วิธีดูแลเมื่อเป็นกรวยไตอักเสบ โรค กรวยไตอักเสบห้ามกินอะไรบ้าง


8,502 ผู้ชม


กรวยไตอักเสบห้ามกินอะไรบ้าง
ไต โรงงานขจัดขยะของร่างกายที่ทรงประสิทธิภาพ คุณรู้บ้างหรือไม่
ไต  เป็นอวัยวะหลักในการคุมสมดุลย์น้ำและเกลือแร่ และการขับถ่ายของเสีย โดยจะกรองของเสีย
จากเลือดเป็นน้ำปัสสาวะ จริง ๆ แล้วตัวขับของเสียและทำลายของเสีย หรือทำลายพิษก็คือตับและไต
ไม่ใช่อุจจาระ อุจจาระเป็นเพียงกากอาหาร  โดยอาหารที่เรารับประทานเมื่อถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซึม
เข้าเลือดจนหมด กากที่เหลือจะถูกเปลี่ยนโดยแบคทีเรียที่ร่างกายเลี้ยงไว้ในลำไส้ใหญ่ และขับมา
เป็นอุจจาระ ส่วนที่ดูดซึมไปนั้น ถ้าเป็นของดี ร่างกายจะนำไปใช้ในการเผาผลาญและซ่อมแซม
เซลล์ร่างกาย ของเสียจากเซลล์หรือสารพิษปนเปื้อนทั้งหลายหรือยาต่าง ๆ ที่เราทาน จะถูกเปลี่ยน
ถูกทำลาย หรือถูกลดความเป็นพิษโดยตับแล้วสารนั้นอาจถูกขับเป็นน้ำดี ทิ้งทางลำไส้ออกมามากับ
อุจจาระ หรือสารนั้นจะกลับเข้าเลือด และถูกกรองออกโดยไต ส่วนใหญ่ของเสียและยาที่เราทานจะ
ถูกขับโดยการลดความเป็นพิษที่ตับและกรองออกทางไต หรือบางตัวจะกรองออกทางไตโดยตรง
ไตของคนเรามี 2 ข้าง รูปร่างเหมือนถั่วแดง และเห็ดหลินจือ ในผู้ใหญ่ไตจะยาวประมาณ 10-13 ซม.
หนักข้างละ 120-170 กรัม ไตอยู่ตรงชายโครงทางด้านหลัง ไตซ้ายอยู่หลังกระเพาะอาหาร ไตขวาอยู่
ข้างหลังตับ ไตจะมีเลือดผ่านประมาณ 20% ของเลือดที่ออกจากหัวใจ ใน 1 นาที หัวใจเราบีบตัวตั้ง
ประมาณ 60-100 ครั้ง ดังนั้น เลือดในตัวคนเราซึ่งมีไม่ถึง 10 ลิตร ก็วนเวียนแล้ววนเวียนเล่าจนต้อง
ผ่านไตถึงประมาณ 1.2 ลิตร ต่อนาที หรือประมาณ 1,728 ลิตร/วัน จากเลือด 1728 ลิตร ไตจะกรอง
และคั้นออกมาเป็นของเสียคือปัสสาวะ วันละประมาณ 1-2 ลิตรนั่นเอง เมื่อเส้นเลือดแดงใหญ่ 1 เส้น
เข้าไปเลี้ยงไต 1 ข้าง เราก็จะเห็นว่า มีเส้นเลือดดำใหญ่ 1 เส้นพาเลือดดีกลับออกมาและมีท่อปัสสาวะ
พาน้ำปัสสาวะออกจากไต ลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะที่ท้องน้อย เหนือกระดูกหัวเหน่า เมื่อปัสสาวะใน
กระเพาะมากพอ อาจจะประมาณ 300-400 มล. เราก็จะปวดปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะออกมานั่นเอง
มาถึงปัญหายอดนิยม คือ โรคไตเป็นอย่างไร ป้องกันอย่างไร รักษาอย่างไร ควรกินอาหารอะไร และ
ห้ามกินอะไร จริงๆแล้ว โรคไตมีหลายชนิด ก่อนอื่นต้องงอแยกความหมายกับคำว่า ไตวาย โรคไตนั้น
อาจจะ มีไตวายด้วยหรือไม่ก็ได้ ไตวาย คือ ความสามารถในการขับของเสียในเลือดลดลง จนมีของ
เสียคั่งในเลือด โดยตรวจวัดง่าย ๆ จากการสูงขึ้นของบียูเอ็น (BUN) และ ครีอาตินีน (CREATINIE
: Cr) ในเลือดโดยสามารถตรวจค่านี้ได้ง่าย ๆ โดยการเจาะเลือดตรวจในโรงพยาบาลทั่วไป
โรคไตที่พบบ่อยในคนไทย ได้แก่ ไตอักเสบ (ซึ่งยังแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด) โรคไตเสื่อมและไตวาย
จากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคไตวายจากยาและสารพิษ โรคนิ่วในไตและท่อไต จะเห็น
ได้ครับว่าไตอักเสบและนิ่วนั้นจะมีไตวายด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ารุนแรงก็อาจจะมีไตวายด้วย ถ้าไม่รุนแรง
ก็ไม่มีไตวาย ถ้าไตวายฉับพลันช่วงแรกแล้วรีบรักษาก็จะกลับปกติได้ แต่ถ้ารักษาข้าก็จะไม่หาย และ
จำดำเนินไปเรื่อยๆ จนเป็นไตวายเรื้อรัง ถ้าเป็นไตวายเรื้อรังแล้วโรคจะดำเนินไปช้าบ้างเร็วบ้าง จนถึง
ไตวายเรื้อระยะสุดท้าย ซึ่งต้องรักษาด้วยการล้างไต ซึ่งการรักษาก็แพงมาก
สาเหตุของไตวายจากบ้านเรา ยังมีสาเหตุจากพืชและสัตว์ เช่น ลูกเนียง ซึ่งถ้าทานดิบ ๆ ในปริมาณ
มากเกิน 5 ลูก รวมกับดื่มน้ำน้อย จะมีอาการเป็นพิษใน 2-6 ชั่วโมง อาการจะคล้ายเป็นนิ่ว คือ ปวด
ท้อง ปวดกระเบนเหน็บ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด เห็ดบางชนิดก็มีพิษเช่น เห็ดตระกูล AMANITA
ถ้ารับประทานจะมีไข้ไตวาย เห็ดพิษนี้นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าอาจจะเป็น สูกรมัททวะ ที่นาย
จุนทะ ถวายพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ทรงรับก็ทรง ประชวรลงพระโลหิตมีเวทนากล้า จากนั้นไม่นาน
ก็ปรินิพพาน พืชบางชนิดก็ถูกนำมาใช้เป็นยาแผนโบราณ เช่น Securidaca Longipedunculata,
Euphorbia Matabenlensis Crotalaria Laburniforia ต้องขอโทษที่หมดหาชื่อไทยยังไม่ได้
นอกจากนี้ ก็มีรายงานสมุนไพรจีน เป็นสาเหตุของภาวะไตวายเรื้อรัง เรื่องสมุนไพรกับไตวาย หมอ
อยากเน้นว่าไม่ใช่ทุกตัว ที่ดี ๆ ก็มีมาก แต่ถ้าทานประจำควรเช็คการทำงานของตับและไตด้วย
การเจาะเลือดตรวจ การทานน้ำดีของปลาคาร์พน้ำจืดก็เป็นพิษต่อไต นอกนั้นก็มาจากงูกัด คือ
งูทะเล งูแมวเซา งูหางกระดิ่ง งูเขียวหางไหม้ งูเสือ งู SAW-SCALE VIPER, งู PUFF ADDER,
งู BOTHROPS JARARACA, งู ANDISTRODON HYPNALE งู BOOMSLANG,
งู DUGITIE, งู GWADAR, งู CRYPTOPHIS NEGRESCENS โดนต่อ แตน ผึ้ง แมงป่อง
แมงมุม แมงกะพรุน ตะขาบ ก็มีรายงานไตวาย
อาการของโรคไตที่ชัดเจนคือบวม ปัสสาวะเป็นเลือดหรือเป็นนิ่วหรือเป็นน้ำลางเนื้อ อาการปวดหลัง
แต่เพียงอย่างเดียวมักไม่ใช่โรคไต มีโอกาสจะเป็นโรคไตไม่ถึง 1% ถ้าเป็นโรคไตจะต้องปวดหลัง
บวกอาหารไข้ หนาวสั่น หรือปวดหลังและมีลักษณะของโรคนิ่ว คือ ปัสสาวะมีนิ่วออกมา หรือปัสสาวะ
เป็นเลือดและน้ำล้างเนื้อ สำหรับโรคไตวายเรื้อรังแรก ๆ ไม่มีอาการ ต่อมาจะเหนื่อยง่าย ซีด เพลีย
อาจมีคลื่นไส้อาเจียนหรือคันตามตัว และอาจจะบวมหรือไม่บวมก็ได้
สำหรับการรักษาและการปฏิบัติตัว ขึ้นกับโรคแต่ละชนิดและความรุนแรง บางทีก็ต้องนอนโรงพยาบาล
และต้องเช็คเกลือแร่ และบียูเอ็น ครีอาตินินกันเกือบทุกวันด้วยการเจาะเลือด และทานยาและถ้า
ไตวายมาก ก็ต้องล้างไตอีกด้วย บางโรคก็ทานยาอยู่ที่บ้านก็ได้ การปฏิบัติตัวก็ขึ้นกับชนิดของโรค
และไม่แน่นอน โรคไตบางชนิดต้องจำกัดไม่ทานเค็มและไม่ทานเกลือโซเดียมสูง แต่บางชนิดกลับ
ให้ทานได้ตามปกติก็มี อาหารที่มีโซเดียมสูงได้แก่ ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และของเค็มทุกชนิด คอร์นเฟลก
เส้นหมี่ซั่ว โปเตโตชิบ เบคอน เนยเค็ม เนยแข็ง มายองเนา ซอสมะเขือเทศ ปลากระป๋อง
โรคไตบางชนิดห้ามทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง ถ้าทานอาจถึงตายได้แบบปุบปับจากหัวใจหยุด
เต้นฉับพลัน บางชนิดก็ทานได้ตามปกติ อาหารที่มีโปตัสเซียมสูง พวกนี้จะมีเกลือโปตัสเซียมเกิน 15
mEq ต่อ 100 กรัม ได้แก่ ถั่วลิสงแห้ง ถั่วเขียว ลูกเกดแห้ง ถั่วแระ ปลาทูน่า ปลากอินทรีย์ เนยถั่ว
ลูกพรุนแห้ง ลดลงมาคือ มีเกลือโปตัสเซียมระหว่าง 10-15 mEq ต่อ 100 กรัม ได้แก่ งา มะขามสุก
ปลาทู ปลาซาดีนกระป๋อง กุ้งแม่น้ำ ปลาสวาย ปลากระพงขาว ลูกเกด ลูกพรุน มะขาม กล้วย มีเกลือ
โปตัสเซียมระหว่าง 5-10 mEq ต่อ 100 กรัม ได้แก่ ฝรั่ง กระท้อน อโวกาโด้ น้อยหน่า แคนตาลูป
ส้มโอ มะละกอ แอบเปิ้ล ที่มีเกลือโปตัสเซียมน้อยกว่า 5 mEq ต่อ 100 กรัม ได้แก่ น้ำส้ม มะม่วง
มะม่วงดอง ส้ม สับปะรด องุ่น แตงโม หรับโรคไตวายเรื้อรัง มีเพิ่มเติม คือ ไม่ควรทานอาหารที่มี
ฟอสฟอรัสสูง คือ นม ถั่ว ดังนั้นการจะได้โปรตีนคุณภาพสูง ก็คือ ทานเนื้อสัตว์นั้นเอง
การป้องกันโรคไต มีทางทำได้ในบางชนิด คือ ถ้าเป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ก็ควรจะรักษา
และไม่ละเลยเมื่อแพทย์นัดไปตรวจ การควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี จะชะลอเวลา
ไตวายไปได้ การไม่ทานเค็มหรือทานเค็มมาก ไม่มีผลต่อการจะเป็นโรคไต การทานยาพร่ำเพรื่อ
หรือทานยาสมุนไพร หรือยาหม้อเป็นประจำ ก็ควรจะเช็คสมรรถภาพของตับและไตเป็นระยะ เพราะ
อย่างที่หมอได้บอกแล้ว ยาทุกชนิดมักจะทำลายที่ตับและขับที่ไต แม้ยาของแพทย์แผนปัจจุบันหลาย
ชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านการอักเสบของข้อ ก็อาจะเป็นพิษต่อไต ทำให้ไตวายได้ ถ้ารับ
ประทานไปนาน ๆ หรือในขนาดที่มากจนเกินไป เพราะยาทุกชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
สำหรับโรคนิ่วในไต ที่เคยมีความเชื่อว่า การทานแคลเซียมมาก หรือทานน้ำกระด้างที่มีแร่ธาตุสูง
จะเป็นสาเหตุของนิ่วนั้น เป็นวามเข้าใจที่ผิด ปัจจุบันนี้ มีการศึกษามากมายในประเทศไทย ในหมู่
บ้านและชุมชนที่มีอุบัติการของนิ่วในไตสูง เช่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า นิ่วจะเกิดได้มาก
ถ้าดื่มน้ำปริมาณน้อย บริโภคอาหารที่สารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ขาดสารอาหาร ไขมัน โปรตีน
แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม และยังมีการศึกษาเพิ่มเติมที่หมู่บ้านหนองจาน ทุ่งขุนน้อย
จ.อุบลราชธานี ซึ่งที่นั่นมีโรคนิ่วในไตสูง ก็พบว่าน้ำที่ใช้ดื่มในหมู่บ้านนั้นเป็นน้ำอ่อน ไม่ใช่น้ำ
กระด้าง มีแคลเซียม แมกนีเซียมน้อยกว่าที่กรุงเทพชัดเจน แม้มีปริมาณฟอสฟอรัส สังกะสีสูงกว่า
ที่กรุงเทพ แต่ก็ยังมีในปริมาณที่ต่ำมาก จึงสรุปได้ว่าน้ำกระด้างไม่ใช่สาเหตุของนิ่วในไต แต่กลับมา
จากการขาดสารอาหาร ดังนั้น การป้องกันที่เหมาะสม คือ ทานน้ำให้พอเพียง และทานอาหารที่มี
ประโยชน์ ไม่ให้มีการขาดสารอาหารและแร่ธาตุ ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด
ไว้สำหรับคนไทยไว้ดังนี้ เด็ก 7-9 ปี ควรได้แคลเซียม ฟอสฟอรัส 800 มก. ต่อวัน ผู้ใหญ่ควรได้
แคลเซียมและฟอสฟอรัส 800 มก. แมกนีเซียม 300 มก. ต่อวัน และสังกะสี 15 มก. ต่อวัน สำหรับ
การทานยาต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคไตนั้น ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์รองรับอย่างชัดเจน
สมุนไพรที่ป้องกันและรักษาโรคไตวาย ยังไม่มี มีแต่ที่เขียนไว้ว่ารักษาขัดเบา คือ กระเจี๊ยบแดง ชา
ตะไคร้ สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง เท่าที่หมอทราบก็มีหญ้าหนวดแมวอีก 1 ตัว ที่ขับปัสสาวะ ในตำรา
แพทย์แผนโบราณ ยังมีเพิ่มอีก คือ รากหญ้าคา รากลำเจียก โคกกระสุน รากมะละกอ รากไม้รวก
รากหญ้าพันงู รากบานไม่รู้โรยดอกขาว สารส้ม อ้อยแดง รากหญ้าขันกาด รากไทรย้อย จะเห็นได้ว่า
โรคไต มีมากมายจริง ๆ ถ้าเราไม่สบาย และไปตรวจและคุณหมอเพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าเราเป็น
โรคไต เพียงแค่นี้ไปขอคำแนะนำจากคุณหมอท่านอื่น ๆ ท่านจะแนะนำอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่
รู้ละเอียดว่าเป็นโรคไตชนิดใดนั่นเอง จึงควรถามคุณหมอให้ละเอียดไปเลยว่า เป็นโรคไตชนิดไหน
มีไตวายด้วยหรือไม่ และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร อาหารอะไรห้ามทาน อาหารอะไรทานได้ และอาหาร
อะไรควรเสาะหามาทาน
ที่มา www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด