ยาที่ใช้รักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ด้วย สมุนไพรรักษาโรคกรวยไตอักเสบ โดยเฉพาะ


1,245 ผู้ชม


อาการขัดเบา
อาการปัสสาวะลำบาก จำนวนปัสสาวะแต่ละครั้งน้อย ปัสสาวะบ่อยหรือปวดแต่ปัสสาวะไม่ออก ในบางโรคมีอาการปวดท้องน้อย เสียงหรือปัสสาวะขุ่นขาวขุ่นแดงร่วมด้วย สาเหตุของอาการขัดเบามีมาก เช่น หนองใน หนองในเทียม กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่ว ต่อมลูกหมากโต หรือดื่มน้ำน้อย เป็นต้น
 นิ่ว
ก้อนนิ่วแบ่งตามชนิดของสาร เคมีที่มีหลายชนิด ที่พบมาก ได้แก่ นิ่งที่เกิดจากหินปูน นิ่วที่เกิดจากกรดยูริค ซึ่งพบว่า 75-85 % ของผู้ป่วยโรคนิ่วเป็นนิ่วหินปูน ขณะที่นิ่วกรดยูริคพบในผู้ป่วย 5-8 % เท่านั้น
นิ่วหินปูน พบมากทางภาคเหนือและอีสาน ผู้ป่วยเป็นชายมากกว่าหญิง ช่วงอายุของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 30-40 ปี สาเหตุเกิดจากน้ำที่ใช้ดื่มเป็นน้ำกระด้าง ทั้งปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันน้อย กินอาหารที่มีแคลเซียมหรือออกซาเลตสูงเป็นประจำ ขาดสารฟอสเฟตซึ่งมีมากในอาหารพวกโปรตีนหรือต่อมพาราทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป
นิ่วกรดยูริค พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเช่นกัน ประมาณ 50 % ของผู้ป่วย เป็นโรคเก๊าท์หรือมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเก๊าท์
ทั้งนิ่วหินปูนและนิ่วกรดยูริคเกิดขึ้นได้ทั้งในไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีอาการขัดเบา ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปวดเบ่งเหมือนยังถ่ายปัสสาวะไม่หมด บางครั้งปัสสาวะสะดุด และออกมาเป็นหยด อาจมีปัสสาวะขุ่นแดงหรือขุ่นขาว หรือพบว่ามีก้อนนิ่วหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะ ถ้าก้อนนิ่วอุดตันในท่อปัสสาวะ จะทำให้ปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก ถ้าไม่รักษาอาจลุกลามต่อไปเป็นโรคกรวยไตอักเสบและไตวายได้
นิ่วในไต ไม่มีอาการขัดเบา แต่จะปวดท้องด้านใดด้านหนึ่งอย่างรุนแรง ปวดบิดเป็นพักๆและปวดร้าวไปที่หลัง ต้นขาด้านในด้านเดียวกับท้องน้อยที่ปวด ปัสสาวะใสหรือบางครั้งขุ่นแดงในกรณีนิ่วก้อนโตหลุดเองไม่ได้ ต้องผ่าตัด แต่ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้มีอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะและไตวายได้ เช่นกัน
ถ้าสงสัยว่าเป็นนิ่ว มีอาการปวดท้องดังกล่าว แต่ปวดไม่มาก ให้ดูแลตนเองก่อนดังนี้
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ให้ถ่ายปัสสาวะลงกระโถน สังเกตว่าก้อนนิ่วหลุดมาหรือไม่ โดยเฉพาะนิ่วในไต อาการปวดท้องจะหายทันทีเมื่อนิ่วหลุด แต่อาจมีก้อนใหม่ทำให้ปวดใหม่ได้อีก
3. กินยาแก้ปวดประเภทคลายกล้ามเนือ้เรียบ ซึ่งควรซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำ
4. ถ้าอาการปวดมีมาก หรือกินยาแล้วไม่ทุเลาภายใน 6 ชั่วโมง หรือปวดซ้ำอีกควรส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกันนิ่ว
1. ดื่มน้ำวันละมากๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร
2. กินอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณพอควร ไม่น้อยจนเกินไป
3. สำหรับประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นที่มีอัตราในการเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสูง หรือเคยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ควรงดหรือลดการกินผักที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ผักแพว ผักโขม ช้าพลู ใบมันสำปะหลัง ผักเสม็ด หน่อไม้ ผักกระโดน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ อาการที่พบจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยและถ่ายออกครั้งละน้อย ขัดเบา แสบ และเจ็บเสียวช่วงใกล้ปัสสาวะเสร็จ ปัสสาวะอาจขุ่นและเหม็น ถ้าเป็นมากปัสสาวะจะเป็นเลือด โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะสั้น เชื้อผ่านเข้าง่าย สาเหตุเกิดจากการกลั้นปัสสาวะหรือเกิดหลังร่วมเพศ เป็นต้น โรคนี้มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี อาจลุกลามไปเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้
การรักษา
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
การป้องกัน
1. ดื่มน้ำมากๆ
2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
3. การอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายทุกครั้ง ควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนทางทวารหนัก
สมุนไพรขับปัสสาวะเป็น สมุนไพรที่ทำให้จำนวนน้ำที่ขับออกมาจากร่างกายเพิ่มขึ้นมักนำมาใช้กับอาหาร ที่ไม่รุนแรง ซึ่งเกิดจากสาเหตุดังนี้ คือ นิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์แผนปัจจุบันและไม่ต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัด สมุนไพรขับปัสสาวะจะเพิ่มจำนวนปัสสาวะ ทำให้นิ่วขนาดเล็กหลุดออกมา อาจมีผลในการละลายก้อนนิ่วที่มีอยู่ได้บ้าง ฉะนั้นผู้ป่วยโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ โดยเฉพาะนิ่วที่อุดตันทางเดินปัสสาวะบริเวณใดบริเวณหนึ่งไว้ ไม่ควรใช้สมุนไพรขับปัสสาวะ เนื่องจากจำนวนปัสสาวะที่เพิ่มไม่สามารถผ่านส่วนที่อุดตันลงมาได้ ในทางตรงกันข้ามจะทำให้แรงดันในไตหรือทางเดินปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น อาการปวดจะเพิ่มขึ้นและอาจเกิดอันตรายได้ ส่วนอาการขัดเบาที่เกิดจากเนื้อไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อกามโรคบางชนิด เช่น หนองใน ไม่จำเป็นต้องใช้สมุนไพรจำพวกนี้ ควรรักษาที่สาเหตุคือ ใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ สมุนไพรขับปัสสาวะส่วนใหญ่ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ข้อควรระวังสำหรับการใช้สมุนไพรขับปัสสาวะ คือ สมุนไพรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักมีเกลือโปตัสเซียมหรือโซเดียมค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและสตรีมีครรภ์
สมุนไพรในกลุ่มนี้ ได้แก่
กระเจี๊ยบ ใช้ผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) รินเฉพาะส่วนใส ดื่มจนหมดวันละ 3 ครั้ง
ข้อควรระวัง น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ระบาย อาจทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบมีอาการท้องเสียได้เล็กน้อย
ขลู่ ใช้ ต้นสดหรือแห้งทั้งต้น วันละ 1 กำมือ (สด หนักประมาณ 40-50 กรัม ถ้าแห้งหนักประมาณ 15-20 กรัม) ต้มกับน้ำ แบ่งดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง
ชุมเห็ดไทย เมล็ดชุมเห็ดไทยมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์ระบาย แม้ขนาดที่ใช้เป็นยาขับปัสสาวะจะน้อยกว่าขนาดที่ใช้เป็นยาระบาย พบว่าบางคนอาจมีอาการท้องเสียร่วมกับฤทธิ์ขับปัสสาวะได้
ตะไคร้ ใช้ ต้นสด วันละ 1 กำมือ หหรือหนัก 40-60 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้า ฝ่าเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเฉพาะส่วนใสดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา
หญ้าคา ใช้รากและเหง้าสดหรือแห้ง วันละ 1 กำมือ (พืชสดหนัก 40-50 กรัม พืชแห้งหนัก 10-15 กรัม) ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (250 มิลลิลิตร) แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
หญ้าหนวดแมว ใช้ใบและก้านแห้ง ครั้งละ 1 หยิบมือ (4-5 กรัม) ต้มกับน้ำ 1 ขวดน้ำปลา (750 มิลิลิตร) โดยต้มน้ำให้เดือด ใส้หญ้าหนวดแมวแล้วยกหม้อลงจากเตา ปิดฝาหม้อทิ้งไว้ 15-20 นาที รินเฉพาะส่วนใสดื่ม
ข้อควรระวัง
1. ในการปรุงยา ไม่ควรต้มเคี่ยว จะทำให้กลิ่น รส ไม่ดี ถ้าต้มข้นเกินไปจะมีรสขม ทั้งยังทำให้ผุ้ดื่มได้รับยามากกว่าปกติ อาจมีอาการมึนงง คลื่นไส้ เหนื่อย หายใจผิดปกติ ชีพจรเต้นผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจควรระวังให้มากกว่าเป็นพิเศษ
2. อาจใช้ใบหรือต้นสดต้มกินก็ได้ แต่รสชาติจะเหม็นเขียว จะมีรายงานว่าผู้ที่เคยใช้หญ้าหนวดแมวสดหลายราย รู้สึกคลื่นไส้และใจสั่น ฉะนั้นควรใช้ใบที่ตากแดดจนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งนอกจากจะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวแล้ว น้ำยาจะมีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย
3. ควรปลูกและเก็บไว้ใช้เอง เพราะหญ้าหนวดแมวแห้งที่ซื้อจากร้านขายยานั้นมักจะมีใบน้อยแต่มีต้นแก่ปนมา มาก และส่วนใหญ่ใบแก่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง
4. ภายหลังดื่มยาอาจเกิดอาหารระคายคอเล็กน้อย
อ้อยแดง ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง วันละ 1 กำมือ (ลำต้นสดหนัก 70-90 กรัม หรือใช้ลำต้นแห้งหนัก 30-40 กรัม) สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำจะได้ยารสขมๆหวานๆ แบ่งดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา ( 75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง
ที่มา   www.samunpri.com

อัพเดทล่าสุด