วิธีรักษา อาการของต่อมลูกหมากโต ที่ได้ผล!!


950 ผู้ชม


ต่อมลูกหมากโตคืออะไร

prostate=ต่อมลูกหมาก  bladder= กระเพาะปัสสาวะ   ureter= ท่อไต   eretha= ท่อปัสสาวะ

เมื่อผู้ชายเริ่มย่างเข้าอายุ 40 ปีต่อมลูกหมากจะโตเมื่ออายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโต จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ80จะมีต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมาก จะเริ่มโตจากด้านในดังนั้นก็จะกดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก เมื่อปัสสาวะลำบาก ทำให้ปัสสาวะออกไม่หมดเหลือปัสสาวะบางส่วนในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้การที่ทางเดินปัสสาวะถูกกดอาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ด ีและอาจจะเกิดไตวายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่

ต่อมลูกหมากโตเป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ

ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง

อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ ระยะแรกของโรคกระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ

  • ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
  • อั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
  • ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ

ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่รักษาก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้แก่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ไตเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะเล็ด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

  • เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
  • ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทั่วไป
  • ตรวจร่างกายทั่วไป
  • ตรวจต่อมลูกหมากโดยการตรวจทางทวารหนัก
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตและตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมากค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจส่องกล้อง cystoscope เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะเป็นการตรวจที่ไดข้อมูลมาก
  • การตรวจ x-ray เรียก urogramหรือ IVP [ intravenous pyelography] โดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำและเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถ เห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ
  • การตรวจ ultrasound สามารถเห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะโดยทำผ่านทางทวารหนัก
  • การตรวจ Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน

เมื่อไรจะรักษาต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโตหากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษาจะรักษาเมื่อมีอาการมากหรือไตเริ่มทำงานไม่ดี

การรักษาต่อมลูกหมากโตมีได้กี่วิธี

  1. Watchful waiting ถ้าต่อมลูกหมากที่โตไม่เกิดอาการท่านและแพทย์ที่ดูแลท่านอาจจะตกลงว่ายังไม่ จำเป็นต้องให้ยา หรือการรักษาอย่างอื่นแต่ท่านต้องตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะประเมินว่าต่อมลูกหมากที่โตเกิดปัญหาต่อสุขภาพหรือยัง ผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ1/3อาการจะดีขึ้นเองแพทย์จะแนะนำมิให้ รับประทานยาลดน้ำมูกเพราะจะทำให้อาการแย่ลง ผู้ป่วยที่ใช้วิธีเฝ้าคอย บางท่านอาการดีขึ้น บางท่านอาการคงที่บางท่านอาการแย่ลง
  2. Alfa blocker drug treatment เป็นยาที่ทำให้กล้ามเนื้อในต่อมลูกหมากคลายตัว ยานี้ไม่ได้โรคแทรกซ้อนหรือทำให้ต่อมลูกหมากลดลงยาที่มีอยู่คือ doxazosin , prazosin    
  • terazosin ยาจะขยายกล้ามเนื้อของหลอดเลือดและของต่อมลูกหมากทำให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น
  • Finasteride ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศชาย testosterone รับประทานวันละครั้ง ยาตัวนี้จะทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลงอาการผู้ป่วยจะดีหลังจากรับประทานไป 6 เดือนผลข้างเคียงของยาคือลดความต้องการทางเพศ
  1. การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดได้แก่  
  • Transurethral Microwave Procedures โดยการใช้ความร้อนจาก Microwave ทำลายเนื้อต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะเรียกการรักษานี้ว่า transurethral microwave thermotherapy (TUMT) การรักษานี้จะทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้นการรักษาวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
  • Transurethral Needle Ablation (TUNA) โดยใช้พลังงานความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุทำลายต่อมลูกหมากการรักษาวิธีนี้ ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
  1.  Ballon dilatation โดยการสวนสายเข้าในท่อปัสสาวะและปลายสายมี ballon เพื่อขยายท่อปัสสาวะส่วนที่ต่อมลูกหมากอยู่ผลคือปัสสาวะจะไหลออกดีขึ้น ข้อเสียอาจจะมีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อ
  2. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโตแต่ก็มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต

  • ปัสสาวะไม่ออก
  • ปัสสาวะล้นไปที่ไตทำให้ไตเสื่อม
  • มีการติดเชื้อปัสสาวะบ่อย
  • มีเลือดออกทางเดินปัสสาวะ
  • มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ

วิธีการผ่าตัดมีกี่วิธี

  1. Transurethral resection of the prostate (TURP) โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยยังคงต้องคาสายสวนปัสสาวะอีก 2-3 วัน
  2. Transurethral incision of the prostate (TUIP) ใช้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากไม่โตมากโดยใช้เครื่องมือใส่เข้าท่อปัสสาวะแล้วกรีดต่อมลูกหมาก 2-3 รอยไม่มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากซึ่งจะลดความดันในต่อมลูกหมากทำให้ปัสสาวะออกง่ายขึ้น
  3. Open prostatectomy ใช้กรณีที่ต่อมลูกหมากโตมากโดยผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้วเอาต่อมลูกหมากออก
  4. Laser Surgery  โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและปล่อยรังสีที่ต่อมลูกหมากความร้อนจากรังสีจะทำลายเนื้อต่อมลูกหมาก

หลังการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

foley cath=สายสวนท่อปัสสาวะซึ่งมีสองหางไว้ล้างกระเพาะปัสสาวะ

หลังการผ่าตัดจะต้องนอนโรงพยาบาล 3-10 วันโดยมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้เพื่อล้างกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากหลังการผ่าตัดจะมีเลือดออกได้หลายวัน หลังการผ่าตัดแผลยังอาจจะหายไม่ดีจึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว
  • เวลาถ่ายอุจาระอย่าเบ่งมาก
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันท้องผูก
  • อย่ายกของหนัก
  • หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

 

โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

  1. หลังจากเอาสายสวนท่อปัสสาวะออกจะรู้สึกปัสสาวะแรงขึ้นและอาจจะมีอาการปวดขัดในช่วงแรก
  2. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นช่วงแรกของการผ่าตัด
  3. อาจจะมีเลือดออกได้ หากปัสสาวะมีเลือดออกไม่หยุดให้ปรึกษาแพทย์
  4. โรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศ ถ้าหากก่อนผ่าตัดอวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้หลังผ่าตัดก็แข็งตัวได้เนื่องจากการผ่าตัดไม่ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลง
  • การหลั่งน้ำเชื้อ ผู้ป่วยเมื่อร่วมเพศและถึงจุดสุดยอดแต่จะไม่มีการหลั่งน้ำออกเนื่องจากน้ำ เชื้อจะไหลกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะซึ่งไม่อันตราย
  • การถึงจุดสุดยอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำการบ้านได้ดีเหมือนก่อนผ่าตัด


ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด