รวม ชื่อโรคทางเดินอาหาร และ สาเหตุโรคทางเดินอาหาร ที่ใหญ่ๆที่ควรรู้!!


1,057 ผู้ชม


ชื่อโรคทางเดินอาหาร ที่ควรรู้ไว้
ไข้หวัดใหญ่ Influenza
ลักษณะทั่วไป
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากใน
ช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก   พบเป็น
สาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่
ที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบาง
ครั้งก็อาจจะผิดพลาดได้
สาเหตุ
เกิดจาก เชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส (Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ใน
น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัส
ถูกมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่แปดเปื้อนเชื้อ (เช่นเดียวกับไข้หวัด)   ระยะฟักตัว 1-4 วัน
เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ ๆ เรียกว่า ชนิด เอ, บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ
ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วก็จะมี
ภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทานพันธุ์อื่น ๆ ได้ จึงอาจติดเชื้อจากพันธุ์ใหม่ได้อีก เชื้อ
ไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิด การระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรค
ที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อของประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (เรียกสั้น ๆ ว่า
ไข้หวัดฮ่องกง หรือ หวัดฮ่องกง), ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์ เป็นต้น
อาการ
มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก (โดยเฉพาะ
ที่กระเบนเหน็บ ต้นแขนต้นขา) ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บในคอ
คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้
มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่ มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน
แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลีย อาจจะเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลา
แล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่ แล้วอาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่อง
จากมีอาการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน   ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน
สิ่งตรวจพบ
ไข้ 38.5-40 ํซ หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย (ทั้ง ๆ ที่
ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ
อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ , หูชั้นกลางอักเสบ , หูชั้นใน
อักเสบ , หลอดลมอักเสบ, หลอดลมพอง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิด
จากแบคทีเรียพวก นิวโมค็อกคัส หรือ สแตฟฟีโลค็อกคัส (เชื้อชนิดหลังนี้ มักจะทำให้เป็นปอด
อักเสบร้ายแรงถึงตายได้)
ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็กเล็ก คนสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน คนที่สูบบุหรี่จัด หรือ
ผู้ป่วยที่มีโรคของปอดเรื้อรัง
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงตายได้นั้น นับว่าน้อย
มาก มักเกิดในเด็กเล็ก หรือคนสูงอายุที่ร่างกายอ่อนแออยู่ก่อน
การรักษา
1. ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักมาก ๆ ห้ามตรากตรำ
งานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวหรือ ประคบด้วยแผ่นประคบเย็น เวลามีไข้สูง กิน
อาหารอ่อน (ข้าวต้ม โจ๊ก) ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มาก ๆ ให้ยาลดไข้แก้ปวด  (ในเด็ก
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน) ยาแก้ไอ  เป็นต้น
2. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจาก
เชื้อแบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลดสีเหลืองหรือเขียว, ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ , หลอด
ลมอักเสบ  เป็นต้น ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี , อะม็อกซีซิลลิน   หรือ อีริโทรไมซิน
3. ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุหรือเด็กเล็ก ควรส่งโรง
พยาบาลด่วน ถ้าพบว่าเป็นปอดอักเสบ ควรให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง ส่วนมากให้การดูแลรักษาตามอาการ ก็หายได้เองภายใน 3-5 วัน
ข้อสำคัญ ต้องนอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ และห้ามอาบน้ำเย็น ถ้าไข้ลดลงแล้วควรอาบน้ำอุ่นอีก 3-5 วัน
ในรายที่ไม่ได้พักผ่อน หรือตรากตรำงานหนักอาจหายช้า หรือมีภาวะแทรกซ้อน
2. อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก
ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย, ตับอักเสบจากไวรัส , ไข้เลือดออก, หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการ
เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากกฏให้เห็นก็ควรให้การรักษาตามโรคที่สงสัย ถ้าหากมีไข้นานเกิน 7 วัน มักจะ
ไม่ใช่ ไข้หวัดใหญ่ แต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย , มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็น
ไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน
3. ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อย
มาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน
การป้องกัน
การป้องกัน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด
ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกันได้นานประมาณ
12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไปถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีน
ให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่หลายพันธุ์เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ว่าในการระบาดครั้งต่อไป จะเกิดจากเชื้อชนิดใด ในแง่ปฏิบัติ จึงไม่นิยมฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กัน
รายละเอียด
ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายกัน และให้การรักษาแบบเดียวกัน ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้
ไม่เกิน 7 วัน
bar5.jpg (6486 bytes)
 
 
การอักเสบภายในลำคอและต่อมทอนซิล Pharyngitis/Tonsillitis
ลักษณะทั่วไป
การอักเสบภายในลำคอและต่อมทอนซิล มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้มี
ไข้สูงและเจ็บคอ คออักเสบที่เกิดจากไวรัส ที่พบได้บ่อย เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ พวกนี้มักจะ
มีน้ำมูกใส ๆ ต่อมทอนซิลไม่แดงมาก และไม่มีหนอง เมื่อพูดถึงต่อมทอนซิลอักเสบ เรามักจะ
หมายถึง การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ
ซึ่งอาจทำให้มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กวัยเรียน และพบได้เป็นครั้ง
คราวในผู้ใหญ่
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า
บีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ (Beta Streptococcus group A) ซึ่งทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนที่
สำคัญ คือ ไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบ ติดต่อโดยการหายใจ ไอหรือจามรดกัน (เช่นเดียว
กับไข้หวัด) ระยะฟักตัว ประมาณ 1-5 วัน
อาการ
ในรายที่เป็นเฉียบพลัน จะมีไข้สูงเกิดขึ้นทันทีทันใด และมีอาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือหนาวสะท้าน รู้สึกแห้งผากในลำคอ หรือเจ็บในคอมาก บางคนอาจเจ็บคอมาก
จนกลืนน้ำและอาหารลำบาก ในเด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน ไอ ปวดท้อง หรือท้องเดินร่วมกัน เด็ก
บางคนอาจมีไข้สูงจนชัก หรือร้องกวนไม่ยอมนอน
บางครั้งอาจสังเกตเห็นมีก้อนบวมและเจ็บ (ก้อนลูกหนู หรือต่อมน้ำเหลืองอักเสบ) ที่บริเวณใต้คาง
ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ในรายที่เป็นเรื้อรัง จะมีอาการเจ็บคอบ่อย ๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
ไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย มักไม่มีไข้ หรือบางครั้งอาจมีไข้ต่ำ ๆ
สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง (39-40 ํ ซ.)
ในรายการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะพบต่อมทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด และมีหนองขาว ๆ
เหลือง ๆ เป็นจุด ๆ อยู่บนต่อมทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย ถ้าพบเป็นแผ่นขาวปนเทาซึ่งเขี่ยออกยาก
และมีเลือดออก ควรนึกถึงคอตีบ) นอกจากนี้ อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวม และเจ็บ
ในรายการที่ต่อมทอนซิลโตมาก ๆ จนดันลิ้นไก่เบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ควรนึกถึงโรคฝีของทอนซิล
ในรายที่เป็นเรื้อรัง พบว่าต่อมทอนซิลโต ผิวขรุขระแต่ไม่แดงมาก และพบตุ่มน้ำเหลืองบนผนังคอ
เป็นลักษณะแดงเรื่อ และสะท้อนแสงไฟ ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางมักจะโต และเจ็บเรื้อรัง
อาการแทรกซ้อน
1. เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้หูชั้นกลางอักเสบ, ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ,
จมูกอักเสบ, ไซนัสอักเสบ, ฝีของทอนซิล (peritonsillar abscess), ปอดอักเสบ
2. เชื้ออาจแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นข้ออักเสบเฉียบพลัน กระดูกอักเสบ (osteomyelitis)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
3. โรคแทรกที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก   และหน่วยไตอักเสบ ซี่งมักจะเกิดหลังต่อมทอนซิลอักเสบ
1-4 สัปดาห์ เกิดจากปฏิกิริยาจากแอนติบอดี (ที่ถูกกระตุ้นด้วยเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ)
การรักษา
1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยกินอาหาร
