อาการใกล้คลอดของ ลูก สุนัขพันธ์ชิสุ ที่ควรรู้


949 ผู้ชม


การทำคลอด และดูแลสุนัขใกล้คลอด


การทำคลอด
การทำคลอดสุนัข
กำหนดคลอดของแม่สุนัขอยู่ในราว 60-63 วัน หลังจากการผสมพันธุ์การเตรียมจัดที่คลอด จะต้องทำล่วงหน้า
การ ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุนัข ขณะคลอดและหลังคลอด 2-3 วัน นับว่าสำคัญในอนาคตของ ลูกสุนัขมาก ลูกสุนัขได้รับอุณหภูมิจากแม่ของมัน ด้วยความร้อน 101.4 องศาฟาเรนไฮ คือ เท่ากับอุณหภูมิของโลกภายนอก ดังนั้นอาหารที่จะให้แม่มันในวันแรก ๆ ควรจะต้องเป็นอาหาร ที่ก่อให้เกิดความร้อนในตัวมันเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้อาหารประเภทบำรุงความเติบโตแต่อย่างใด อย่างน้อยอุณหภูมิขณะคลอดและหลังคลอด 48 ชั่วโมง ควรจะเป็น 105 องศาฟาเรนไฮแต่จาก นั้นจะลดน้อยลงเรื่อยจนถึงปลายสัปดาห์แรกลูกสุนัขจะมีอุณหภูมิปกติและมีความ สมบูรณ์ ที่คลอดนั้นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องเป็นที่เงียบ อย่าให้มีสุนัขรบกวนได้
สำหรับที่นอนของมัน
ลูก สุนัขนั้นควรเป็นหีบไม้แข็งแรง กว้างใหญ่พอเหมาะแก่จำนวน ลูกสุนัข แต่ถ้าหากเป็นคอกเล็ก ๆ จะใช้หีบขาตะแคงก็เหมาะดีเหมือนกัน ถ้าใช้ชนิดหีบปิดฝาปิดจะ ต้องปิดเปิดได้คล่อง ๆ
พื้นที่นอนคลอด
ควร ปูด้วยกระสอบที่สะอาดหรือวัตถุอื่นซึ่งเวลาไม่ต้องการใช้จะได้ ทำลายเสียเลย โดยปกติแม่สุนัขมักจะชอบกัดแทะเครื่องปูนอนเหล่านี้เพื่อปรับปรุงที่นอนของ มัน ฉะนั้นควรให้แม่สุนัขคุ้นเคยกับที่นอนของมันสัก 1-2 สัปดาห์ก่อนวันคลอด
การออกกำลังให้สุนัข
ขณะ มีครรภ์นับว่าสำคัญมากจะละเลยเสียมิได้จนกระทั่งถึงสัปดาห์สุดท้าย แม้ตัวมันจะหนักอุ้ยอ้ายสักเพียงไร ก็ควรให้เดินในระยะใกล้ ๆ และที่เงียบ ๆ ควรให้เล่นกับสุนัขอื่น ๆ บ้างเป็นครั้งคราวยิ่งใกล้วันคลอดแม่สุนัขจะเริ่มจัดรังนอนของมันด้วยการ กัดสิ่งของที่มันพบอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ฉะนั้นหากจะใช้ผ้าห่มดี ๆ แล้วไม่ควรให้มันในระยะนี้
อาการแสดงว่าจะคลอดนั้นคือ
ช่อง คลอดจะบวมโตและนุ่มจะมีเมือกลื่น ๆ ไหลออกมา สุนัขจะไม่ยอมกินอาหาร และแสดงว่าจะคลอด อาการเช่นนี้จะมาก่อนการคลอดจริงราว ๆ 24 ชั่วโมง
ระยะ ที่ 2 เมื่อการคลอดจะสำเร็จผลก็ต่อเมื่อมดลูกทำการบีบรัดตัวและบีบลูกสุนัขให้ผ่าน จากช่อง คลอดออกมา ขณะนี้แม่สุนัขจะรู้สึกเจ็บปวดยิ่งขึ้นและร้องครวญคราง อาจเป็นเสียงดังหรือเสียง แหลมเป็นระยะ ๆ และก็ดังยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็จะมีเมือกลื่น ๆ ไหลออกจากช่องคลอด ตามธรรมดา ลูกสุนัขจะโผล่หัวและขาหน้าก่อน แต่ก็มีบ่อยที่หางออกก่อนโดยปราศจากความลำบาก เว้นแต่จะเป็น ลูกสุนัขนั้นหัวโต การคลอดในลักษณะอย่างนี้จะทำให้เจ็บปวดและยุ่งยาก ขณะที่หัวสุนัขโผล่ออกมา นั้นเองแม่สุนัขจะได้รับความเจ็บปวดและร้องดัง ตามธรรมดาลูกสุนัขขณะคลอดจะถูกหุ้มอยู่ในถุง เยื่อเหนียว ๆ ซึ่งแม่สุนัขจะกัดเลียเพื่อแยกให้ลูกออกมา แต่ถ้าหากมันทำเองไม่สำเร็จ ผู้พยาบาล ต้องคอยช่วยเหลือมันทันที มิฉะนั้นลูกสุนัขจะตาย
ลูกสุนัขขณะ คลอดออกมาจะยังคงถูกล่ามกับแม่ของมันโดยสายสะดือ ซึ่งติดต่อไปยังรก และรก นี้ก็ออกมาจากช่องคลอดของแม่สุนัข หลังจากลูกสุนัขได้คลอดออกมาแล้ว รกนี้แม่สุนัขจะกินทันที และขบไต่ไปตามสายสะดือ จนกระทั่งเกือบถึงสะดือของลูกสุนัข ถ้าหากแม่สุนัขไม่ทำเช่นนั้นผู้พยาบาล จะต้องรีบตัดสายสะดือให้ห่างสายสะดือของลูกสุนัข 1 คืบด้วยกรรไกรที่สะอาด แล้วมัดด้วยด้าย เหนียว ๆ สายสะดือที่แห้งจะหลุดออกมาพร้อมกับด้ายที่มัดภายในไม่กี่วัน
ต่อจากนั้น แม่สุนัขก็จะเข้าเลียลูกของมันให้แห้ง และในขณะนี้เอง ลูกสุนัขตัวที่อยู่ในท้องก็จะ เคลื่อนออกมา แม่สุนัขก็จะจัดการกับลูกสุนัขเช่นเดียวกับวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนกระทั่ง คลอดเป็น ตัวสุดท้าย บางครั้งลูกสุนัขคลอดมาเร็วมากแม่ของมันไม่ทันที่จะมีเวลาเลียลูกตัวที่ออก ก่อนให้แห้ง ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้พยาบาลต้องใช้ผ้าเช็ดตัวอุ่น ๆ เช็ดให้แห้งแล้วนำไปไว้เสียอีกมุมหนึ่ง อย่างไรก็ดีจะ ปล่อยให้ลูกสุนัขให้เปียกชื้นและหนาวสั่นย่อมเป็นอันตราย ระหว่างคลอดหากแม่สุนัขแสดงอาการ อ่อนเพลีย ควรจะให้นมอุ่น ๆ แก่แม่สุนัขสักหน่อย ในระหว่างที่คลอดลูกยังไม่หมด และเมื่อคลอด หมดแล้ว ก็ควรให้ต่อไปอีกสักถ้วยแล้วจึงปล่อยให้มันนอนกับลูกสัก1-2 ชั่วโมง หลังจากนี้จึงควร ให้ทั้งลูกและแม่สุนัขขึ้นนอนในที่ ๆ มีความอบอุ่นและสงบเงียบ
การดูแลบำรุงเลี้ยง
สัก2-3ชั่วโมง ต่อมา แม่สุนัขก็จะออกจากที่นอนมาถ่ายมูล ขณะนี้ควรให้อาหารน้ำอุ่น ๆแก่มัน ขณะนี้ แม่สุนัขย่อมอยู่ในอาการที่ธาตุไม่ปกติในระหว่างที่ต้องทำการคลอดลูก และถ้าหากมันกินรกเข้าไปด้วย นักเพาะเลี้ยงสุนัขบางท่านไม่ยอมให้แม่สุนัขกินรกหรือเครื่องในของมันเอง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นสัญชาตญาณของสัตว์อย่างหนึ่ง แต่ในการที่มันได้กินอวัยวะภายในสด ๆ ของตัวมันเองเข้าไปเช่นนั้นก็ย่อมได้ รับฮอร์โมนหรือน้ำสกัดของชีวิต
การดูแลภายหลังการคลอด
หลัง การคลอดสัก 2-3ชั่วโมง แม่สุนัขควรได้รับการเอาใจและควรให้ได้กินอาหารเหลว ๆ อุ่น ๆ ถ้ามัน กินรกเข้าไปย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ท้องของมันจะไม่เป็นปกติใน ระหว่าง2-3วันแรกหลังการคลอด มูลที่ถ่ายออกมาจะมีสีดำคล้ายน้ำมันดิน ทั้งนี้เนื่องจากโลหิตที่กินเข้าไป ในระยะวันหรือสองวันแรก ควรสังเกตแม่สุนัขให้ดี เพราะว่าลูกสุนัขยังค้างอยู่ในท้องหรือไม่ ตามที่ทราบกันมาอาจเป็นเช่นนั้นได้ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็จะสังเกตได้ว่า แม่สุนัขจะพยายามเบ่งเหมือนเมื่อทำการคลอดใหม่ ๆ ในกรณีเช่น นี้ให้ไปตามสัตวแพทย์มาทำการผ่าตัดโดยด่วน ผู้ที่มีความชำนาญอาจใช้นิ้วมือที่ชุบยาฆ่าเชื้อแล้วล้วง เข้าไปในช่องคลอดเพื่อทำการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง หากเห็นว่ามีอะไรผิดปกติจะเรียกสัตวแพทย์ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ชักช้า บางทีอาจมีอุปสรรคอันร้ายแรงเนื่องจากตำแหน่งที่ลูกสุนัขติดอยู่นั้นจำ เป็นต้องทำการผ่าตัดเอาออกทันที ในกรณีนี้ การชักช้าอยู่นานเท่าไรก็เป็นอันตรายมากเท่านั้น เป็นธรรมดาที่แม่สุนัขจะมีโลหิตออกมาเปื้อนเปรอะอยู่เป็นเวลาหลายวันหลังการ คลอดแล้ว มันจะค่อย ๆ จางลง ๆ และจะหยุดในปลายสัปดาห์ที่1หรือ2 ตามธรรมดาอุณหภูมิ(ปรอท) จะขึ้นสูงหนึ่งดีกรีหรือ ราว ๆ นั้นหลังคลอดแล้วมันควรจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติในราว 8 ชั่วโมง ต่อมาถ้ามีไข้ขึ้นสูงก็จะแสดง ให้ทราบว่า มีอะไรผิดปกติและต้องคอยตรวจสอบดูแลโดยไม่ชักช้า
การคลอดผิดปกติ
แนะ นำที่ดีที่สุดสำหรับการคลอดที่ไม่ปกติผิดไปจากธรรมดาก็ควรพบให้สัตวแพทย์ ช่วยโดยด่วน ความลำบากในการคลอดอาจเป็นด้วยว่าลูกสุนัขอยู่ในท่าผิดปกติเนื่องจากความ อ่อนแอ การหดตัว ของมดลูก หรือรูปร่างของแม่สุนัขผิดส่วนสัด และอาการเหล่านี้ผู้สมัครเล่นไม่อาจจะแก้ให้หายได้ การกระทำง่าย ๆ บางทีอาจจะทำให้ลูกสุนัขออกมาได้แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีความ รู้ เกี่ยวกับกายวิภาควิทยาและมีความชำนาญในการตรวจรู้ได้ว่าอะไรผิดปกติและ สามารถแก้ไขให้ดีได้ หลักสำคัญยิ่งในการคลอดก็คือให้ตามสัตวแพทย์ ถ้าแม่สุนัขทำการเบ่งจนอ่อนกำลังลง (มีอาการ หอบเบ่ง) มาเป็นเวลาถึง 3ชั่วโมงแล้ว ลูกสุนัขยังไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถุงเยื่อหุ้มโผล่มา และแตกไปแล้ว อาการเช่นนี้ควรจัดการโดยด่วนไม่ว่าเป็นการคลอดลูกสุนัขตัวแรกหรือตัวอื่น ถัดไป ก็ตาม การทอดระยะออกของลูกสุนัขจะห่างกันราว 15ถึง30 นาทีแต่อาจจะออกถี่กว่านี้ก็ได้ การดูแลระหว่างคลอด ควรจะสังเกตุดูด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดีถ้าผิดปกติควรให้ไปตาม หมอสัตวแพทย์ ทันที ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียแม่สุนัขที่ดีไป
ที่มา   doggyzhizu.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด