![]() ไซนัสอักเสบ ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฮัดชิ่ว!!!! จามอีกแล้ว ไออีกต่างหาก แถมปวดบริเวณใบหน้าด้วย ดูท่าจะไม่ใช่แค่เป็น "หวัด" ธรรมดาเสียแล้วล่ะมั้ง เกรงว่าจะเป็น "ไซนัสอักเสบ" แล้ว โรคไซนัส ไซนัสอักเสบ เป็นอย่างไรล่ะเนี่ย รักษาได้หรือไม่ ใครที่มีอาการต้องสงสัย ต้องมาอ่านเรื่อง ไซนัสอักเสบ ที่เรานำมาเสนอกันในวันนี้ค่ะ ![]() มารู้จัก ไซนัส กันก่อนดีกว่า ไซนัส (Sinus) ก็คือโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งเรียกว่า โพรงไซนัส มีทั้งหมด 4 ตำแหน่งเป็นคู่ ๆ คือ ![]() ![]() ![]() ![]() โดย หน้าที่ของ ไซนัส มีส่วนทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น เวลาพูดมีเสียงก้องกังวานขึ้น (เพราะเป็นโพรงอากาศ) และเยื่่อบุของไซนัสและจมูก จะผลิตน้ำมูกเมือกใส ๆ วันละ 0.5-1 ลิตร เพื่อดักจับฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในอากาศที่เราหายใจเข้าไป และเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก ๆ พัดน้ำมูกลงไปด้านหลังของจมูก ผ่านช่องคอ ก่อนกลืนลงไปสู่กระเพาะอาหาร และจะถูกกรดในกระเพาะทำลายเชื้อโรคให้หมดไป ![]() ไซนัส ![]() ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การ เป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ นั่นเอง ![]() โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ![]() คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง ![]() คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายสนิท จะมีอาการปวดตื้อ ๆ มึนงง ร่วมกับคัดจมูกเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวในลำคอตลอดวัน เพราะมูกจากไซนัสไหลลงมาทางจมูกนั่นเอง ประสิทธิภาพในการดมกลิ่น รับกลิ่นของจมูกจะลดลง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น สาเหตุที่ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นผลจากผู้ป่วยได้รับการรักษาไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลันในเวลาที่น้อย หรือสั้นเกินไป หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือมีภาวะผิดปกติเป็นปัจจัยร่วมด้วย เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ พักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ เป็นต้น ![]() ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น ไซนัสอักเสบ ได้แม้แต่เด็กแรกเกิด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป คือ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับไข้หวัดธรรมดา เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ มักจะหายภายใน 7-10 วัน ส่วนอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาจเป็นต่อเนื่องถึง 2-3 สัปดาห์ แต่ความรุนแรงจะลดลง จนหายได้ในที่สุด แต่ ถ้าผ่านไป 10 วันแล้วอาการต่าง ๆ ของไข้หวัด เช่น เป็นไข้หวัด ไอถี่ โดยเฉพาะเวลากลางคืนไม่ดีขึ้นเลย หรือดีขึ้นแล้วกลับมาทรุดลง หรือเป็นซ้ำอีก ที่สำคัญคือปวดบริเวณหน้า ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตามมาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกไหลลงรูจมูก หรือไหลลงคอ หรืออาจปวดตื้อด้านข้างจมูก ใบหน้า ตามมา หากมีอาการเช่นนี้ แพทย์จะตรวจโพรงจมูกและไซนัส โดยใช้กล้องส่องตรวจพิเศษ เพื่อวินิจฉัยอาการ โดยอาการแสดงจำเพราะว่าเกิดไซนัสอักเสบคือ พบมูกหนองที่บริเวณช่องข้างจมูกชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางระบายมูกจากโพรงไซนัสเข้ามาสู่ช่องจมูก และในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเก็บมูกหนองไปเพราะเชื้อตรวจ นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจทางรังสีวิทยาร่วมด้วย โดยการเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพราะจะสามารถบอกรายละเอียดของโรค และโครงสร้างทางกายวิภาคโพรงจมูกและไซนัสได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้วินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับไซนัสอักเสบได้ด้วย ![]() ไซนัสอักเสบ ปกติไม่อันตรายมาก เพียงแค่กินยาก็หาย แต่โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ้างก็คือ ![]() ![]() ![]() แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้ไม่บ่อย นัก ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้ ![]() มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเมื่อเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากไวรัส แจะสามารถหายเองได้ไม่เกิน 7 วัน ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี คือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ อยู่ในสถานที่มีอากาสถ่ายเทดี ออกกำลังกายตามความเหมาะสม ทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมกับทานยาตามอาการ โดยการรักษาโรคไซนัสอักเสบ จะแบ่งเป็นการรักษาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง คือ การรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน รักษาโดย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง หากใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและ กระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคปเข้าช่วย เช่น การเจาะล้างไซนัส เพื่อล้างมูกหนองที่คั่งอยู่ในท่อออกไป หรือการผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส ปัจจุบันการตรวจรักษา และการผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงมาก และมีประสิทธิภาพ ยังคงรักษาสภาพโครงสร้างหลักที่สำคัญของช่องจมูกไว้ได้ในสภาพปกติดังเดิม อีกทั้งผู้ป่วยก็เสียเลือดไม่มาก และฟื้นตัวได้เร็ว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดยทั่วไปคือการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เป็นหวัด โดยพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ รวมทั้งพยายามรักษาสุขภาพของปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ และถ้าเป็นหวัดแล้ว ก็รีบรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ |
ที่มา health.kapook.com |