โรคข้อเข่าเสื่อม การป้องกัน การดูแลหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม อย่างถูกต้อง!!


1,575 ผู้ชม


หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีปฏิบัติ ด้านล่างนี้เป็นเทคนิควิธีที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายหลังเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ท่านสามารถสอบถามเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคนิควิธีดังกล่าวจากแพทย์ของท่านก่อนลงมือปฏิบัติ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้อาจถูกดัดแปลงโดยนักกายภาพบำบัดของท่านซึ่งจะดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อม และปัจจัยต่างๆ เช่นอายุและน้ำหนักตัวของท่าน ควรปฏิบัติตามเฉพาะเทคนิควิธีที่แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดของท่านแนะนำเท่านั้น

ขณะนอนลง

เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความยืดหยุ่นของข้อเข่าขณะท่านนอนเหยียดขา  ให้ใช้ผ้าขนหนูม้วนเป็นหมอนเพื่อรองใต้ข้อเท้าของท่าน ซึ่งจะทำให้ท่านรู้สึกผ่อนคลายบริเวณต้นขา

ขณะลุกขึ้นนั่ง

สำหรับ2-3 ครั้งแรกๆ ขณะลุกขึ้นนั่ง แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจช่วยจับหรือช่วยพยุงขาของท่านเพื่อช่วยให้ท่านลุกขึ้นนั่ง แต่หลังจากนั้นก็จะแนะนำให้ท่านปฏิบัติด้วยตนเองโดยให้นั่งชิดขอบเตียงและวางเท้าของท่านไว้บนตั่งพักเท้า จากนั้นท่านจะถูกข้อร้องให้เหยียดขาข้างที่เข้ารับการผ่าตัดขึ้นครู่หนึ่ง จากนั้นวางเท้าของท่านไว้บนตั่งพักเท้า สลับไปมา

ขณะยืนขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือ

หลังการผ่าตัดระยะหนึ่ง แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจช่วยพยุงให้ท่านยืนขึ้นโดยอาจผูกข้อมือของท่านไว้กับเครื่องช่วยพยุง เพื่อป้องกันการล้มในกรณีที่ท่านเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และท่านอาจถูกพันด้วยเฝือกอ่อนรอบๆ ขาข้างที่เข้ารับการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวขณะที่ท่านยืน

การใช้เครื่องช่วยพยุง 4 ขา

เมื่อท่านสามารถลุกขึ้นยืนได้ด้วยตนเอง ในระยะแรกท่านอาจใช้เครื่องช่วยพยุงสี่ขา (วอกเกอร์) เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุลขณะเคลื่อนไหว ในเบื้องต้นขณะที่ท่านฝึกเดินท่านจะได้รับการบอกกล่าวให้ลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่ได้เข้ารับการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย เมื่อข้อเข่าข้างที่ได้รับการผ่าตัดแข็งแรงขึ้น แพทย์ก็จะบอกให้ท่านลงน้ำหนักที่เท้าข้างนั้นมากขึ้น

  ขั้นที่ 1
มือทั้งสองข้างยกเครื่องช่วยพยุง 4 ขา (วอกเกอร์) และวางเครื่องช่วยพยุง 4 ขา (วอกเกอร์) ห่างออกไปยังทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าประมาณ 2-3 นิ้ว และควรตรวจสอบให้มั่นใจให้ขาทั้ง 4 ของเครื่องช่วยพยุงแนบกับพื้นทุกครั้ง
     
  ขั้นที่ 2
โน้มตัวไปข้างหน้า และปล่อยให้เครื่องช่วยพยุง 4 ขา (วอกเกอร์) รับน้ำหนักตัวของท่าน ก้าวเท้าข้างที่เข้ารับการผ่าตัดไปข้างหน้าอย่างระมัดระวัง  อย่าให้เท้าของท่านพันกับเท้าของเครื่องช่วยพยุง
     
  ขั้นที่ 3
เกาะเครื่องช่วยพยุงสี่ขา (วอกเกอร์) ให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง จากนั้นก้าวไปข้างหน้าโดยใช้เท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัด

การเดินโดยใช้ไม้เท้า

เมื่อเข่าและกล้ามเนื้อขาของท่านแข็งแรงขึ้น แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก็จะแนะนำให้ท่านเปลี่ยนจากการใช้นเครื่องช่วยพยุงสี่ขาเป็นไม้ยันรักแร้ นักกายภาพบัดบัดจะให้ข้อมูลและแนวทางเกี่ยวกับระยะทางที่ท่านควรจะต้องฝึกเดินเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

  ขั้นที่ 1
จับไม้ยันรักแร้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและมั่นคง ใช้กำลังจากแขนของท่านพยุงไม้ยันรักแร้ ไม่ควรใช้กำลังจากบริเวณแขนหนีบ
     
  ขั้นที่ 2
ก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดในจังหวะเดียวกัน กับการเคลื่อนไม้ยันรักแร้ทั้งสองข้างไปข้างหน้า
     
  ขั้นที่ 3
เงยหน้าและมองไปข้างหน้า เริ่มก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดโดยใช้ไม้ยันรักแร้โดยตามด้วยเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัด
     
 

การเดินขึ้นบันไดโดยใช้ไม้ยันรักแร้

วางไม้เท้าทั้งสองข้างให้ตรง และมั่นคง เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกาย ยกเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัดขึ้น และวางไปบนบันไดขั้นแรก โน้มตัวไปข้างหน้า โดยใช้ไม้เท้าทั้งสองข้างและเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัด เป็นเครื่องช่วยรับน้ำหนักตัว จากนั้นยกเท้าข้างที่ได้รับการผ่าตัดขึ้นและวางไว้ที่ขั้นบันได คุณอาจต้องการคนช่วยท่านขณะขึ้นบันไดใน 2-3 ครั้งแรกๆ จนกระทั่งท่านรู้สึกคุ้นเคยกับการขึ้นบันได

     
 

การเดินลงบันไดโดยใช้ไม้ยันรักแร้

การก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดในจังหวะเดียวกันกับการ เคลื่อนไม้เท้าทั้งสองข้างลงไปบนบันไดขั้นที่อยู่ต่ำลงไป ใช้ไม้เท้าทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดความสมดุล และรองรับน้ำหนักตัวขณะก้าวลงบันได ซึ่งในระยะแรกๆ ท่านอาจต้องการผู้ช่วย

ขณะที่คุณอยู่ที่บ้าน

การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งข้อปฏิบัติด้านล่าง ท่านควรปรึกษาแพทย์ของท่าน ก่อนที่ท่านจะออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้าน

  • ถ้าท่านต้องใช้เครื่องช่วยพยุง 4 ขาหรือไม้ค้ำรักแร้เพื่อช่วยเดิน ท่านควรสอบถามแพทย์ถึงปริมาณการลงน้ำหนักบนเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัด
  • โปรดจำไว้ว่าท่านอาจจะเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ท่านอาจต้องวางแผนการพักผ่อนประมาณ 30-60 นาที ในช่วงเช้า และช่วงเทียงๆ
  • เพื่อความปลอดภัยและสะดวกสบาย ท่านควรที่จะนั่งหรือลุกจากเก้าอี้โดยใช้มือทั้งสองข้างช่วยพยุง แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการนั่งบนเก้าอี้ที่ต่ำมากๆ ท่านจะสะดวกสบายขึ้นถ้าใช้เบาะพิงหรือหมอนเพื่อยกตัวขึ้นจากการนั่ง
  • ส้วมชนิดที่ยกพื้นสูงอาจช่วยลดความตึงของสะโพกและเข่าขณะที่ท่านนั่งลงหรือยืนขึ้น
  • ชั้นวางเครื่องใช้ในห้องน้ำที่มีความสูงระดับหน้าอก จะช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อขณะที่ท่านย่อตัวหรือเอื้อมหยิบของขณะอาบน้ำ
  • เก้าอี้นั่งในห้องอาบน้ำ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายให้ท่านขณะอาบน้ำ
  • ฟองน้ำถูตัวที่มีด้ามจับยาวอาจช่วยให้การทำความสะอาดบริเวณท่อนขาด้านล่าง หรือหน้าแข้งได้สะดวกขึ้น ส่วนผู้หญิงก็สามารถซื้อมีดโอนชนิดที่มีด้ามจับยาวเพื่อใช้โกนขนบริเวณนี้ได้
  • หลีกเลี่ยงการกวาดบ้าน ถูพื้น และดูดฝุ่น ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนมาใช้ไม้ขนไก่ด้ามยาวเพื่อปัดฝุ่น ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบว่าเมื่อไหร่ที่ท่านจะกลับไปทำงานบ้านประเภทกวาดพื้น ถูพื้น หรือดูดฝุ่นได้
  • ท่านอาจสามารถโดยสารรถยนต์ได้ แต่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการขึ้นและลงจากรถ ท่านสามารถทำให้ที่นั่งในรถสูงขึ้นโดยใช้เบาะรองนั่ง ซึ่งจะช่วยปกป้องบริเวณสะโพกและเข่าของท่านได้ดีอีกด้วย แพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบถึงระยะเวลาที่ท่านจะกลับไปขับรถได้ ซึ่งโดยปกติท่านจะกลับไปขับรถได้ใน 4-6 สัปดาห์หลังเข้ารับการผ่าตัด ถ้าท่านขับรถโดยใช้เกียร์ ธรรมดา (Manual)ควรถามถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการขับขี่รถยนต์ซึ่งท่านควรจะแน่ใจได้ว่า ท่านสามารถหยุดรถได้โดยไม่ยากลำบากเมื่อท่านต้องขับขี่ในสถานที่ซึ่งมีการจราจรติดขัด
  • อาการท้องผูกมักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นเนื่องจากการถูกจำกัดกิจกรรม และเกิดจากการใช้ยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมได้ จากแพทย์ของท่าน ซึ่งท่านควรทานผักและผลไม้ รวมถึงดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว อีกด้วย
  • แพทย์อาจจะสั่งยาบรรเทาอาการปวดให้กับท่าน ซึ่งท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนะของแพทย์ในการทานยาอย่างเคร่งครัด
  • อาการบวมบริเวณแผลผ่าตัดมักจะเป็นอาการทั่วๆ ไป ของผู้ที่ผ่านการผ่าตัด ซึ่งท่านควรจะหาเสื้อผ้าที่หลวม สวมใส่สบาย เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งท่านควรถามแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลท่านเกี่ยวกับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้อง
ที่มา   www.zimmer.co.th

อัพเดทล่าสุด