วิธีดูแลตัวเองโรคกรวยไตอักเสบ ที่ ตั้งครรภ์ กรวยไตอักเสบ ทำไงได้บ้าง


1,324 ผู้ชม


กรวยไตอักเสบ กรวยไตเป็นส่วนหนึ่งของไต ซึ่งเป็นที่รวมของปัสสาวะที่กรองออกมาจากไตก่อนจะผ่านไปยังท่อไต และลงไปที่ท่อปัสสาวะ กรวยไตอาจเกิดการอักเสบทั้งแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นอาการแบบเฉียบพลัน โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute pyelonephritis) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยเบาหวานหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ชายสูงอายุที่เป็นต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก และเป็นโรคซึ่งอาจจะทำให้มีการทำลายของเนื้อไตได้ในภายหลัง จนถึงกับเกิดมีภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยโรคไตถ้าไม่เข้ารับการรักษาที่ถูก ต้องโดยเร็ว บัคเตรีที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ อีโคไล, สแตฟฟิลค็อกคัส ออเรียส, โพรเทียส วัลการิส, เชื้อสูโดโมแนส, สเตร็พโตค็อกคัส ฟีคาลิส, เชื้อโกโนค็อกคัส

โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลันเกิดจาก การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ มักจะมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย กรวยไตที่อักเสบเฉียบพลันส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง คนที่เป็นมักจะมีอาการของไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง เคาะเจ็บบริเวณหลัง และเอว มักจะมีปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย แสบ หรือขัด และมีปัสสาวะขุ่นร่วมด้วย หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อจะตรวจปัสสาวะ เพื่อนำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อโรคที่อยู่ในปัสสาวะ รวมทั้งจะต้องรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากอาการไม่มากก็อาจรักษาโดยการรับประทานยาฆ่าเชื้อได้ แต่ถ้ามีอาการมากจำเป็นจะต้องนอนในโรงพยาบาล และฉีดยาฆ่าเชื้อเข้าเส้นเลือด การที่เราปล่อยให้มีกรวยไตอักเสบ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงที อาจมีอันตรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิง เนื่องจากท่อปัสสาวะ และทวารหนักอยู่ใกล้กันมากกว่าผู้ชาย เชื้อจึงมีโอกาสแปดเปื้อนเข้าไปในท่อปัสสาวะได้ง่าย นอกจากนี้ พบว่ามีปัจจัยเสริมให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นก็คือ การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต ในชายผู้สูงอายุ กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานในผู้ป่วยอัมพาต การตั้งครรภ์หรือมีก้อนในช่องท้อง ไปกดทางเดินปัสสาวะการอุดกั้นของปัสสาวะ เป็นต้น ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ(เช่น ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยที่กินยาสเตียรอยด์ติดต่อกันนานๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อที่กรวยไตมากกว่าปกติ

สาเหตุ

  1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่เชื้ออีโคไล ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในอุจจาระของคนทั่วไป
  2. คำว่าไตอักเสบหมายถึง มีการอักเสบของเนื้อเยื่อของไต อาจเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าไปก่อเหตุ หรือเกิดเนื่องมาจากปฏิกิรียาของร่างกายที่สร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อไตไป กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ โดยไม่มีเชื้อโรคเข้าไปเกี่ยวข้องก็ได้ โรคไตอักเสบเหล่านี้มีผลแทรกช้อนและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อพูดถึงไตอักเสบจะต้องแยกแยะให้ได้ว่าหมายถึงชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะโรคต่างๆ กันไป เช่น กรวยไตอักเสบ หน่วยไตอักเสบ โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น
  3. กรวยไตเป็นส่วนที่อยู่เหนือสุด ของท่อไต ซึ่งยื่นเข้าไปในเนื้อไต มีรูปร่างเป็นรูปกรวย เมื่อมีเชื้อโรคผ่านขึ้นทางท่อไตเข้ามาอยู่ในกรวยไต ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อไตรอบๆ กรวยไต เรียกว่ากรวยไตอักเสบ
  4. เชื้อโรคจะเข้าสู่กรวยไต โดยเริ่มจากการแปดเปื้อนที่ผิวหนังรอบๆ ปัสสาวะ ผ่านกระเพาะปัสสาวะ ย้อนขึ้นไปตามท่อไต เข้าไปในกรวยไต แล้วเชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนก่อให้เกิดโรคขึ้นมา

อาการ

  1. ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่นมาก ต้องห่มผ้าหนาวๆ หรือหลายๆ ผืน ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มักมีอาการปวดท้อง ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง และปัสสาวะขุ่น
  2. บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะแสบขัด และออกกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
  3. ผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่นอย่างมาก ต้องห่มผ้าหนาๆ คล้ายอาการของไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน และมีอาการหนาวสั่นได้วันละหลายครั้ง
  4. มักมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวหรือสีข้างเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณที่ปวดจะมีความรู้สึกเจ็บจนสะดุ้งโหยง
  5. ปัสสาวะขุ่นขาว บางครั้งอาจข้นเป็นหนอง

การวินิจฉัย

เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการ ตรวจพบอาการเคาะเจ็บตรงบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง โดยการใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบั้นเอว 2 ข้าง จะพบว่าบั้นเอวข้างที่ตรงกับไตปกติทุบไม่เจ็บ แต่ข้างที่มีกรวยไตอักเสบจะทุบเจ็บจนผู้ป่วยรู้สึกเสียวสะดุ้ง นอกจากนี้ เมื่อขอให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะใส่ขวดหรือถ้วย จะพบว่าปัสสาวะมีลักษณะขุ่น

