เหงือกบวมรำมะนาด เหงือกบวมเกิดจาก อะไร กันนะ(คำตอบ)


1,513 ผู้ชม


โรคในช่องปากที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด

 โรคในช่องปากที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด คือ โรคฟันผุและโรคเหงือก  


        จากการสำรวจสุขภาพช่องปากของคนไทย พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีฟันผุ และเป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยเกิดได้ในทุกช่วงอายุ ไม่แตกต่างกันในระหว่างหญิงหรือชาย คราบจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของฟันผุและโรค เหงือกอักเสบ  ปกติผิวเคลือบฟันของเราจะเรียบเป็นมัน มีสีขาวค่อนข้างขุ่น ผิวฟันที่สะอาด และเรียบจะไม่มีคราบใดๆ ติดอยู่ แต่ถ้าเราแปรงฟันไม่สะอาดพอจะเกิดการสะสม ของคราบอาหารและเชื้อแบคทีเรียบนตัวฟันหรือที่เรียกว่า คราบจุลินทรีย์  

       คราบ จุลินทรีย์นี่เองที่เป็นสาเหตุของฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ติดอยู่ในร่องหรือหลุมบนตัวฟันจะปล่อยสารพิษหรือทอนซิลออกมาทำลายเคลือบ ฟันเกิดเป็นรูผุขึ้นมา เศษอาหารที่มาอุดติดในรูผุก็จะเป็นปัจจัยเสริมให้เชื้อแบคทีเรียทำให้ฟันผุ ลึกยิ่งขึ้น จนทะลุเข้าไปในโพรงประสาทฟัน ทำให้ฟันมีอาการปวดเกิดหนองปลายรากฟัน และทำให้เหงือกบวมได้  


         ส่วนคราบจุลินทรีย์ที่เกิดบริเวณขอบเหงือกจะทำให้เหงือกบวม แดงอักเสบด้วย และเมื่อทิ้งไว้นานเข้า สารแคลเซียม ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในน้ำลายของเรา จะตกตะกอน มาเกาะอยู่บนแผ่นคราบจุลินทรีย์ เกิดเป็นผลึกแข็ง เราเรียกว่า หินปูนหรือหินน้ำลาย ผิวของหินปูนนี้จะไม่เรียบ ก็ยิ่งจะทำให้เหงือกอักเสบเพิ่มขึ้นอีกขณะแปรงฟัน หรือทานอาหารจะมีเลือดออกได้ง่าย ถ้ามีการสะสมของหินปูนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การอักเสบ ของเหงือกก็จะมีมากขึ้น กระดูกที่อยู่รอบตัวฟันจะละลายตัวไป เหงือกบวมมีฝีหนองปลายรากฟัน เกิดเป็นโรคปริทันต์ ฟันจะโยก และในที่สุด ก็จะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป 


        การเกิดโรคเหงือกอักเสบหรือปริทันต์ มักจะเกิดเป็นทั่วทั้งปาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เราต้องเสียฟันไปคราวละหลายซี่ บางคนต้องถอนฟันไปจนหมดปากตั้งแต่อายุน้อยๆ ต้องใส่ฟันปลอม มีปัญหาในการรับประทานอาหาร ทำให้เสียบุคลิกภาพ
       นับว่าคราบจุลินทรีย์เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งเหงือกและฟันโดยตรงทีเดียว   

กำจัดคราบจุลินทรีย์เป็นการป้องกันโรคในช่องปาก 

การกำจัดคราบจุลินทรีย์ทำได้ไม่ยากเลย เพียงทำความสะอาด ด้วยการแปรงฟัน ก็จะสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์อย่างได้ผลที่สุด แต่
ถ้าเป็นคราบหินปูนที่ติดแน่นกับผิวฟัน จะไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ด้วยการแปรงฟัน จำเป็นต้องให้ทันตแพทย์ขูดออก ด้วยเครื่องมือขูด
หินปูน อย่างไรก็ตามเมื่อขูดหินปูนออกไปแล้ว อาจจะเกิดมีขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าแปรงฟันไม่สะอาดพอ 


