ปัญหาทางการพยาบาลโรคกรวยไตอักเสบ เมื่ออาการ กรวยไตอักเสบ ไม่มีไข้


1,389 ผู้ชม


ปัญหาทางการพยาบาลโรคกรวยไตอักเสบ เมื่ออาการ กรวยไตอักเสบ ไม่มีไข้
ลักษณะทั่วไป
หน่วยไต (glomerulus) เป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต ทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออก
มาเป็นปัสสาวะ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่หน่วยไต ทำให้ร่างกายขับปัสสาวะออกได้น้อย มีของเสีย
คั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเม็ดเลือดแดง และสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิด
อาการบวม และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง
สาเหตุ
โรคนี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตา-สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ
(Beta-streptococcus group A) เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ไฟลามทุ่ง พุพองตาม
ผิวหนังประมาณ 1-4 สัปดาห์ (เฉลี่ย 10-14 วัน) โดยทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นที่หน่วยไต ทำให้หน่วยไต
เกิดการอักเสบไปทั่ว นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคเอสเอลอี , ซิฟิลิส , การแพ้สารเคมี (เช่น
ตะกั่ว) เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือน้ำหมาก และจำนวนปัสสาวะ
มักออกน้อยกว่าปกติ อาจพบอาการบวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มักมีอาการปวดศีรษะ   มีไข้
อ่อนเพลีย เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย หรือชัก
สิ่งตรวจพบ
ไข้ หน้าบวม หนังตาบวม เท้าบวมกดบุ๋ม อาจมีอาการท้องบวม ปัสสาวะขุ่นแดง และตรวจพบสาร
ไข่ขาว (albumin) ขนาด 1+ ถึง 3+ อาจมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
อาการแทรกซ้อน
อาจมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ จนเกิดอาการทางสมอง เช่น ชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัวบางรายอาจพบ
ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ใช้เครื่องฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation)
มีอาการหอบเหนื่อยและเกิดภาวะหัวใจวาย   อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย   ซึ่งร้ายแรงถึงตายได้
การรักษา
1.หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจปัสสาวะซึ่งจะพบเม็ดเลือดแดงเกาะกันเป็นแพ
(red blood cell cast) และพบเม็ดเลือดขาวอยู่กันเดี่ยวหรือเกาะกันเป็นแพ และตรวจเลือด
อาจพบความผิดปกติต่าง ๆ เช่น สารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง ซึ่งแสดง
ว่าไตขับของเสียไม่ได้เต็มที่ควรให้การรักษา โดยให้นอนพักผ่อน งดอาหารเค็ม ให้ยาปฎิชีวนะ
ได้แก่ เพนวี   หรือ อีริโทรไมซิน ,ให้ยาขับปัสสาวะ (เช่น ลาซิกซ์) และยาลดความดัน
2. ถ้ามีอาการชักหรือหอบ ให้ฉีดไดอะซีแพม และลาซิกซ์ 1/2-1 หลอด เข้าหลอดเลือดดำ แล้ว
ส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อแนะนำ
โรคนี้ส่วนใหญ่ (ประมาณ 95%) จะหายได้ อาการทั่วไปจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ควรตรวจ
ปัสสาวะ ตรวจปัสสาวะบ่อย ๆ ต่อไปอีกหลายเดือน ประมาณ 2% อาจกลายเป็นเรื้อรัง และ 2%
อาจตายระหว่างที่มีอาการ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง
การป้องกัน
เมื่อเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หรือแผลพุพอง ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้
เกิดโรคหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน
รายละเอียด
เป็นหน่วยไตอักเสบ ควรให้แพทย์ตรวจปัสสาวะบ่อย ๆ
ที่มา  www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด