น่ารู้เรื่อง สิทธิประกันสังคม - ประกันสังคม มาตรา 40 ประกันสังคม มาตรา 39


1,257 ผู้ชม


ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร

                ในวันนี้เป็นวันแรกของการส่งมอบเช็คช่วยชาติฉบับแรก โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อท่านดูตามทีวีจะพบว่ากรุงเทพมหานครได้จัดให้มีบอร์ดแยกผู้ประกันตนออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ทนายคลายทุกข์จึงนำกฎหมายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวมานำเสนอเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างให้ทราบถึงความหมายของมาตราดังกล่าวดังนี้ 

                 มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน

 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็น ผู้ประกันตนต่อไป

[ มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

                มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น

                 (1) ตาย

                 (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

               ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือน นับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง

[ความในวรรคสองของ มาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]

                มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

               จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

               ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้

               นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

[ มาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

               มาตรา 40 บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน

               หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ตาม มาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา

ที่มา  www.decha.com

อัพเดทล่าสุด