การตรวจโรคทางเดินอาหาร พร้อม รูปโรคทางเดินอาหาร ให้เห็น


882 ผู้ชม


การวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy) หรือที่เรียกว่า "วีดีโอแคปซูล" นับเป็นความล้ำหน้าด้านวิทยาการทางการแพทย์ครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยแนวใหม่
เกี่ยว กับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ซึ่งสามารถรายงาน และแสดงผลการวินิจฉัยได้อย่างละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และ
มีประสิทธิภาพสูงสุดในวงการแพทย์ทางเดินอาหารในปัจจุบัน


วีดีโอแคปซูลมีขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยที่ง่าย สะดวก และปลอดภัยต่อคนไข้
แพทย์ สามารถนำผลการวินิจฉัยไปประกอบการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป ปัจจุบันได้มีใช้วีดีโอแคปซูลอย่างแพร่หลายใน 33 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ

  1. imageระบบการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนแค็ปซูลที่
    ได้รับความนิยมในขณะนี้มีชื่อเรียกว่า
    M2A (mouth-to-anus) Capsule Endoscopy พัฒนาโดยบริษัท Given Imaging ประเทศอิสราเอล ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากองค์การอาหาร และ
    ยาประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2001
  2. วีดีโอแคปซูลเป็นเครื่องบันทึกภาพขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายเม็ดยา มีขนาด 11 x 26 มิลลิเมตร หนัก 3.7 กรัม ปลายแค็ปซูล
    มน โค้งเป็นพลาสติกใส เลนส์ และตัวยึดเลนส์ อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสง LED สารกึ่งตัวนำชนิด CMOS แบตเตอรี่ และแผง IC ขนาดจิ๋ว รวมทั้งเสาอากาศซึ่งจะเป็นตัวส่งสัญญาณภาพ
  3. ชุดสายอากาศรับส่งสัญญาณทำหน้าที่รับสัญญาณจากแคปซูล ก่อน ส่งสัญญาณต่อไปยังชุดเข็มขัดที่ติดตั้งเครื่องบันทึกภาพ และข้อมูลไว้ จากนั้นนำมาถ่ายทอดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการอ่านในลักษณะของภาพต่อเนื่อง
  4. สามารถถ่ายภาพประมาณ 2 ภาพต่อวินาที ความ ละเอียดของภาพ 256 x 256 พิกเซล เริ่มบันทึกภาพตั้งแต่ในช่องปากจนถึงระยะดวลาที่แบตเตอรี่หมดพลังงานเฉลี่ย ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลานานเพียงพอที่จะตรวจลำไส้เล็กได้ทั้งหมด
image

ข้อบ่งชี้สำหรับการตรวจวีดีโอแคปซูล

  1. imageตรวจค้นหาสาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
  2. วินิจฉัยหาสาเหตุการอุดตันของลำไส้ที่ไม่สมบูรณ์
  3. ประเมินขอบเขตของโรคลำไส้เล็กอักเสบ
  4. ช่วยวินิจฉัยภาวะผิดปกติอื่นๆของลำไส้เล็ก

ข้อห้ามสำหรับการตรวจวีดีโอแคปซูล

  1. หลอดอาหารตีบหรือภาวะที่มีการกลืนผิดปกติ
  2. ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
  3. ภาวะลำไส้เล็กอุดตัน
  4. ผู้ป่วยไม่ร่วมมือหรือปฏิเสธการผ่าตัด
image

ขั้นตอนการตรวจ

  1. imageขั้นตอนการวินิจฉัยเริ่มจากการให้คนไข้กลืนแค็ปซูลพร้อมน้ำ โดยไม่ต้องเคี้ยว
  2. หลังจากขั้นตอนนี้แล้วแค็ปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบ
    ทางเดินอาหาร คล้ายยานกระสวยขนาดจิ๋วติดตั้งกล้องบันทึกภาพ และไฟ
    กระพริบส่องสว่าง ท่องไปตามเส้นทางวิบาก และคดเคี้ยวในระบบทางเดินอาหาร
  3. โดย เริ่มจากปาก ไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กตอนต้น ลำไส้เล็กตอนกลาง ลำไส้เล็กตอนปลาย ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ กระพุ้งimageแรก ของลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้แค็ปซูลดังกล่าวจะมีแสงไฟกระพริบส่องสว่าง 2 ครั้งต่อวินาที พร้อมบันทึกภาพส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร และจะส่งสัญญาณภาพต่อไปยังชุดสายอากาศรับส่งสัญญาณที่ติดไว้บริเวณหน้าท้อง คนไข้รวม 8 จุด
  4. จาก นั้นสัญญาณดังกล่าวนี้จะส่งต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ในเครื่อง บันทึกภาพ และข้อมูล ที่ถูกติดตั้งไว้กับเข็มขัดรัดเอวคนไข้นั่นเอง ซึ่งจะใช้เวลาในการวินิจฉัยนี้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
  5. ระหว่างนั้นคนไข้สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ตามปกติ
  6. ก่อนที่แค็ปซูลจะถูกถ่ายออกมาทางอุจจาระตามปกติ และจะไม่นำแค็ปซูลดังกล่าวกลับมาใช้อีก
  7. เมื่อ เสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพ และข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป

พัฒนาการของเครื่องมือ

  1. เทคโนโลยี Capsule Endoscopy (CE) ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นโดยแพทย์ชาวอิสราเอลชื่อ Dr.Gavriel Iddan เมื่อปี ค.ศ. 1981 และใช้เวลานานถึง 20 ปีในการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องมือ และชุดวัสดุอุปกรณ์
  2. จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ได้จริงและได้รับการอนุมัติขึ้นจดทะเบียนจากองค์การอาหาร และยาประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2001
  3. ข้อจำกัดของเครื่องมือรุ่นแรกอยู่ที่การระบุตำแหน่งที่แน่นอนของพยาธิสภาพที่ตรวจพบ
  4. ทางบริษัท ผู้ผลิตจึงพัฒนารุ่นที่สอง มีชื่อเรียกว่า M2A Plus และพัฒนาซอฟแวร์รองรับอุปกรณ์เวอร์ชั่นใหม่ชื่อ RAPID 1.4 software จนสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้อย่างสิ้นเชิง และได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้
image

วิธีอื่นๆ สำหรับการศึกษารอยโรคในลำไส้เล็ก

  1. imageการใช้กล้องส่องเข้าไปในลำไส้เล็ก
  2. วีดีโอแคปซูล
  3. การใช้ภาพทางรังสีวิทยา เช่น การกลืนแป้ง
  4. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ข้อบ่งชี้ในการพิจารณาส่งตรวจลำไส้เล็ก

  1. เลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
  2. ซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
  3. ภาพรังสีวิทยาผิดปกติ
  4. การดูดซึมในทางเดินอาหารผิดปกติ
  5. การตรวจหาเนื้องอกในลำไส้เล็ก
  6. เพื่อวินิจฉัยโรคลำไส้เล็กบีบตัวผิดปกติ
  7. การตรวจเพื่อเฝ้าระวังเนื้องอกในลำไส้เล็กที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้
  8. การประเมินปัญหาท้องเสียเรื้อรัง
  9. การวินิจฉัยหาสาเหตุการอุดตันของลำไส้ที่ไม่สมบูรณ์
imageที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
 

อัพเดทล่าสุด