วิธีป้องกันเมื่อเป็นโรคหัด - การตรวจหญิงตั้งครรภ์ที่สัมผัสโรคหัดเยอรมัน


923 ผู้ชม


"โรคหัดเยอรมัน" ในหญิงตั้งครรภ์

"โรคหัดเยอรมัน" ในหญิงตั้งครรภ์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ สำหรับทารกในครรภ์ได้ เพราะ โรคหัดเยอรมัน อาจจะส่งผลให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตในครรภ์ได้ โรคหัดเยอรมัน จะสามารถติดเชื้อไปยังทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ผ่านทางรกหรือการคลอดหรือ ผ่านน้ำคัดหลั่งในช่องหรือเลือดของคุณแม่ระหว่างคลอดและทั้งนี้ยังรวมถึงน้ำ นมของคุณแม่หลังจากคลอดเสร็จแล้วด้วย ความรุนแรงของ โรคหัดเยอรมัน นี้จะขึ้นอยู่ที่ความรุนแรงของตัวเชื้อหัดเยอรมันและรวมถึงระยะเวลาในการติด เชื้อและภาวะภูมิคุ้มกันของคุณแม่และตัวทารกเองด้วย เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันดังต่อไปนี้

โรคหัดเยอรมัน


เป็นปัญหาของโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญแม้ว่าจะมีการให้วัคซีนกันแพร่หลายมาก ขึ้น แต่ก็ยังพบการติดเชื้อนี้ในกลุ่มวัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ และแม่ตั้งครรภ์ได้บ่อยนำไปสู่ปัญหาสำคัญ คือ ภาวะทารกพิการโดยกำเนิดจากการติดเชื้อหัดเยอรมัน
เนื่องจากเชื้อหัดเยอรมันเป็นไวรัสที่ติดจากการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่ง จากโพรงจมูกและปากของผู้ติดเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อโรคโดยระยะเวลาแพร่กระจายเร็วคือ 7 วันก่อนผื่นขึ้น จนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น

อาการหัดเยอรมัน


ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ มีไข้ต่ำ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะตาแดง คออักเสบ จากนั้นจะมีสภาพผื่นแดงเล็กๆ และมีต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะตรงบริเวณหลังหูและลำคอนอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการแสดงใดๆ
พบแม่ท้องติดเชื้อหัดเยอรมันได้ประมาณร้อยละ 0.1-0.2 การติดเชื้อจากแม่สู่ทารกสามารถติดต่อได้ขณะแม่ตั้งครรภ์ โดยความรุนแรงของโรคและความพิการของทารกขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ขณะที่มีการติด เชื้อ ซึ่งผลของการติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะแม่ตั้งครรภ์ทำให้เกิดการแห้งทารกเสีย ชีวิตในครรภ์หรือพิการโดยกำเนิดได้ แต่มีบางส่วนที่ไม่พบการติดเชื้อและไม่มีความพิการใดๆ
ความพิการโดยกำเนิดของทารกจะเกิดจะมากที่สุดเมื่อติดเชื้อช่วงไตรมาสแรกของ การตั้งครรภ์พบว่าทารกมีโอกาสติดเชื้อถึงร้อยละ 80 และจะพบทารกติดเชื้อในครรภ์ได้น้อยลง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นถึงประมาณร้อยละ 54 ที่อายุครรภ์ 13-14 สัปดาห์ และร้อยละ 25 เมื่อติดเชื้อหลังไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจะเริ่มมีการส่งผ่านภูมิคุ้มกันจากแม่ไปยัง ลูกได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามการติดเชื้อหัดเยอรมันของทารกในครรภ์มิได้ก่อให้เกิดความพิการ ในทารกทุกราย ซึ่งความพิการโดยกำเนิดของทารกที่พบได้แก่ความผิดปกติทางตา (ต้อกระจก ต้อหิน ตาเล็ก) ความผิดปกติของหัวใจ ความบกพร่องทางการได้ยินทารกเติบโตช้าในครรภ์ ม้ามโตมีเกร็ดเลือดต่ำ ภาวะซีด ตับ รวมทั้งความผิดปกติของโครโมโซม “การป้องกันหัดเยอรมันสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน” ซึ่งความผิดปกติที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อหัดเยอรมันในครรภ์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. กลุ่มที่ปรากฏความผิดปกติขึ้นชั่วคราว จะสามารถพบได้นานถึง 6 เดือนหลังจากคลอด ได้แก่ ตับ ม้ามโต ตัวเหลือง ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเกร็ดเลือดต่ำ ปอดอักเสบ
2. กลุ่มความผิดปกติถาวร กลุ่มความผิดปกตินี้ ได้แก่ ความบกพร่องในการได้ยิน ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด ความผิดปกติทางตา ความผิดปกติทางสมอง รวมทั้งภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งพบได้ร้อยละ 10-20
3. กลุ่มที่ปรากฏความผิดปกติภายหลัง คือไม่มีอาการแสดงขณะแรกคลอดพบได้ประมาณ 1 ใน 3 ของทารกที่มีการติดเชื้อ แต่จะมีอาการแสดงออกภายหลังใน 10-30 ปี
ความผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ความบกพร่องของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ เบาหวาน และภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต รวมทั้งความบกพร่องในการได้ยินและการมองเห็น ความบกพร่องของหลอดเลือดความดันโลหิตสูงโดยความผิดปกติของสมองมักพบในทารก ที่แม่ติดเชื้อตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้ง ครรภ์

