วิธี เปลี่ยนข้อเข่าเสื่อม พร้อม รูปภาพข้อเข่าเสื่อม อย่างละเอียดโดยหมอ!!


1,261 ผู้ชม


  รศ.นพ.อารีศักดิ์  โชติวิจิตร     
 
......................................................................................................................................................................
 
       การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ เข่าเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมักทำในรายที่ข้อเข่าติดแข็ง หรือข้อเข่าผิดรูปภายหลังการติดเชื้อ โดยใช้เนื้อเยื่อมากั้น ระหว่างผิวข้อที่เสื่อม ปลายปี ค.ศ.1950 จึงเริ่มมีการออกแบบข้อเข่าเทียมที่สร้างจากโลหะขึ้น  ได้มีการพัฒนา รูปแบบและวัสดุเรื่อยมา เพื่อให้การใช้งานดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ ร.พ.ศิริราช เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยทำในรายที่มี ข้อเข่าเสื่อม
 
     
     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  
 
ภาพที่
1
   เริ่มจากการผ่าเปิดข้อเข่าออกมา จะเห็นลักษณะของข้อเข่า  ที่เสื่อมจนผิวข้อ มีการสึกกร่อนหายไปของกระดูกอ่อน ที่กระดูกต้นขา (ศรชี้)  
 
ภาพที่
2
   แสดงการเจาะกระดูกต้นขาเพื่อใส่เครื่องมือช่วยตัดแต่ง
จะเห็นว่าที่ผิวบนของกระดูกหน้าแข้ง (tibia) ถูกเลื่อยออกจน เรียบแล้ว (ศรชี้)
 
 
 
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
   
 

     
ภาพที่
3
   
  แสดงการใช้เครื่องมือ และเลื่อยตัดแต่งผิวข้อ
 และปลายของกระดูกต้นขาออก
 
ภาพที่
4
  หลังจากตัดแต่ง ผิวข้อและปลายของกระดูกต้นขาแล้ว  จึงมาตัดแต่งส่วนต้นของกระดูกปลายขา โดยใช้เครื่องมือทำให้เกิดหลุมและร่องสำหรับรับข้อเทียม
     
     
     
 
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
     
 
ภาพที่
5
     
  แสดงลักษณะของผิวข้อ และปลายของกระดูกหลังตัดแต่งแล้ว
   
ภาพที่
6
  ป็นภาพหลังจากข้อเข่าเทียมได้ถูกสวมใส่ที่ปลายกระดูก
 และผิวของลูกสะบ้า (ศรชี้) โดยยึดด้วยซีเมนต์
  วัสดุสีขาวระหว่างกลางคือพลาสติกชนิดพิเศษ  (มีลักษณะเช่นเดียวกับผิวสะบ้าเทียม)
 
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
   
 
ภาพที่ 7-8
  ภาพถ่ายรังสีก่อนผ่าตัด
แสดงผิวข้อเสื่อมจนกระดูกต้นขาบดกับกระดูกหน้าแข้ง ทางด้านในของข้อและเมื่อยืนลงน้ำหนัก เข่าจะโก่งมี อาการเจ็บปวดมาก
 
 
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
       
 
ภาพที่
9-10
  ภาพถ่ายรังสีหลังผ่าตัด
เงาของข้อเขาที่เป็นโลหะ(เห็นสีขาว)โดยมีพลาสติก
คั่นกลาง ส่วนของสะบ้าเป็นพลาสติกล้วนๆ จึงไม่เห็นเงาสีขาว และขาที่โก่งนั้นถูกจัดให้อยู่ตรงตาม แนวปกติแล้ว
 
 
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10
       
 
ภาพที่
1
1
 
เป็นภาพแสดงผู้ป่วยรายหนึ่ง หลังผ่าตัดมีเพียงแผล

 เป็นเส้นตรงกลางเข่า และแนวของขาก็ตรงเป็นปกต
 
 
ภาพที่ 11
       
     
ที่มา   www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด