รวมเมนู อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจ และ อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ


1,532 ผู้ชม


สุขภาพ >> อาหารสุขภาพ >> อาหารโรคหัวใจ
อาหารโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทยรองจากอุบัติเหตุและโรค มะเร็ง โรคหัวใจส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้หากเราใส่ใจกับสุขภาพของเรา ไม่ตามใจตัวเองมากเกินไป การดูแลอาหารเพื่อป้องกันโรคหัวใจจะมีจุดประสงค์เพื่อลดไขมันที่เป็นเสียต่อ ร่างกายคือ LDL,Triglyceride,และเพิ่มระดับไขมันที่เป็นผลดีแก่ร่างกายได้แก่ HDL นอกจากนั้นยังต้องระวังอาหารที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้แก่อาหารเค็มๆ ทั้งหลาย
อาหารไขมัน
ไขมันในเลือดประมาณ 2/3 ได้มาจากการสร้างที่ตับโดยการย่อจากไขมันอิ่มตัว [saturated fat ] ที่เรารับประทานหากเรารับประทานไขมันอิ่มตัวมากไขมันในเลือดก็จะสูง แต่อาหารที่เรารับประทานก็ไม่ได้มีมีเพียงไขมันชนิดเดียวแต่จะประกอบส่วนผสมของไขมันดังนี้คือ
    * ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated)
    * ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsaturated)
    * ไขมันอิ่มตัว( saturated fatty acids)
    * trans-fatty acids
 ปริมาณไขมันแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบของไขมันต่างกันมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ ชนิดอาหาร เช่นน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มหรือไขมันจากสัตว์จะมีไขมันอิ่มตัวสูง
ส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsaturated) ยังประกอบไปด้วยไขมัน 3ชนิดคือ
    * omega-3 ประกอบด้วยไขมัน 1 alpha-linolenic acid (พบมากในไขมันที่มาจาก ถั่วเหลือง เม็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย canola oil) 2 docosahexaenoic and eicosapentaneoic acids (พบไขมันชนิดนี้ในปลาและนม) จากการศึกษาพบว่าไขมันที่มาจากพืชจะมี alpha-linolenic acid จะช่วยลด triglyceride ป้องกันโรคหัวใจ
    * omega-6 พบมาในน้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง canola oil
    * omega-9 fatty acids มีมากในน้ำมันมะกอก
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนกำลังเป็นที่สนใจและมีการวิจัยถึงผลดีต่อร่างกายอย่างไร
ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย
ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกายได้แก่ไขมันอิ่มตัว( saturated fatty acids) และ trans-fatty acids ซึ่งจะต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรก ไขมันอิ่มตัวจะพบมากในอาหารไขมันที่มาจากสัตว์เช่นน้ำมันหมู ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาหารทอดทั้งหลายส่วนใหญ่จะทอดด้วยน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว ดังนั้นจึงต้องเลี่ยงอาหารทอด
trans-fatty acid มีผลเสียต่อหัวใจ และยังเป็นสารก่อมะเร็ง ไขมันชนิดนี้ได้จากการนำเอาไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsaturated) มาใส่ hydrogen เพื่อป้องกันเหม็นหืนและทำให้อยู่ในรูปของแข็ง หากรับประทานไขมันชนิดนี้มากจะทำให้เกิดอุบัติการณ์ต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 53 % อาหารที่ใช้ส่วนประกอบของไขมันชนิดนี้คือ อาหารที่อบหรือปิ้ง เช่นพวกขนมปัง คุกกี้ เค้ก margarine ข้อที่ต้องระวังในการซื้ออาหารหากในสลากเขียนว่า partially hydrogenated แม้จะเขียนว่ามี cholesterol ต่ำอาหารอาจจะมี tras-fatty acid ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายมากพอๆกับไขมันอิ่มตัว
ไขมันที่มีผลดีต่อร่างกาย
โปรดจำไว้ว่าไขมันบางชนิดมีความจำเป็นต่อร่างกายและมีผลดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะการเติบโตของเด็ก ไขมันที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจว่าจะมีผลดีต่อสุขภาพคือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน omega ทั้งสามชนิดจะมีผลดีต่อสุขภาพ อัตราส่วนที่เหมาะสมแพทย์กำลังวิจัย
ไขมันทดแทน
