รู้สึกเจ็บนม เจ็บนมมีก้อนเนื้อใต้ราวนม เป็นไรไหม


1,319 ผู้ชม


ก้อนที่เต้านม (Breast lumps; cystic mastitis; fibrocystic breast syndrome; fibroadenoma; lipoma)
           -  กลุ่มอาการถุงน้ำที่เต้านม (fibrocystic breast syndrome) เป็น สาเหตุของก้อนที่เต้านมที่พบได้บ่อยที่สุด แพทย์บางคนจัดให้เป็นโรคชนิดหนึ่ง แต่แพทย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ไนภาวะ ปกติ ทำให้ปรากฏลักษณะเป็นก้อนของเนื้อเยื่อเต้านม เป็นผลต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำ ทุกเดือน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศหญิงเพื่อเตรียมให้เต้านมพร้อมที่ จะผลิตน้ำนมด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและน้ำ ถ้าไม่มีการตั้งครรภ์ของเหลวส่วนเกินเหล่านี้จะถูกดูดกลับออกไป แต่บ่อยครั้งของเหลวก็จะคั่งอยู่ในถุงเล็ก ๆ ที่เรียกว่าถุงน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปถุงน้ำจะกลายเป็นเนื้อเยื่อพังผืดทำให้เกิดเป็นก้อนถาวรขึ้น
           ก้อน ที่เต้านมมักมีอาการที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดร่วมด้วย ได้แก่ การบวม กดเจ็บหรือปวดโดยเฉพาะสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เรียกว่า อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากมีถุงน้ำ (cystic mastalgia) มักเริ่มเป็นในผู้หญิงวัย 20 ปีขึ้นไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน
           ใน ระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร อาการเจ็บที่หน้าอกมักจะหายไป หลายคนพบว่าอาการที่เคยเป็นทุก ๆ เดือนลดลง แม้จะหยุดให้นมลูกแล้วก็ตาม หลังวัยหมดประจำเดือน ปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำที่เต้านมมักจะหายไป แต่ในบางรายก็อาจมีอาการแย่ลงในช่วงหลายเดือนสุดท้ายก่อนหมดประจำเดือน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าถ้าใครเป็นถุงน้ำที่เต้านมจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมาก ขึ้น แต่ข้อเท็จจริงกลับตรงข้ามกับความเชื่อดังกล่าว อย่างไรก็ตามการมีก้อนที่เต้านมอาจทำให้การตรวจเนื้องอกชนิดอื่นเป็นไปได้ ยากขึ้น
             -  เนื้องอกของต่อมเต้านม (fiboradenoma) เป็น ก้อนเนื้องอกเต้านมชนิดไม่ร้ายแรงที่พบได้บ่อยที่สุด ถึงแม้จะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าฮอร์โมนเพศหญิงก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเกิดเป็นก้อนกลมเดี่ยว และแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง ไม่ทำให้เจ็บและเคลื่อนที่ไปมาได้
     ปกติแล้ว ก้อนเนื้องอกเหล่านี้จะโตช้ามาก มีส่วนน้อยที่โตขึ้นอย่ารวดเร็วขณะตั้งครรภ์ และมีบ้างที่อาจมีก้อนที่สองเพิ่มขึ้นภายในเวลาหลายเดือนหรือหลายปีต่อมา ก้อนเนื้องอกเต้านมชนิดนี้ไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
             -  เนื้องอกไขมัน (lipomas) เป็นก้อนเนื้อที่ไม่มีอันตราย เกิดจากเซลล์ไขมัน มักพบอยู่ในบริเวณตื้น ๆ ใต้ผิวหนัง และอาจทำให้เกิดรอยบุ๋มคล้ายกับมะเร็งเต้านมได้
การตรวจและวินิจฉัย
          ถ้า มีก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณเต้านม ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจ และถึงแม้จะเป็นเพียงถุงน้ำ ก็ควรติดตามดูการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การวินิจฉัยเบื้องต้นทำได้โดยการใช้เข็มดูดของเหลวออกจากก้อนเนื้อ ถ้าดูดออกได้ง่ายน่าจะเป็นถุงน้ำ แต่ถ้าไม่มีของเหลวและก้อนมีลักษณะแข็งควรตรวจด้วยเครื่องวินิจฉัยแมมโมแกรม (mammography) หรือตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
การรักษาทางการแพทย์
           ปกติ แล้วก้อนเนื้องอกเหล่านี้จะโตช้ามาก มีส่วนน้อยที่โตขึ้นอย่ารวดเร็วขณะตั้งครรภ์ และมีบ้างที่อาจมีก้อนที่สองเพิ่มขึ้นภายในเวลาหลายเดือนหรือหลายปีต่อมา ก้อนเนื้องอกเต้านมชนิดนี้ไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
             เนื้อ งอกของต่อมเต้านมที่ไม่โตขึ้นหรือไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่แพทย์อาจแนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อความปลอดภัย ถ้าก้อนเนื้อนั้นโตขึ้นหรือทำให้เกิดปัญหาใด ๆ ก็ตามสามารถผ่าตัดออกได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
            ส่วน เนื้องอกไขมัน จำเป็นต้องตัดออกทุกรายเนื่องจากแยกแยะออกจากมะเร็งขั้นต้นได้ยาก การผ่าตัดสามารถทำได้ในคลินิกผู้ป่วยนอกโดยการฉีดยาชา ถ้าเป็นเนื้องอกขนาดเล็ก มักไม่มีผลต่อรูปทรงของเต้านม
             ถ้า มีก้อนเนื้อผิดปกติในระยะแรก สามารถลดความกังวลลงได้โดยให้หมั่นตรวจอย่างสม่ำเสมอ และศึกษา ลักษณะก้อนเนื้อที่เต้านมของตนเอง ให้ตรวจคลำเต้านมทุกวันติดต่อกันนานหลาย ๆ เดือน และจดบันทึกไว้ถ้าพบก้อนหรืออาการของเต้านมในแต่ละข้าง
การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตบางอย่างอาจช่วยบรรเทาอาการปวดของถุงน้ำที่เต้านมได้ เช่น
    * สวมเสื้อยกทรงที่พอดีตัวและรองรับเต้านมได้ดี เมื่อมีอาการบวมให้เลือกใช้ยกทรงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 1 เบอร์ จะช่วยทำให้รู้สึกสบายขึ้น
    * พยายามนอนหงายและควรใส่ยกทรงเวลานอนเมื่อมีอาการบวมหรือเจ็บ
    * ประคบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นในบริเวณที่มีอาการปวด
    * ใน ระหว่างที่มีอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจกระทบกระเทือนต่อเต้านม เช่น การวิ่ง และการเต้นแอโรบิคแบบหักโหม ควรใส่ยกทรงขณะออกกำลังกายเสมอ
สาเหตุอื่นของอาการที่บริเวณเต้านม
           มะเร็ง เต้านมจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ ซึ่งบางครั้งก็แยกแยะจากก้อนเนื้อที่ไม่ใช่เนื้อร้ายได้ลำบาก การตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ปวดบริเวณเต้านมได้เช่นเดียวกัน
 
ที่มา   www.surachetclinic.com

อัพเดทล่าสุด