สรรพคุณของสมุนไพรกระชายดำหมอมวลชน


1,454 ผู้ชม


กระชาย ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง
    ปัจจุบันนี้ประชากรในซีก โลกตะวันตกหันมาตื่นตัวให้ความสนใจกับการแพทย์ทางเลือกกันมากขึ้น และให้ความสนใจเป็นอย่างสูงกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันสภาวะการเกิดโรค จะเห็นได้จากการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมของไทยในปี พ.ศ.2548 ซึ่งทำรายได้ถึง 4 หมื่นล้านบาท
 
    ในปี พ.ศ.2548 นี้กระทรวงสาธารณสุขมีความประสงค์จะผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก โดยมีแผนจะพัฒนาผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยให้เป็นยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพ เพื่อผลักดันสู่ตลาดโลกในยุทธศาสตร์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยเลือกฤทธิ์ตามที่ตลาดโลกต้องการ คือชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน พระเอกของเราในวันนี้คือกระชาย (เหลือง) ธรรมดา อย่าเพิ่งดูถูกไม้พื้นๆ หน้าจืดๆ อย่างนี้ เพราะพระเอกของเรามีคุณสมบัติที่ตลาดโลกต้องการสองประการแรก คือ ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง
    
    ชื่อวงศ์ และถิ่นกำเนิด
    
    กระชายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L) Mansf. วงศ์ขิง Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่นมีมากมาย ได้แก่ กะแอน ละแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีฟู (ฉานแม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    
    
    กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว 1-2 ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะกาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะกับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง
    
    กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหารและยาในประเทศไทยคือเหง้าใต้ดินและราก
    
    ในประเทศจีนมีรายงานการใช้กระชายเป็นยา
    ในประเทศเวียดนามใช้กระชายในการปรุงอาหาร
    ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ 3 ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ
    
    กระชายเหลืองและกระชายแดง เป็น พืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง
    
    ส่วนกระชายดำ เป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. Ex Bak.
    
    การใช้งานตามภูมิปัญญา
    
    เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
    
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในกระชาย
    
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ 1-3) น้ำมันหอมระเหยของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น 1.8-cineol,camphor, d-borneol และ methyl cinnamate
    
    น้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingiberene, zingiberone, curcumin และ zedoarin
    
    นอกจากนี้ ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรซาลโคน boesenbergin A กลุ่ม ฟลาโวน ฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pincocembrin และกลุ่มซาลโคน (ได้แก่ ๒, ๔, ๖-trihydroxy chalcone และ cardamonin)
    
        * ฤทธิ์แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
    น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร
    
    สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง
    
        * ฤทธิ์แก้โรคกระเพาะ
    งานวิจัยระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์พบว่า สารสกัดรากกระชายและสาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
    
    นอกจากนี้ เมื่อใช้สารสกัดจากรากกระชายรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดดังกล่าวนอกจากจะฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคแล้วยังมีฤทธิ์ลดการ อักเสบของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากมีรายงานว่าสาร pinostrobin จากพืชตระกูลพริกไทย (Piper methylsticum) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทั้งในระบบ COX-I และ COX-II จึงอาจอธิบายฤทธิ์ที่เสริมกันได้ดังกล่าว
    
        * ฤทธิ์แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
    งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า สาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก 3 ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes, Microsporum gypseum และ Epidermophyton floccosum และต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาว
    
    งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยอีกครั้งหนึ่ง
    
        * ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ
    การมีอายุที่ยืนยาวน่าจะ มีองค์ประกอบอะไรบ้างในทางการแพทย์ร่างกายที่มีสุขภาพดีน่าจะไม่มีโรคหลอด เลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งและตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี
    
    แง่คิดทางการแพทย์ใน ปัจจุบันเสนอว่า การอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ การเกิดความไม่เสถียรของโคเลสเตอรอลที่สะสมภายในผนังหลอดเลือดทำให้เกิด อาการหัวใจวาย อาการอักเสบเรื้อรังกัดกร่อนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรืออาจกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง จึงมีการศึกษาผลจากการให้สารต้านการอักเสบแก่ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ตัวอย่างได้แก่ การให้แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบแก่ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง และการศึกษาที่พบว่า การบริโภคน้ำมันปลาและแอสไพรินซึ่งต่างมีฤทธิ์ลดไซโตไคน์ที่มาจากการอักเสบ จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ จึงอาจคะเนได้ว่า เนื่องจากรากกระชายมีสาร pinostrobin และ ๕, ๗-dimethoxyflavone ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้
    
    การทดสอบเบื้องต้นของ การใช้สารสกัดจากกระชายต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลอง วิจัยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยความร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ผลการ ทดลองขั้นต้นเป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ภูมิปัญญาไทยใช้ได้ผลในเชิงวิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง
    
    สาเหตุหนึ่งของการ เกิดโรคมะเร็งคือ การที่เซลล์ได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ อันเกิดจากกระบวนการปกติภายในเซลล์ อนุมูลอิสระมีอิเล็กตรอนวงนอกขาดหายไปจึงไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่หรือรังสี ก็อาจก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระได้ ในร่างกายมนุษย์อนุมูลอิสระที่พบมากที่สุดคือ อนุมูลอิสระของออกซิเจน เมื่อทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อเติมอิเล็กตรอนของตัวเองให้ครบจะทำความเสียหายให้ กับดีเอ็นเอและโมเลกุลอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายดังกล่าวจะซ่อมแซมไม่ได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลางไม่ตึงอิเล็กตรอนไปจาก โมเลกุลอื่นในเซลล์
    
    รายงานการวิจัยจาก ประเทศญี่ปุ่นพบว่า สาร alpinetin, pinostrobin, pinocembrin และ ๒', ๔', ๖'-trihydroxy chalcone มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ ฤทธิ์ดังกล่าวไม่สลายไปเมื่อได้รับความร้อน จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง
    
    มีรายงานจากพืชตระกูลข่า (Alpinia rafflesiana) ว่า pinocembrin, pinstrobim และ cardamonin มีฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกายได้ นอกจากนั้นแล้ว pinostrobin ยังมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของมนุษย์ สาร pinostrobin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ topoisomerase I ในกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ ดังนั้น การบริโภครากกระชายจึงอาจลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
    
    รายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่า สารพิโนสโตรบินจากกระชายมีฤทธิ์ เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ
    
        * บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfuntional หรือ ED)
    การแข็งตัวขององคชาตเกิด จากการมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ในอวัยวะดังกล่าวนับเป็นผลจากการคลายตัว ของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า cavernous tissues ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และปัจจัยเฉพาะในอวัยวะดังกล่าว
            สาเหตุ และปัจจัยโน้มนำที่ก่อให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี มีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ความชราภาพ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือความผิดปกติที่ทำให้ระบบประสาททำงานลดลง เนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยโน้มนำดังกล่าวเป็นปัญหาในลักษณะเรื้อรัง หลังจากได้รับการแก้ไข แล้วก็อาจไม่สามารถรักษาโรคอีดีได้
            
            ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีการค้นคว้าอย่างกว้างขวางเพื่อหาแนวทางการรักษาโรคอีดี การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อในส่วนเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้นี้อยู่ ภายใต้การควบคุมของสารเคมีที่ผลิต และหลั่งในบริเวณกล้ามเนื้อเอง และ/หรือโมเลกุลที่ผลิตมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ
            
            ดังนั้นอวัยวะเป้าหมายของการใช้สารเคมีบำบัดจึงแบ่งได้เป็น
            
                1. กลุ่มกล้ามเนื้อเรียบของเนื้อเยื่อองคชาตที่แข็งตัวได้
                2. เนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ผลิตสารเคมีที่ควบคุมการคลายของกล้ามเนื้อดังกล่าว
    
    กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคอีดี จำแนกกลไกและอวัยวะเป้าหมายของการออกฤทธิ์ได้ดังนี้คือ
                1. ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สารต้านโอพิออยด์ (opioid receptor antagonists)
                2. ยาที่มีผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสารสื่อประสาท ได้แก่ ?-adrenoreceptor antagoniats
                3. ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)
    สาร cardamonin และ alpinetin จากพืชตระกูลข่า (Alpinia henryi) มี ฤทธิ์คลายผนังหลอดเลือดแดงมีเซ็นเทอริก (mesenteric arteries) ในหนูแร็ท โดยมีกลไกทั้งที่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าควบคุมโดยไนตริกออกไซด์ และโดยกลไกที่ไม่ขึ้นกับเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งคาดว่าโดยการควบคุมการเข้าออกของแคลเซียม (Ca2+) อย่างไม่เฉพาะเจาะจงและการยับยั้งกลไกการหดตัวที่ขึ้นกับโปรตีนไคเนส-ซี
            ภูมิปัญญา ไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่ม ยารักษาอีดี กลุ่มที่ 3 จึงเห็นว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ขัดกับข้อมูลจากวงการแพทย์ และเนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทย ไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร
        * ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
          
              งานวิจัยจากประเทศกานาพบว่า สาร pinostrobin จากรากและใบของต้น Cajanus cajan มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย
              
              ในประเทศไทยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า สารสกัดคลอโรฟอร์ม และเมทานอลจากรากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
              
              งานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า pinstrobin, panduratin A, pinocembrin และ alpinetin มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด
              
              การใช้งาน
              
              กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักแห้ง รากอ้วนๆ อวบน้ำมีสาระสำคัญน้อยไม่ควรใช้
              
                  o บรรเทาอาการจุกเสียด นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม
                    
                  o บำบัดโรคกระเพาะ กิน รากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
                    
                  o บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่น รากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
                    
                  o แก้ฝ้าขาวในปาก บด รากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
                    
                  o ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำ รากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
                    
                  o แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้ เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
                    
                  o ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระ ชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2
                    
                        รองศาสตราจารย์ซึ่งนักเรียนทุนออสเตรเลีย อายุ 54 กล่าวว่า “อดีต ผมกินเหล้า สูบบุหรี่จัด มันก็เลยเสื่อมๆ ไป ปกติแล้วถึงผมอยากมันก็ไม่เกิดอะไรขึ้น พอกินไปสักวันที่ 3-4 พออยากแล้วมันก็ขึ้นมาเอง ภรรยาเลยไม่ค่อยได้นอนครับ”
                        
                  o ฤทธิ์แก้โรคนกเขาไม่ขัน (โรคอีดี)
                    
                        วิธีที่ 1 ใช้ตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ 3-4
                        
                        วิธีที่ 2 รากกระชาย ตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่เห็นผลกินอีก 2 แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ 1 จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน
                        
                        วิธีที่ 3 เพิ่ม กระชายในอาหร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน
                        
                  o ฤทธิ์บำรุงหัวใจ
                    
                        นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา
                        
                        คน โบราณบอกว่าลางเนื้อชอบลางยา ให้สูตรกระชายไปหลายสูตรแล้ว ถ้าใครถูกกับสูตรไหนกินไปเลย หรือจะเพิ่มการกินขนมจีนน้ำยาหรือแกงป่าใส่กระชายก็ได้ ชนิดที่ไม่ใส่กะทิก็ดี ไขมันจะได้ไม่พอกพูน
                  
ที่มา  mblog.manager.co.th

อัพเดทล่าสุด