อ่อน และดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ ในน้ำอุ่น
1 แก้ว) วันละ 2 -3 ครั้ง
2. ให้ยาลดไข้   เด็กเล็กที่เคยชัก ให้ยากันชัก ร่วมด้วย
3. ในรายที่ต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต่อมทอนซิลมักจะมีลักษณะสีแดงจัด หรือจุด
หนอง หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ ให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ตัวที่แนะนำ คือ เพนวี
หรือ อะม็อกซีซิลลิน ถ้าแพ้ยานี้ให้ใช้ อีริโทรไมซิน แทน ให้ยาสัก 3 วันดูก่อน ถ้าดีขี้นควรให้ต่อจน
ครบ 10 วัน เพื่อป้องกัน มิให้เกิด ไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน หรือ กินยาไม่ได้ หรือสงสัยมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ให้แนะนำผู้ป่วยไป
โรงพยาบาล ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และไม่มีประวัติการแพ้เพนิซิลลิน อาจต้องใช้ยาฉีด
ประเภทเพนิซิลลิน ที่สะดวก ได้แก่  เบนซาทีน เพนิซิลลิน หรือเพนาเดอร์ ซึ่งใช้ยาฉีดเพียงเข็มเดียว
เท่านั้น ถ้าเป็นฝีของทอนซิล อาจต้องผ่าหรือเจาะเอาหนองออก
5. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล
(tonsillectomy) ถ้าเป็นปีละหลายครั้ง (มากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป) จนเสียงาน หรือหยุดเรียนบ่อย
หรือมีอาการอักเสบของหูบ่อย ๆ นอกจากนี้ในรายที่เป็นฝีของทอนซิลแทรกซ้อน อาจต้องรักษา
ด้วยการผ่าตัดทอนซิล เพราะถ้าทิ้งเอาไว้ก็อาจมีการอักเสบเรื้อรังได้ การผ่าตัดทอนซิลมักจะทำ
ในช่วงอายุ 6-7 ปี
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กบางคนอาจเป็นได้บ่อย แต่เมื่อโตขึ้น ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น
ก็อาจค่อย ๆเป็นห่างขึ้นได้
2. อาการเจ็บคอ อาจมีสาเหตุได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเสมอไป ดังนั้น
ถ้าพบคนที่มีอาการเจ็บคอ ควรซักถามอาการอย่างละเอียด และตรวจดูคอทุกราย เพื่อแยกแยะสาเหตุ
3. ถ้าสงสัยว่าเกิดจากเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น มีไข้สูงร่วมกับต่อมทอนซิลโตแดง หรือเป็น
หนอง หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ ควรให้เพนิซิลลินวี  หรือ อะม็อกซีซิลลิน หรือ
อีริโทรไมซิน ให้ได้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบแทรก
ซ้อน การรักษาอย่างผิด ๆ หรือกินยาไม่ครบขนาด เช่น ซื้อยาชุดกินเอง ถึงแม้ว่าจะช่วยให้อาการทุเลา
 แต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้
สำหรับไข้รูมาติก ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 5-15 ปี ถ้าไม่ได้รักษาหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง จะทำให้เกิดโรค
หัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) หรือลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ บางรายอาจต้องลงเอย
ด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเวลามาก
การป้องกัน
ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด และหมั่นรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก
bar5.jpg (6486 bytes)
 
 
 
 
 
 
คออักเสบ Pharyngitis
ต่อมทอลซิลอักเสบ   Tonsilitis
ลักษณะทั่วไป
การอักเสบภายในลำคอและต่อมทอนซิล มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้มีไข้สูง
และเจ็บคอ
คออักเสบที่เกิดจากไวรัส ที่พบได้บ่อย เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ พวกนี้มักจะมีน้ำมูกใส ๆ ต่อมทอนซิล
ไม่แดงมาก และไม่มีหนอง
เมื่อพูดถึงต่อมทอนซิลอักเสบ เรามักจะหมายถึง การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ ซึ่งอาจทำให้มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มเด็ก
วัยเรียน และพบได้เป็นครั้งคราวในผู้ใหญ่
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่หลายชนิด
ที่สำคัญ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ (Beta Streptococcus group A)
ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบ   ติดต่อโดยการหายใจ
ไอหรือจามรดกัน (เช่นเดียวกับไข้หวัด) ระยะฟักตัว ประมาณ 1-5 วัน
อาการ
ในรายที่เป็นเฉียบพลัน จะมีไข้สูงเกิดขึ้นทันทีทันใด และมีอาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือหนาวสะท้าน รู้สึกแห้งผากในลำคอ หรือเจ็บในคอมาก บางคนอาจเจ็บคอมาก
จนกลืนน้ำและอาหารลำบาก ในเด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน ไอ ปวดท้อง หรือท้องเดินร่วมกัน เด็กบาง
คนอาจมีไข้สูงจนชัก หรือร้องกวนไม่ยอมนอน บางครั้งอาจสังเกตเห็นมีก้อนบวมและเจ็บ
(ก้อนลูกหนู หรือต่อมน้ำเหลืองอักเสบ) ที่บริเวณใต้คางข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
ในรายที่เป็นเรื้อรัง จะมีอาการเจ็บคอบ่อย ๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย
มักไม่มีไข้ หรือบางครั้งอาจมีไข้ต่ำ ๆ
สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง (39-40 ํ ซ.)
ในรายการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะพบต่อมทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด และมีหนองขาว ๆ
เหลือง ๆ เป็นจุด ๆ อยู่บนต่อมทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย
ถ้าพบเป็นแผ่นขาวปนเทา ซึ่งเขี่ยออกยาก และมีเลือดออก ควรนึกถึงคอตีบ
นอกจากนี้ อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวม และเจ็บ
ในรายการที่ต่อมทอนซิลโตมาก ๆ จนดันลิ้นไก่เบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ควรนึกถึงโรคฝีของทอนซิล
ในรายที่เป็นเรื้อรัง พบว่าต่อมทอนซิลโต ผิวขรุขระแต่ไม่แดงมาก และพบตุ่มน้ำเหลืองบนผนังคอ
เป็นลักษณะแดงเรื่อ และสะท้อนแสงไฟ ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางมักจะโต และเจ็บเรื้อรัง
อาการแทรกซ้อน
1. เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้หูชั้นกลางอักเสบ , ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ,
จมูกอักเสบ , ไซนัสอักเสบ , ฝีของทอนซิล (peritonsillar abscess), ปอดอักเสบ
2. เชื้ออาจแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นข้ออักเสบเฉียบพลัน กระดูกอักเสบ
(osteomyelitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
3. โรคแทรกที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบ ซี่งมักจะเกิดหลังต่อมทอนซิลอักเสบ
1-4 สัปดาห์ เกิดจากปฏิกิริยาจากแอนติบอดี (ที่ถูกกระตุ้นด้วยเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ)
การรักษา
1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยกินอาหาร
อ่อน และดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ   ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ ในน้ำ
อุ่น 1 แก้ว) วันละ 2 -3 ครั้ง
2. ให้ยาลดไข้ เด็กเล็กที่เคยชัก ให้ยากันชัก ร่วมด้วย
3. ในรายที่ต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต่อมทอนซิลมักจะมีลักษณะสีแดงจัด หรือ
จุดหนอง หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ ให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ตัวที่แนะนำ คือ
เพนวี  หรือ อะม็อกซีซิลลิน   ถ้าแพ้ยานี้ให้ใช้ อีริโทรไมซิน แทน ให้ยาสัก 3 วันดูก่อน ถ้าดีขี้นควรให้
ต่อจนครบ 10 วัน เพื่อป้องกัน มิให้เกิด ไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน หรือ กินยาไม่ได้ หรือสงสัยมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ให้แนะนำผู้ป่วยไป
โรงพยาบาล   ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และไม่มีประวัติการแพ้เพนิซิลลิน อาจต้องใช้ยาฉีด
ประเภทเพนิซิลลิน ที่สะดวก ได้แก่ เบนซาทีน เพนิซิลลิน หรือเพนาเดอร์ ซึ่งใช้ยาฉีดเพียงเข็มเดียว
เท่านั้น  ถ้าเป็นฝีของทอนซิล อาจต้องผ่าหรือเจาะเอาหนองออก
5. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล
(tonsillectomy) ถ้าเป็นปีละหลายครั้ง (มากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป) จนเสียงาน หรือหยุดเรียนบ่อย
หรือมีอาการอักเสบของหูบ่อย ๆ นอกจากนี้ในรายที่เป็นฝีของทอนซิลแทรกซ้อน อาจต้องรักษาด้วย
การผ่าตัดทอนซิล เพราะถ้าทิ้งเอาไว้ก็อาจมีการอักเสบเรื้อรังได้ การผ่าตัดทอนซิลมักจะทำในช่วง
อายุ 6-7 ปี
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กบางคนอาจเป็นได้บ่อย แต่เมื่อโตขึ้น ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น
ก็อาจค่อย ๆ เป็นห่างขึ้นได้
2. อาการเจ็บคอ อาจมีสาเหตุได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเสมอไป ดังนั้นถ้า
พบคนที่มีอาการเจ็บคอ ควรซักถามอาการอย่างละเอียด และตรวจดูคอทุกราย เพื่อแยกแยะ
สาเหตุ
3. ถ้าสงสัยว่าเกิดจากเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น มีไข้สูงร่วมกับต่อมทอนซิลโตแดง หรือ
เป็นหนอง หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คางบวมและเจ็บ ควรให้เพนิซิลลินวี หรือ อะม็อกซีซิลลิน หรือ
อีริโทรไมซิน  ให้ได้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบ
แทรกซ้อน การรักษาอย่างผิด ๆ หรือกินยาไม่ครบขนาด เช่น ซื้อยาชุดกินเอง ถึงแม้ว่าจะช่วยให้อาการ
ทุเลา แต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้
สำหรับไข้รูมาติก ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 5-15 ปี ถ้าไม่ได้รักษาหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง จะทำให้เกิดโรค
หัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) หรือลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ บางรายอาจต้องลงเอย
ด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเวลามาก
การป้องกัน
ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด และหมั่นรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก
รายละเอียด
เมื่อสงสัยต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน
bar5.jpg (6486 bytes)
 
 
 
 
 
อีสุกอีใส   Chickenpox/Varicella
ลักษณะทั่วไป
อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็น
โรคนี้มาก่อน แล้วมักจะมีอาการ และภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก
มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบ
ได้ประปรายตลอดทั้งปี
สาเหตุ
เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpes
virus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด (188 ) ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง
หรือสัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของคนที่
เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางเยื่อเมือกระยะฟักตัว
10-20 วัน
อาการ
เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัว
คล้ายไข้หวัดใหญ่ นำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขี้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วัน
หลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน
และมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้น
ตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้าลำตัว และแผ่นหลัง จะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางคน
มีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ  บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น
ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริม ได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่
พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่า บางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่ม
กลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส)
สิ่งตรวจพบ
มีผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง มักพบว่ามีไข้
อาการแทรกซ้อน
พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้นที่พบได้บ่อย
คือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย   พุพอง   ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้   บางคน
อาจกลายเป็นปอดอักเสบ   แทรกซ้อน ซึ่งอาจทำให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ที่ร้าย
แรง คือ สมองอักเสบ แต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลด
ภูมิต้านทานโรค เช่น สเตอรอยด์   หรือยารักษามะเร็ง (เช่น เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว),
หรือผู้ป่วยเอดส์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แต่ค่อนข้างน้อยมาก ก็คือ หญิงตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสแรกหรือ
ไตรมาสที่ 2 ที่ติดเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการ (เช่น แขนพิการ สมองพิการ ตา
เป็นต้อกระจก เป็นต้น) นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใสในระยะก่อนคลอด 5 วันหรือ
หลังคลอด 2 วัน ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้ ทารกกลุ่มนี้ควรได้รับการฉีดสาร
อิมมูนโกลบูลิน (เช่น Varicella-zoster immune globulin) ป้องกันทันที
การรักษา
1. แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เช่น พักผ่อน, ดื่มน้ำมาก ๆ, ถ้ามีไข้สูง ห้ามอาบน้ำเย็น, ควรใช้ผ้า
ชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ, ถ้าปากเปื่อยลิ้นเปื่อยใช้น้ำเกลือกลั้วปาก, ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด (อาจ
ใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ เช่น ไฟโซเฮกช์ ก็ได้) เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนอง
ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าแกะ หรือเกาตุ่มคัน อาจทำให้เกิดติดเชื้อกลายเป็นตุ่ม
หนองได้
2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ , ทายาแก้ผดผื่นคัน , ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ หรือไดอาซีแพม
เป็นต้น (ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เป็นเรย์ซินโดรม ซึ่งมีอันตรายร้าย
แรงได้)
3. ถ้าตุ่มกลายเป็นหนอง ให้ทาด้วยขี้ผึ้งเตตราไซคลีน หรือ เจนเชียนไวโอเลต ถ้าเป็นมากให้กินยา
ปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน หรือ อีริโทรไมซิน
4. ถ้ามีอาการรุนแรงเช่น หอบ ชัก ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และหายได้เอง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไข้อาจ
    มีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ อาจเป็นนาน
    และมีความรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยเด็ก
2. โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัด
    ในภายหลังได้
3. ไม่ควรใช้ยาที่เข้าสเตอรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทำให้โรคลุกลามได้
4. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้ คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมงก่อนมีผื่นขึ้น
 ลักษณะทั่วไป
อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็น
โรคนี้มาก่อน แล้วมักจะมีอาการ และภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก
มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบ
ได้ประปรายตลอดทั้งปี
สาเหตุ
เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpes
virus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด (188 ) ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง
หรือสัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของคนที่
เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางเยื่อเมือกระยะฟักตัว
10-20 วัน
อาการ
เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัว
คล้ายไข้หวัดใหญ่ นำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขี้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วัน
หลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน
และมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้น
ตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้าลำตัว และแผ่นหลัง จะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางคน
มีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ  บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น
ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริม ได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่
พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่า บางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่ม
กลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส)
สิ่งตรวจพบ
มีผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง มักพบว่ามีไข้
อาการแทรกซ้อน
พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้นที่พบได้บ่อย
คือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย   พุพอง   ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้   บางคน
อาจกลายเป็นปอดอักเสบ   แทรกซ้อน ซึ่งอาจทำให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ที่ร้าย
แรง คือ สมองอักเสบ แต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลด
ภูมิต้านทานโรค เช่น สเตอรอยด์   หรือยารักษามะเร็ง (เช่น เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว),
หรือผู้ป่วยเอดส์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แต่ค่อนข้างน้อยมาก ก็คือ หญิงตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสแรกหรือ
ไตรมาสที่ 2 ที่ติดเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการ (เช่น แขนพิการ สมองพิการ ตา
เป็นต้อกระจก เป็นต้น) นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใสในระยะก่อนคลอด 5 วันหรือ
หลังคลอด 2 วัน ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้ ทารกกลุ่มนี้ควรได้รับการฉีดสาร
อิมมูนโกลบูลิน (เช่น Varicella-zoster immune globulin) ป้องกันทันที
การรักษา
1. แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เช่น พักผ่อน, ดื่มน้ำมาก ๆ, ถ้ามีไข้สูง ห้ามอาบน้ำเย็น, ควรใช้ผ้า
ชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ, ถ้าปากเปื่อยลิ้นเปื่อยใช้น้ำเกลือกลั้วปาก, ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด (อาจ
ใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ เช่น ไฟโซเฮกช์ ก็ได้) เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนอง
ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าแกะ หรือเกาตุ่มคัน อาจทำให้เกิดติดเชื้อกลายเป็นตุ่ม
หนองได้
2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ , ทายาแก้ผดผื่นคัน , ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ หรือไดอาซีแพม
เป็นต้น (ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เป็นเรย์ซินโดรม ซึ่งมีอันตรายร้าย
แรงได้)
3. ถ้าตุ่มกลายเป็นหนอง ให้ทาด้วยขี้ผึ้งเตตราไซคลีน หรือ เจนเชียนไวโอเลต ถ้าเป็นมากให้กินยา
ปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน หรือ อีริโทรไมซิน
4. ถ้ามีอาการรุนแรงเช่น หอบ ชัก ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และหายได้เอง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไข้อาจ
    มีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ อาจเป็นนาน
    และมีความรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยเด็ก
2. โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัด
    ในภายหลังได้
3. ไม่ควรใช้ยาที่เข้าสเตอรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทำให้โรคลุกลามได้
4. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้ คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมงก่อนมีผื่นขึ้น
     จนกระทั่งระยะ 6 วันหลังผื่นตุ่มขึ้น
5. ไม่มีของแสลงสำหรับโรคนี้ ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ)
    ให้มาก ๆ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค
6. ในปัจจุบันมียาต้านไวรัส - อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 800 มก. วันละ 5 ครั้ง (เด็ก
อายุต่ำกว่า 12 ปีให้ในขนาด 20 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้งทุก 6 ชั่วโมง) นาน 5-7 วัน
ควรให้หลังมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงจะช่วยลดความรุนแรง และระยะของโรคลงได้ แต่จะพิจารณาใช้
ในรายที่จำเป็น เช่น มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ, เป็นปอดอักเสบจากเชื้ออีสุกอีใส
การป้องกัน
ในปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใสใช้แล้ว แต่ราคาค่อนข้างแพง จึงแนะนำให้ฉีดในคนที่มีอายุ
มากกว่า 15 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง เช่น
บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา เป็นต้น ควร
เจาะเลือดตรวจหาแอนติบอดีต่อโรคนี้ก่อน (ถ้าตรวจพบแสดงว่าเคยได้รับเชื้อแล้ว ไม่จำเป็นต้อง
ฉีดวัคซีน) ส่วนคนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่จะมีโอกาสติดเชื้อโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และมักจะเป็น
ไม่รุนแรง จึงมีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ไม่มาก 
รายละเอียด
เด็กที่เป็นอีสุกอีใส ควรตัดเล็บให้สั้น และอย่าเกาตุ่มคัน อาจทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้
ที่มา   www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด