พบ ขมิ้นชันสกัด - ขมิ้นชัน มะเร็ง ใช้ ขมิ้นชัน ต้านมะเร็งได้


827 ผู้ชม


ใครที่เคยกินแกงกะหรี่ คงรู้จักสีเหลือง ๆ ที่ได้จากขมิ้นชันกันดีใช่มั้ยครับ
สาร สีเหลืองนี้เรียกว่า เคอร์คูมินครับเป็นสารที่มีคุณสมบัติรักษาโรคหลายชนิด ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ต้านมะเร็ง เร็ว ๆ นี้นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศ ญี่ปุ่นพบสารที่คล้ายคลึงกับเคอร์คูมินอีกสองชนิดในขมิ้นชันซึ่งมีคุณสมบัติ ยับยั้งมะเร็ง ผลการศึกษานี้ได้มาจากการทดลองในหนูที่เป็นมะเร็งลำไส้ งานวิจัยนี้รายงานในที่ประชุม the American Association for Cancer Research Centennial Conference เมื่อวันที่ 5 พ.ย.นี้ครับ
Hiroyuki Shibata นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tohoku เป็นผู้หนึ่งที่สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

จาก การศึกษาพบว่าเคอร์คูมินมีคุณสมบัติออกฤทธิ์หลายที่ เช่น ยับยั้งยีนที่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์ ( เช่น ยับยั้งการผลิตโปรตีนอัลฟา-แคทีนิน (alpha-catenin)) และชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ อะพอพโตซิส ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ (เซลล์โดยทั่วไปจะมีโปรแกรมสั่งการให้ตนเองตายเมื่อผิดปกติหรือบาดเจ็บ แต่เซลล์มะเร็งจะโตเอาโตเอาแบบไม่มีวันตายครับ จึงทำให้มันโตลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้)
โชค ไม่ดีเลยครับที่ เคอร์คูมิน มีอายุทางชีวภาพต่ำ คือจะสูญเสียคุณสมบัติในการรักษาได้เร็ว Shibata กล่าวว่า เมื่อเรากินเคอร์คูมินเข้าไป เคอร์คูมินจะสูญเสียคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง Shibata จึงพยายามหาวิธีเพิ่มศักยภาพในการต้านมะเร็งของ เคอร์คูมิน โดยการสังเคราะห์และทดสอบโครงสร้างสารในขมิ้นชัน 90 ชนิด พบว่าสาร GO-Y030 และ GO-Y031 มีศักยภาพรักษามากกว่าเคอร์คูมินที่รู้จักกัน


ผ.ศ.Shibata ภาควิชา Clinical Oncology จากสถาบันInstitute of Development, Aging and Cancer ที่มหาวิทยาลัย Tohoku กล่าวว่า
สารตัวใหม่ที่ได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ได้มากกว่าเคอร์คูมินถึง 30 เท่า ส่วน การทดลองในหนูพบว่าการให้สาร GO-Y030 และ GO-Y031 อย่างละ 5 มิลลิกรัมช่วยให้หนูที่เป็นมะเร็งลำไส้มีอาการดีขึ้น 42 และ 51 % ตามลำดับ ในปี 2006 นักวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่ข้อมูลการใช้และโครงสร้างสาร GO-Y030 และ GO-Y031 ในงานตีพิมพ์ของ American Association for Cancer Research และได้ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ระดับโมเลกุลเพิ่ม โดยพบว่าในรูปธรรมชาติเคอร์คูมินมีโครงสร้างเป็นวงสองวงอยู่ริมและเชื่อมตรง กลางด้วยคาร์บอนเจ็ดอะตอม ส่วน GO-Y030 และ GO-Y031 จะเชื่อมตรงกลางด้วยคาร์บอนเพียงห้าอะตอม Shibata บอกว่าตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ว่าเหตุใดโครงสร้างแบบนี้จึงทำให้ออกฤทธิ์ได้ดี กว่า
 
นักวิทยาศาสตร์เชื่อ ว่าสารทั้งสองนี้ทำงานคล้ายกับเคอร์คูมิน มีคุณสมบัติย่อย â catenin ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นพื้นฐานทำลายมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้

เช่น มะเร็งกระเพาะ นอกจากนั้นยังพบว่าสารทั้งสองนี้ทำให้ยีนที่ผลิต NF-kappa B, ErbB2, K-ras แสดงออกน้อยลงซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับมะเร้งเต้านม มะเร็งตับมะเร็งปอด และมะเร็งชนิดอื่น ๆ Shibata กล่าวว่า อาจใช้สารเหล่านี้เพื่อการรักษาเพียงชนิดเดียวหรืออาจใช้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการรักษาด้านอื่น นอกจากนั้นยังต้องค้นหากลไกการส่งสารชนิดนี้ ศึกษาด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยาก่อนการทดลองทางคลีนิก
ที่มา  variety.teenee.com

อัพเดทล่าสุด