โรคหัดเยอรมัน

การวินิจฉัย โรคหัดเยอรมัน


ภาวะติดเชื้อหัดเยอรมันจากอาการต่างๆ นี้ อาจสังเกตเห็นได้ยากมีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอาการแสดงต่างๆ สามารถพบได้ในโรคติดเชื้ออื่นๆ ด้วย ซึ่งแม่ตั้งครรภ์ที่มีประวัติสัมผัสโรคหรือมีอาการคล้ายหัดเยอรมันในช่วง อายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์ ควรได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อหัดเยอรมันเพื่อช่วยในการตัดสินใจดูแลต่อ ไป ในทางปฏิบัตินั้นนิยมใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจระดับของ Immunoglobulin โดยจะส่งตรวจระดับของ Ig M.Specific Antibody ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังผื่นขึ้น และคงอยู่ 4-6 สัปดาห์ ก็จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานการตรวจแยกเชื้อไวรัสโดยตรวจจากน้ำลายและคอได้

การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อหัดเยอรมัน


ในทารกก่อนคลอดมีความสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่สงสัยการติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แล้วผลการตรวจยืนยันในแม่ให้ผลไม่ชัดเจนทำได้โดยการตรวจ IgM ในเลือดลูก การเก็บเลือดจากสายสะดือโดยตรงเนื่องจาก IgM ไม่ผ่านจากแม่สู่ลูก ซึ่งตรวจได้หลังจากแม่ติดเชื้อแล้ว 7-8 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 20-22 สัปดาห์
สำหรับการตรวจจากน้ำคร่ำสามารถทำได้โดยมีโอกาสแท้งน้อยกว่า แต่มีความยุ่งยากในทารกแยกเชื้อไวรัสและความน่าเชื้อถือค่อนข้างต่ำ
สำหรับการตรวจยืนยันทารกแรกคลอดที่สงสัยมักทำในกรณีที่แม่มีประวัติติดเชื้อ หรือได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ในแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมันหรือมีอาการแสดง ควรได้รับการตรวจเชื้อทันที
ในกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อแม่ควรได้รับให้คำแนะนำถึงความเสี่ยงและความ พิการโดยกำเนิดของทารก รวมทั้งตรวจยืนยันการติดเชื้อของทารกโดยตรวจเลือดทารกหรือเจาะน้ำคร่ำ หลังแม่ได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อจริงกรณีที่มีการติดเชื้อของทารกใน ครรภ์ด้วยแม่ควรได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับโอกาสเกิดความพิการโดยกำเนิดของทารก และการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หากการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกสำหรับการให้ Immunoglobulin หลังจากคุณแม่สัมผัสโรคซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าช่วยลดการติด เชื้อของทารกในครรภ์จึงไม่แนะนำให้ฉีดในทารกแรกคลอดที่ไม่มีอาการแสดงใดๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติเพื่อสังเกตอาการและประเมินความผิดปกติที่อาจ เกิดภายหลัง
การป้องกันหัดเยอรมันสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนนะคะ
ที่มา  www.n3k.in.th

อัพเดทล่าสุด