เรื่อง ไวรัสตับอักเสบบีกับการตั้งครรภ์ - เป็นไวรัสตับอักเสบบีมีลูกได้หรือไม่ มีผลอย่างไร


827 ผู้ชม


เป็นไวรัสตับอักเสบบีมีลูกได้หรือไม่
โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เมื่อเป็นแล้วบางคนมีอาการน้อยคล้ายเป็นไข้หวัดธรรมดา บางคนมีอาการมาก ที่สังเกตได้คือตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลียมาก ปัสสาวะสีเข้ม ที่มีอาการมากๆเป็นเพราะตับถูกทำลายมาก อาจถึงเสียชีวิตได้ ถ้าไม่เสียชีวิตบางส่วนที่มีอาการดีขึ้นก็จะมีการสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย บางส่วนก็กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง มีเชื้อไวรัสอยู่ในเนื้อตับและออกมาในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา บุคคลที่เป็นภาวะตับอักเสบเรื้อรังบางทีเรียกทั่วๆไปว่าเป็นพาหะของโรค จริงๆก็คือมีการอักเสบของตับตลอดเวลา อาจมีอาการเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือไม่มีอาการเลยก็ได้ บุคคลเหล่านี้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้สูงกว่าคน ไม่มีเชื้อถึงกว่า 200 เท่า
ตับอักเสบขณะตั้งครรภ์
สตรี ที่ตั้งครรภ์และมีภาวะตับอักเสบบีเรื้อรัง คือตรวจเลือดพบไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือด มีความสำคัญคือ มีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกที่เกิดออกมาได้ และทำให้ลูกเป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังในภายหลังได้มาก ถ้าไม่มีการป้องกัน และเคยมีการสำรวจในประเทศไทยพบสตรีตั้งครรภ์เป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังอยู่ ถึง 8-10 % และพบว่าคนในแถบเอเชียก็เป็นกันมากเหมือนๆกัน คนที่เป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อไปที่คนอื่นได้ด้วย คนไทยที่เป็นผู้ใหญ่และไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันเลย พบว่ามีโอกาสติดเชื้อถึง 50% แต่ส่วนใหญ่จะสร้างภูมิต้านทานได้เองมีส่วนน้อยกลายเป็นเรื้อรังหรือเป็น พาหะ แหล่งแพร่เชื้อคือ คนที่กำลังเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ทั้งที่เป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง ติดต่อทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำอสุจิ และเลือด และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
การถ่ายทอด เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาไปสู่ทารก มีความสำคัญมากเพราะทารกที่ติดเชื้อจากมารดาที่เป็นพาหะมักไม่มีอาการแต่จะ กลายเป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังต่อไป ถ้าแม่มีอาการตับอักเสบบีเฉียบพลันขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสติดไปที่ลูกมากกว่าที่เป็นเรื้อรังหรือพาหะธรรมดา
การติดต่อ โรคของลูกจากแม่ เชื่อว่าเกิดจากได้รับเชื้อจากเลือดของแม่ขณะคลอดหรือหลังคลอด ซึ่งมีการตรวจพบเชื้อไวรัสบี ( HbsAg ) ได้ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด จากการศึกษาพบว่าทารกแรกคลอดมีโอกาสติดเชื้อได้ 35-80%
จะทราบอย่างไรว่าตัวเองเป็นพาหะตับอักเสบบีและติดไปถึงลูกได้
จะ ทราบได้โดยการตรวจเลือดพบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (AbsAg) และถ้าตรวจพบว่ามีสารที่เรียก HbeAg ก็จะติดไปยังลูกได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม การตรวจพบว่าตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือดแม่ขณะตั้งครรภ์ก็มี โอกาสทำให้ลูกที่คลอดออกมาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ และส่วนใหญ่ของทารกที่ติดเชื้อจะเป็นแบบเรื้อรังคือมีภาวะเป็นพาหะไวรัสตับ อักเสบบีในภายหลัง
ถ้าแม่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีจะป้องกันลูกที่เกิดมาได้อย่างไร
เนื่อง จากทารกที่คลอดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีการติดเชื้อจากแม่ในอัตราที่สูงและมีโอกาสเป็นโรคแบบเรื้อรังสูงด้วย จึงมีการทำการป้องกันโดยฉีดสารภูมิต้านทานให้ลูกภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
เพื่อให้ลูกมีภูมิเกิดขึ้นเลยทันที ในขณะเดียวกัน ก็ฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้เองในภายหลังด้วย โดยฉีดเมื่อแรกคลอด , 1 เดือน , 2 เดือน , 6 เดือน และ 12 เดือนตามลำดับ
ถ้าให้วัคซีนในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์จะมีผลเสียต่อทารกในครรภ์หรือไม่
ปัจจุบัน ยังไม่พบมีอันตรายต่อเด็กในครรภ์ สามารถฉีดได้ 3 ครั้ง เหมือนคนทั่วไป คือ ครั้งแรก ต่อไปอีก 1 เดือนและ 6 เดือนตามลำดับ ทั้งนี้หมายความถึงคนที่ไม่มีเชื้อเป็นพาหะและยังไม่มีภูมิต้านทานอยู่
ปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีให้กับเด็กแรกเกิดตามแผน การให้วัคซีนเด็กทุกคนเหมือนกับการป้องกันโรคอื่นๆด้วย
 

อัพเดทล่าสุด