การทําบอลลูนโรคหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด |
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบส่วนหนึ่งสามารถรักษาด้วยยาหรือการใส่สายสวนหัวใจ ซึ่งไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่แต่สามารถทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น การทำบอลลูน angiography ทางการแพทย์เรียก percutaneous tranluminal coronary angioplasty [PTCA] คือการสวนสายผ่านทางผิวหนังเข้าหลอดเลือดหัวใจเพื่อถ่างขยายหลอกเลือดแดงที่ตีบตัน ที่ปลายสายจะมี balloon ซึ่งจะเป่าลมขยาย balloon ซึ่งจะไปขยายบริเวณที่ตีบและเมื่อเอาสายออก รูที่ถ่างจะคงขยายอยู่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจะเป็นสวนสาย เมื่อไรจึงจะใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ การใส่สายสวนหัวใจเป็นวิธีการแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเส้น เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ แต่เนื่องจากการใส่สายสวนก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดังนั้นจะต้องมีข้อบ่ง ชี้ในการตรวจ เช่น
หากท่านเป็นโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบและมีอาการเจ็บหน้าอกแบบ unstable angina การใส่สายสวนหัวใจทำอะไรได้บ้าง
หลังขยายเส้นเลือดจะตีบอีกหรือไม่ หลังขยายผู้ป่วย หนึ่งในสามจะมีการตีบซ้ำ restenosis มักจะเกิดภายใน 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามผลการรักษาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ประโยชน์ของขดลวดขยายหลอดเลือด Stent Stent คือขดลวดเล็กๆใส่เข้าหลอดเลือดแดงหลังจากถ่าง [balloon ]เรียบร้อยแล้วเพื่อป้องกันการตีบซ้ำ หลังใส่ขดลวดจะต้องกินยาละลายลิ่มเลือดสักระยะหนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง พบที่สำคัญคือ
เตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ใช้เวลาในการขยายนานเท่าไร ใช้เวลาในการขยายหลอดเลือดประมาณ 30 นาที-3 ชั่วโมง จะต้องดมยาสลบหรือไม่ ใช้เพียงแค่ยาชาฉีดเท่านั้น และอาจให้ยาคลายเครียด เนื่องจากขณะขยายหลอดเลือดแพทย์จะต้องได้รับความร่วมมือ เช่น ไอ พลิกตัว หรือหายใจแรงๆ ขณะขยายหลอดเลือดเจ็บหรือไม่ ขณะขยายหลอดเลือดจะไม่เจ็บแต่จะแน่นหน้าอกเมื่อแพทย์ฉีดลมเข้าใน balloon หลังขยายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ หลังจากขยายหลอดเลือดอาจจะมีอาการปวดแผลแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ผู้ป่วยพักในโรงพยาบาล 2-3 วันถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากขยายหลอดเลือด หลังจากที่ตรวจเสร็จจะต้องนอนราบประมาณ8 ชั่วโมง อาจจะนอนหนุนหมอนสองใบหลังจากทำไปแล้วสองชั่วโมง ระหว่างนี้ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ ต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีการตีบซ้ำแพทย์จะทำการใส่ขดลวด Stent แพทย์จะนัดผู้ป่วยวิ่งสายพานว่ามีการตีบของหลอดเลือดหรือไม่ |
ที่มา www.siamhealth.net |