             คนที่เคยประสบกับการปวดฟันมาแล้ว จะบอกได้ว่าเป็นความเจ็บปวดที่รุนแรง และไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นอีก โรคฟันผุและโรคเหงือก เป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันได้ อย่างง่ายๆ ด้วยการทำความ สะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยการแปรงฟันให้ถูกวิธี เท่านั้นเอง 


           แปรงสีฟันมีความสำคัญมากในการทำความสำอาดเหงือกและฟัน  แปรงสีฟันเป็นเครื่องมือทำความสะอาดฟันที่มีประสิทธิภาพ โดย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม คือควรมีขนาดพอดีกับช่องปากของแต่ละคนไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ขนาดของแปรงสีฟันนั้น ถ้าแบ่งตามอายุของผู้ใช้ เป็นเกณฑ์จะแบ่งออกได้เป็น ชนิดใช้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปี (baby) เด็ก 3-6  ปี (child) เด็ก 6-12 ปี (junior) และผู้ใหญ่ (adult) 


         การแปรงฟันที่ถูกต้องควรแปรงวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าเพื่อ ทำให้ช่องปากสะอาด รู้สึกสดชื่น และก่อนนอนเพื่อกำจัดคราบอาหารที่ เกิดขึ้นระหว่างวัน ส่วนการแปรงฟัน หลังรับประทานอาหารนั้นจะมีความจำเป็นมากสำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือใส่เครื่องมือจัดฟัน เพราะ เศษอาหารติดได้ง่าย แต่สำหรับคนทั่วไปถ้าไม่สะดวกที่จะแปรงฟันหลังอาหาร ก็ควรทำความสะอาดช่องปากและฟันด้วยการบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดแทนได้

ยาสีฟันช่วยให้การแปรงฟันมีประสิทธิภาพดี

ในปัจจุบันมีการโฆษณาเกี่ยวกับยา สีฟันมาก หลายคนจึงเข้าใจว่ายาสีฟันสำคัญที่สุด ในการแปรงฟันที่จะทำให้เหงือกและฟันสะอาดได้ ทั้งที่ความจริงได้พิสูจน์กันมาแล้วว่า สิ่งที่มีผลสำคัญมากกว่า คือ วิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง และแปรงให้ได้อย่างทั่วถึงในยาสีฟันมีการเติมสารต่างๆ เข้าไปเพื่อให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น สารที่สำคัญที่ยาสีฟันทุกชนิด ต้องมี คือ สารฟลูออไรด์ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยให้ฟันมีความแข็งแรง ทนทานต่อการผุได้ดียิ่งขึ้น ส่วนสารตัวอื่นให้ผลแตกต่างกันต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการ เช่น การใช้ยาสีฟันลดการเสียวฟัน เป็นต้น

สุขภาพช่องปากดีมีผลทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง

สุขภาพช่องปากนั้นถือเป็นต้นทาง ของการมีสุขภาพดี คนเราถ้ามีเหงือกและฟันแข็งแรง เคี้ยวอาหารได้ละเอียด ก็มีผลต่อระบบย่อยอาหาร หากมีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อ ในช่องปากก็ย่อมจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายได้ จากรายงานใน ปี 2000 ของสมาคมทันตแพทย์อเมริกา กล่าวว่าโรคเหงือกอักเสบหรือการติดเชื้อในช่องปากจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดอาการ ของโรคหลอดเลือดอุดตันหรือมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ฉะนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต และเป็นหนทางสู่ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงด้วย