ต่างประเทศได้ผลิตไขมันเพื่อใช้ทดแทนไขมันที่ใช้ๆกันอยู่เพื่อลดไขมันและพลังงานจากไขมัน ไขมันชนิดต่างๆมีดังนี้
Olestra (Olean)
เป็นไขมันที่ได้สังเคราะห์จากพืชไม่ถูกดูดซึม ดั้งนั้นจึงผ่านลำไส้ไปหมด ข้อเสียก็คืออาจจะเกิดปวดท้องและถ่ายเหลว และที่สำคัญคืออาจจะขาดวิตามินและสารอนุมูลอิสระซึ่งใช้ป้องกันโรคมะเร็ง
sterols
ทำมาจากพืช ได้มีการทำการผสมสารนี้ร่วมกับน้ำมัน canola
แต่อย่างไรก็ตามควรที่จะลดอาหารไขมันมากกว่าการใช้ไขมันทดแทน
อาหารพวกแป้ง
อาหารพวกคาร์โบไฮเดร์ตเชิงซ้อนและใยอาหารจะให้ผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
ผักและผลไม้
การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ในผักและผลไม้จะมีสาร flavonoids, sterols, phenol, and sulfur-containing
ธัญพืชและใยอาหาร
การรับประทานอาหารที่มีใยมากจะสามารถลดระดับไขมันได้ร้อยละ 13 โดยการจับกับ bile acids และยังช่วยลดระดับน้ำตาล ใยอาหารพบมากในผักและผลไม้ ถั่วมีทั้งชนิดละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำ
แนะนำว่าว่าควรจะรับอาหารที่มีใยอาหารและให้ดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันท้องอืดเนื่องจากแก๊สในท้อง หากว่าคุณรับอาหารที่มีใยต่ำอาจจะใช้ยาแก้ท้องผูกที่มีส่วนผสมของ psyllium
อาหารพวกโปรตีน
เนื้อปลา
ประโยชน์ของเนื้อปลาเท่าที่มีรายงานพบว่ามีประโยชน์คือลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ ลดระดับไขมัน triglyceride ป้องกันระบบประสาท ข้ออักเสบ rheumatoid โรคหอบหืด และมะเร็งบางชนิด ปลาที่มีไขมันมากเช่น ปลาแซลมอน ปลาดาบ ปลาทูนา แนะนำให้รับประทานเนื้อปลา 1-2 ส่วนต่อสัปดาห์จะให้ประโยชน์สูงสุด
ถั่วเหลือง
เป็นอาหารโปรตีนที่ดีมากเพราะมีใยอาหาร omega-3 fatty acids, และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในถั่วเหลืองยังมีสารที่ทำหน้าที่เหมือนl estrogens เรียก phytoestrogens ๙งจะลดไขมันและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าคนที่รับประทานถั่วเหลืองจะมีระดับ LDL,Triglyceride ลดลงและมีการเพิ่มของไขมันที่ดีคือHDL แนะนำว่าควรจะรับประทานวันละ 25 กรัม(น้ำเต้าหู้ 1 แก้วมีถั่วเหลือง 13 กรัม)
เนื้อสัตว์
เนื้อไก่หรือเป็ดให้ลอกหนังออก เนื้อหมูให้รับหมูสันในหรือสะโพก ไม่ควรจะรับเนื้อวัว
เกลือ
หากรับประทานเกลือมากจะทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนั้นไม่ควรรับอาหารเค็ม
น้ำตาล
น้ำตาลจะเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายโดยที่ไม่มีสารอาหารและยังทำให้น้ำตาลเพิ่มอย่างรวดเร็ว และยังทำให้ไขมัน triglyceride และน้ำหนักเพิ่ม น้ำตาลเป็นผลเสียต่อหัวใจจึงไม่ควรรับประทาน
วิตามินและอาหารเสริม
สารอาหารเมื่อเกิดการย่อยหรือสันดาปก็จะเกิดอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นเรายังได้รับอนุมูลอิสระจากสิ่งแวดล้อม สารพิษ บุหรี่ ความเครียด สารอนุมูลเหล่านี้จะทำให้เซลล์มีการทำลายและเกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนทำให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจ นักวิจัยสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะป้องกันโรค
วิตามินอี Vitamin E
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ แต่จากหลักฐานปัจจุบันยังไม่ยืนยันแน่ชัด ผู้ชำนาญแนะนำว่าควรจะรับวันละ 100-400 ยูนิต หากรับมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดเลือดออก
วิตามิน ซี
ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีผลดีต่อหัวใจ แต่พอมีหลักฐานว่าป้องกันหลอดเลือดสมองยังไม่แนะนำให้รับวิตามินซีเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
สุราและกาแฟ
สุรามีผลดีทำให้ระดับ HDL เพิ่มทำให้ป้องกันโรคหัวใจ
การดื่มกาแฟจะเพิ่มการขับแคลเซียมออกจากร่างกายซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของกระดูกและหัวใจ นอกจากนั้นกาแฟบางชนิดจะเพิ่มระดับ cholesterol ในเลือด ควรที่จะดื่มชามากกว่าเนื่องจากในชาจะมีสาร flavanoid ซึ่งป้องกันโรคหัวใจ
กลับหน้าเดิม สุดยอดอาหารสำหรับโรคหัวใจ
   
ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด