน) · บี3 (ไนอาซิน, นิโคตินาไมด์) บี5 (กรดแพนโทเทนิก, เดกซ์แพนทีนอล, แพนเททีน) · บี6 (ไพริดอกซีน, ไพริดอกซาลฟอสเฟต, ไพริดอกซามีน) บี7 (ไบโอติน) · บี9 (กรดโฟลิก, กรดไดไฮโดรโฟลิก, กรดโฟลินิก) บี12 (Cyanocobalamin, Hydroxocobalamin, Methylcobalamin, Cobamamide) · โคลีน |
| | | |
| ผสม | | |