โรคในช่องปาก

โรคฟันผุ เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อแข็งของฟัน ได้แก่ เคลือบฟัน เนื้อฟัน เคลือบรากฟัน เมื่อเป็นโรคฟันผุ ในระยะเริ่มแรก ต้องใช้การสังเกตอย่างละเอียด จึงจะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ ชั้นเคลือบฟัน โดยเปลี่ยนจากสีขาวใส เป็นสีขุ่นขาว หรือจุดสีน้ำตาล หรือรอยดำๆ ระยะนี้ไม่มีอาการใดๆ จึงมักถูกปล่อยทิ้งไว้ จนกระทั่ง การผุของฟันลุกลามต่อเนื่อง มีผลให้เนื้อฟันเปื่อยยุ่ย มองเห็นเป็นรูชัดเจน ในระยะนี้ เริ่มมีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟัน หากปล่อยไว้ต่อไป การผุก็จะลุกลามเข้าสู่ โพรงประสาทฟัน ทำให้มีอาการปวดมาก และหากมีการติดเชื้อร่วมด้วย ก็จะเกิดการบวม ที่บริเวณเหงือกรอบๆ ฟัน ฟันผุในระยะแรก เริ่มที่ชั้นเคลือบฟัน จะไม่มีอาการใดๆ เมื่อมีการผุลุกลามไปสู่ชั้นเนื้อฟัน จึงเริ่มมีความรู้สึกเสียวฟัน หรือปวดฟัน เวลารับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำเย็น และถ้าไม่ไปรักษา โดยการอุดฟัน การผุก็จะลุกลาม ลงสู่โพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อ แพร่กระจายออกจากฟัน ไปสู่เนื้อเยื่ออื่นๆ บางครั้งการติดเชื้อนี้ มีการลุกลามไปยังบริเวณที่สำคัญ เช่น ที่ใต้คาง ใต้ตา อาการปวด และบวมจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจมีอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้

โรคปริทันต์  มีตั้งแต่ ภาวะเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ ซึ่งจะแตกต่างกัน โดยดูจากรอยโรคที่เกิดขึ้น คือ โรคเหงือกอักเสบจะมีความผิดปกติ เฉพาะบริเวณของเหงือกเท่านั้น อาการที่พบคือ เหงือกบวมแดง และมีเลือดออกได้ง่าย ส่วนโรคปริทันต์นั้น เมื่อเป็นจะมีการทำลายอวัยวะปริทันต์ ที่อยู่รอบๆ ฟัน คือ เหงือก เยื่อยึดปริทันต์ กระดูกเบ้าฟัน และเคลือบราฟัน ซึ่งเป็นอวัยวะช่วยยึด ให้ฟันอยู่แน่นได้ โดยไม่โยก
      ในระยะที่โรคปริทันต์ลุกลามไปมาก จะมีอาการให้เห็นอย่างชัดเจนคือ เหงือกบวม และมีหนองไหลออกมาจากร่องของเหงือก ฟันมักจะโยก บางครั้งมีอาการปวด และมักจะเป็นกับฟันหลายๆ ซี่ ในช่องปาก 

เหงือกมีเลือดออก การมีเลือดออกจากเหงือก ภายหลังการแปรงฟัน ทั้งที่แปรงสีฟันไม่ได้กระแทกเหงือก ให้เกิดบาดแผลเลยนั้น น่าจะเป็นผลมาจาก การเป็นโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนอง ของเหงือก ต่อสารระคายเคืองจากคราบจุลินทรีย์ ผิวของเหงือกมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาหล่อเลี้ยง หรือมีเลือดคั่งอยู่ที่ผิวของเหงือกมากขึ้น ทำให้เหงือกบวมแดง เนื้อเยื่อที่ปกคลุมผิวเหงือก จึงบางขึ้น และฉีกขาดได้ง่าย ดังนั้น เมื่อได้รับการเสียดสีเพียงเล็กน้อย เช่น การแปรงฟัน ก็จะมีเลือดออก การเป็นโรคเหงือกอักเสบนี้ สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเอง โดยการแปรงฟัน ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน ช่วยทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรค การดูความสะอาดในช่องปาก อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เหงือกกลับคืนสภาพปกติได้