แพทย์มักจะทำการยืนยันการ วินิจฉัยโดยส่งปัสสาวะส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบปริมาณเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ บางครั้งแพทย์อาจส่งปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อที่ก่อโรค ในรายที่สงสัยว่าเป็นนิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต หรือมีภาวะผิดปกติของทางเดินปัสสาวะอื่นๆ ก็อาจต้องทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เป็นต้น

การรักษา

  1. นอกจากให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ (กรณีที่ผู้ป่วยกินไม่ได้ หรืออาเจียน) แล้ว แพทย์จะให้ยาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคนี้ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะในการจำกัดเชื้อก่อโรค ที่นิยมใช้ เช่น ciprofloxacin, ofloxacin, coamoxiclave, cotrimoxazole นาน 14 วัน
  2. ในรายที่มีการรุนแรง หรืออาเจียน กินอะไรไม่ได้ แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล จะให้น้ำเกลือ และฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น gentamicin, cephalosporin จนกว่าอาการดีขึ้นจึงจะเปลี่ยนมาใช้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน
  3. แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่ม น้ำมากๆ เพื่อช่วยขับเชื้ออกทางปัสสาวะ บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารพวกโปรตีน พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. หลังจากอาการทุเลาจนหายเป็นปกติ แล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อหลงเหลืออยู่หรือกลายเป็นกรวยไตอักเสบ เรื้อรัง
  5. ภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้าย แรง ได้แก่ ภาวะไตวาย ทำให้ร่างกายขับน้ำและของเสียออกจาร่างกายไม่ได้ และภาวะโลหิตเป็นพิษ เชื้อแพร่เข้ากระแสโลหิต กระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
  6. ผู้ป่วยอาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบ เรื้อรังโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ หลังจากหายจากาอาการกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะรู้สึกแข็งแรงเป็นปกติทุกอย่าง แต่ความจริงอาจมีการติดเชื้ออักเสบของไตอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง ซึ่งจะไม่มีอาการผิดปกติให้สังเกตเห็น จำเป็นต้องทำการตรวจปัสสาวะจึงจะทราบว่าเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง หากไม่ได้ตรวจปัสสาวะและผู้ป่วยนึกว่าหายดีแล้ว ก็จะปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการรักษากำจัดเชื้อให้หมดสิ้น ไตที่อักเสบเรื้อรังก็จะค่อยๆ เสื่อมจนกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด ซึ่งมักจะมีความยุ่งยากในการรักษาและอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

การดำเนินโรค

  1. หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจมีภาวะไตวายหรือโลหิตเป็นพิษแทรกซ้อนภายในเวลาไม่นาน
  2. หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการไข้จะค่อยๆ ทุเลาภายใน 2-3 วัน แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะต่อจนครบ 14 วันเป็นอย่างน้อย จึงจะกำจัดเชื้อให้หมดไป
  3. หลังจากหายเป็นปกติแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาซ้ำเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

การป้องกัน

  1. ดื่มน้ำมากๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เชื้อที่แปดเปื้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะถูกขับออกไป
  2. ไม่อั้นปัสสาวะ การอั้นปัสสาวะจะทำให้เชื้อที่แปดเปื้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะมีการบ่งตัว เพิ่มจำนวนและย้อนขึ้นไปถึงกรวยไตจนเกิดโรคได้
  3. หลังถ่ายอุจจาระ ควรทำความสะอาดโดยการใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดโอกาสที่จะแปดเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของทวารหนัก หากเช็ดจากด้านหลังมาด้านหน้าก็อาจทำให้เชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
  4. เมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลามขึ้นไปที่กรวยไต

โรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

  1. โรคกรวยไตและไตอักเสบเรื้อรัง เป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของภาวะไตวายเรื้อรัง และเป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในโรคระบบทางเดิน ปัสสาวะ
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะกรวยไตและ ไตอักเสบเรื้อรังอาจไปพบแพทย์ในหลายลักษณะด้วยกัน คือ อาจจะไปพบแพทย์ด้วยโคความดันเลือดสูง และอาการแสดงถึงการมีโปรตีนในปัสสาวะ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นใด การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะในปัสสาวะแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอาการ เช่น ตรวจพบเมื่อทำการตรวจร่างกายเพื่อทำงานหรือประกับชีวิต อาการไข้เป็นๆ หายๆ ร่วมกับอาการทั่วๆ ไปที่ไม่แน่นอน และการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ อาการภาวะไตวานเรื้อรังอย่างมากโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นใดนำมาก่อน และผู้ป่วยอาจจะไปหาด้วยเรื่องอาการไข้ ปวดที่บริเวณหลัง ปัสสาวะขัด มีโปรตีนในปัสสาวะร่วมกับอาการทั่วๆ ไปที่ไม่แน่นอน
  3. การวินิจฉัยโรคที่สำคัญ อาศัยอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันเลือดสูง หรือมีอาการแสดงโปรตีนในปัสสาวะโดยที่ไม่มีอาการ ควรคำนึงถึงโรคนี้และพยายามสืบค้นหาสาเหตุดังกล่าวเสมอ การตรวจปัสสาวะมักพบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ มีเม็ดเลือดขาวเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนของบัคเตรีในปัสสาวะมากเกินปกติ การสืบค้นพิเศษอื่นๆ ที่อาจทำได้ ได้แก่ การหาอัตราการขับถ่ายของเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะการนำปัสสาวะมาตรวจทางจุล ชีววิทยา เช่น การเพาะเชื้อ การถ่ายภาพรังสีของไต การทำการเจาะตัดเนื้อไตจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรค รวมทั้งอาจจะนำมาเพาะเชื้อทางจุลชีววิทยาได้อีกด้วย
  4. การรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาสาเหตุโดยการให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อเป็นเวลานานพอสมควรการรักษา อื่นๆ เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง เช่น การรักษาภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ที่มา  www.bangkokhealth.com

อัพเดทล่าสุด