เมื่อเหงือกบวมเป็นหนอง    อาการเหงือกบวม มีเลือดออก และบางครั้งมีหนองไหลออกมา จากร่องเหงือก เป็นอาการของโรคปริทันต์ ในระยะที่ลุกลามมากแล้ว เมื่อตรวดูจะพบว่า ร่องเหงือกมีความลึกมากขึ้น ซึ่งเรียกว่า ร่องลึกปริทันต์ หรือบางทีก็เห็นตัวฟันยาวเพิ่มขึ้นด้วย การรักษา ขึ้นกับอวัยวะปริทันต์ที่อยู่รอบๆ ฟันที่ทำหน้าที่ช่วยยึดฟันให้แน่น ว่าถูกทำลายไปมากน้อยแค่ไหน หากอวัยวะปริทันต์มีเหลือพอ ที่จะช่วยยึดฟัน หมอฟันจะให้การรักษา โดยการทำความสะอาดร่องลึกปริทันต์ บางรายอาจทำการผ่าตัดเหงือกเพื่อลดความลึกของร่องลึกปริทันต์ การรักษาคงต้องไปพบหมอฟันหลายครั้ง สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาได้ผล ตัวผู้ป่วยเอง จะต้องรักษาความสะอาด ของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ แต่หากตรวจพบว่า อวัยวะปริทันต์ถูกทำลายไปมากแล้ว การรักษาคงต้องถอนฟันซี่นั้นออก

แผลในช่องปาก    แผล ในช่องปากที่พบบ่อย ได้แก่ แผลร้อนใน บางทีเรียก แผนปากเปื่อย การเป็นแผลร้อนใน เริ่มจากเป็นรอยบวมแดงๆ 2-3 วัน จากนั้นรอยบวมจะแตกออกเป็นแผล มีลักษณะเป็นรอยหวำตื้นๆ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ มีเยื่อเมือกบางๆ สีขาว หรือสีเหลือง ปกคลุมอยู่ มีขอบแผลเล็กๆ สีแดงล้อมรอบ ขนาดของแผลไม่โตมากนัก โดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่หัวเท่าเข็มหมุด จนถึงมีขนาดใหญ่มาก แผลจะเกิดได้ทั่วไปในช่องปาก ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เนื่องจากมีอาการปวดแสบปวดร้อน ในระยะ 3-4 วัน รอยแผลจะหายได้เอง ใน 7-10 วัน
บางครั้งการใช้ยาสีฟันก็อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ เพราะยาสีฟันบางชนิดมีสารที่ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งพบได้กับคนส่วนน้อย

สาเหตุการเกิด เป็น ไปได้หรือไม่ว่าช่วงก่อนที่เกิดเป็นแผลท่านได้รับความกระทบกระเทือนใด ๆ ในปาก เช่น แปรงฟันผิดจังหวะไปกระแทกโดนเนื้อเยื่อหรือเหงือก การกัดแก้มหรือกัดลิ้นระหว่างเคี้ยวอาหาร การใส่เครื่องมือจัดฟัน ฟันปลอม ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้ 


           การรับประทานอาหารร้อนจัด ๆ ทำให้พุพอง การใช้สารบางอย่าง เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือสมุนไพรแล้วเกิดการระคายเคือง อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ ควรหลีกเลี่ยง
           แผลนี้เกิดร่วมกับการมีไข้หรือไม่ แผลอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ควรไปพบแพทย์ถ้ามีไข้ร่วมกับการเป็นแผลในช่องปาก
           ตรวจร่างกายอย่างละเอียดครั้งสุดท้ายเมื่อใด มีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมีการรับประทานยาใหม่ๆ เป็นไปได้หรือไม่ว่าอาจแพ้ยานั้น
           มีแผลอื่น ๆ ตามร่างกาย หรือมีโรคทางระบบทางเดินอาหารใด ๆหรือไม่
           เคยมีประวัติความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่ เช่น มีใครในครอบครัวเป็นมะเร็ง เคยสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัดหรือไม่

ที่มา  www.i-medipro.com

อัพเดทล่าสุด