มารู้จักพัฒนาการของทารกในครรภ์ (กันอีกครั้ง) เขียนโดย กัมพล ปฏิทินการตั้งครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน ครั้งสุดท้าย ดังนั้นเมื่อคุณหมอบอกว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์ แล้ว ในความเป็นจริง คือ 2 สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ การตั้ง ครรภ์โดยปกติจะมีระยะเวลา 37 - 42 สัปดาห์นับจากวันแรกของการมี ประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยเฉลี่ยคือ 40 สัปดาห์ ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่ แน่ใจว่าวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ การอัล ตร้าซาวนด์จะสามารถช่วยกำหนดวันคลอดทารกได้ ในสัปดาห์แรกๆ ทารกในครรภ์จะถูกเรียกว่า "Embryo" และในอีก 8 สัปดาห์ต่อมาจะถูกเรียกว่า "Fetus" หมายถึง "ตัวอ่อน" ("young one") สัปดาห์ที่ 3 (3 สัปดาห์นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย) ไข่ ที่ได้รับการผสมแล้ว (fertilised egg) จะเคลื่อนตัวช้าๆ ผ่านท่อนำไข่ มายังโพรงมดลูก ขณะเคลื่อนตัวก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมาถึงโพรงมดลูกไข่จะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วยเซลล์ราว 100 เซลล์และยังคงเจริญเติบโตต่อไป ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ไข่ที่ ผสมแล้วจะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะติดมั่นคงดีแล้วจึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างสมบูรณ์ สัปดาห์ที่ 4 - 5 เมื่อ ไข่ที่ผสมแล้วยึดเกาะติดฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกเรียบร้อยดี แล้ว ระยะนี้จะเรียกว่า "Embryo" จะยื่นส่วนที่อ่อนนุ่มลักษณะคล้าย นิ้วมือแทรกลึกลงไปในผนังมดลูก เพื่อสร้างติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเติบโตเป็นรก มีการสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำ ห่อหุ้มต่อไป ส่วนเซลล์ภายในจะมีเนื้อเยื่อพิเศษสองชั้น และกลายเป็น สามระดับชั้นตามลำดับ แต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่าง กายทารกน้อย โดยเซลล์ชั้นแรกจะพัฒนาเป็นสมองและระบบประสาท, ผิวหนัง, ตา และหู ส่วนชั้นต่อมาจะพัฒนามาเป็นปอด, กระเพาะอาหาร, และ ชั้นที่สามจะกลายเป็นหัวใจ,หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และ กระดูก สัปดาห์ที่ 5 จะเป็นระยะที่ประจำเดือนขาดหายไป และคุณแม่ มักจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ซึ่งระบบประสาทของทารกเริ่มพัฒนาแล้ว สัปดาห์ที่ 6 - 7 ปลาย สัปดาห์ที่ 6 ตัวอ่อนจะมีรูปร่างโค้งงอ มีส่วนหัว ส่วนด้านข้าง และ ส่วนล่างที่มีลักษณะเหมือนหางกระดก ส่วนหลังที่ผ่าตลอดแนวจะมีชั้น ของเซลล์พื้นผิวที่ม้วนตลบขึ้นทั้งสองข้างจดกันเป็นท่อตลอดแนวหลัง ซึ่งจะกลายเป็นกระดูกสันหลังต่อไป บริเวณหน้าอกที่โป่งออกจะพัฒนา เป็นหัวใจในเวลาต่อมาและจะเริ่มเต้นในปลายๆ สัปดาห์นี้ สามารถ เห็นการเต้นของหัวใจได้จากการใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์ รอยบุ๋มที่ ปรากฏบริเวณศีรษะจะพัฒนามาเป็นหู และตา และมีปุ่มเล็กๆ ซึ่งจะเจริญเป็นแขนและขาต่อไป ในสัปดาห์ที่ 7 ตัวอ่อนจะมีความ ยาวประมาณ 8 มม. สัปดาห์ที่ 8 - 9 เริ่มมี ลักษณะใบหน้า มีติ่งของจมูก รูจมูก ร่องปาก และลิ้น เริ่มเห็น ตาชัดขึ้นและเริ่มมีสีของลูกตา, เริ่มมีปากและลิ้น นิ้วมือ นิ้วเท้าเริ่ม ปรากฏชัดขึ้น แขน ขาเริ่มยาวขึ้น เริ่มมองเห็นไหล่ ข้อศอก สะโพก และหัวเข่า ตัวอ่อนเคลื่อนตัวอยู่เรื่อยๆ (แต่คุณแม่ยังไม่สามารถรู้สึก ได้) หูชั้นในซึ่งมีหน้าที่รับการทรงตัวและการได้ยินกำลังถูกสร้างขึ้น อวัยวะภายในสำคัญๆ เริ่มปรากฏทั้งหมดแม้จะยังไม่สมบูรณ์ - หัวใจ สมอง ปอด ตับ ไต ลำไส้ ในสัปดาห์ที่ 9 ลูกในครรภ์จะมีความ ยาว 17 มม. สัปดาห์ที่ 10 - 14 เมื่อ ลูกในครรภ์อายุได้ 14 สัปดาห์ อวัยวะส่วนสำคัญทั้งหมดจะสร้าง เรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น ลำไส้และอวัยวะส่วนต่างๆ เริ่มขยายขนาดและตบ แต่งให้สมบูรณ์ ส่วนหัวจะยาว 1 ใน ของความยาวลำตัว ส่วนลูกตาจะ สร้างสมบูรณ์ในขณะที่เปลือกตายังปิดและไม่ทำงาน หน้าตาสมบูรณ์ แล้ว ลำตัวเหยียดตรง เริ่มมีซี่โครงและกระดูก เริ่มมีเล็บมือ เล็บเท้า และขนบางส่วน อวัยวะเพศแยกได้ชัดเจน หัวใจเต้น 110 - 160 ครั้ง/ นาที ทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำและถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการสะอึกเป็นครั้ง คราว ลูกเริ่มดิ้นแล้ว แต่ไม่แรงพอที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกได้ในช่วง สัปดาห์ที่ 14 นี้ ลูกในครรภ์จะมีความยาว 9 ซม. และหนัก 48 กรัม สัปดาห์ที่ 15 - 22 ทารก ในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ในสัปดาห์ที่ 18 ส่วนของ ใบหน้าพัฒนาจนคล้ายมนุษย์มากขึ้นทุกที ลูกเริ่มแสดงสีหน้าได้เป็น ครั้งแรก จะทำหน้ายุ่งๆ และย่นหน้าผากได้ เส้นผมเริ่มหยาบขึ้นและมี สี คิ้วและขนตาเริ่มปรากฏ เปลือกตาบนล่างยังติดกัน จมูก นิ้วมือและ เท้าจะเห็นได้ชัดเจน เส้นลายนิ้วมือเริ่มเป็นปรากฏ ดังนั้นทารกแต่ละ คนจึงมีลายนิ้วมือ เฉพาะตัวแตกต่างกันไป เล็บเริ่มงอกออกมาเล็ก น้อย ระบบการส่งคลื่นเสียงของหูเริ่มทำงานเต็มที่ ลูกเริ่มได้ยินเสียง ของแม่ และเสียงจากระบบย่อยอาหารของแม่ จอตาจะเริ่มไวต่อแสงทั้ง ที่เปลือกตายังไม่ทำงาน ลูกจะเริ่มรับรู้แสงได้แล้ว หากมีแสงสว่างจ้า จากภายนอกครรภ์ของแม่ ในสัปดาห์ที่ 22 ตามลำตัวของทารกจะมีขนอ่อน (lanugo) วัตถุประสงค์ของขนอ่อนยังไม่ ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของทารก ขนอ่อนนี้ จะจางหายไปก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา บางครั้งอาจจะหลงเหลืออยู่ บ้างหลังคลอดแต่จะหายไปในที่สุด ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 - 22 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกเป็นครั้งแรก แต่ถ้าเป็นการตั้งท้อง ลูกคนที่สอง คุณแม่จะรู้สึกรับรู้ถึงการดิ้นของลูกเร็วขึ้น คือประมาณช่วง สัปดาห์ที่ 16 - 18 หลังการปฏิสนธิ ในสัปดาห์ที่ 22 ทารกในครรภ์จะมี ความยาว 16 ซม. สัปดาห์ที่ 23 - 30 ทารกใน ครรภ์จะเคลื่อนไหวคล่องแคล่วมากขึ้น และมีการตอบสนองต่อ สัมผัสและเสียงดังๆ ภายนอก ถ้าได้ยินเสียงดังจากข้างนอก จะทำให้ ทารกเตะ หรือกระโดดได้ ทารกกลืนน้ำคร่ำและถ่ายปัสสาวะลงในน้ำ คร่ำประมาณวันละ 500 ซีซี บางครั้งทารกสะอึก และคุณแม่เองก็ สามารถรู้สึกถึงอาการสะอึกของลูกได้เช่นกัน ทารกเริ่มตื่นและหลับ เป็นเวลา และบ่อยครั้งทีเดียวที่แตกต่างไปจากเวลาของคุณแม่ เมื่อ คุณแม่จะเข้านอนในกลางคืนอาจเป็นเวลาที่ลูกตื่นและเริ่มเตะ ถีบ การ เต้นของหัวใจของทารกสามารถได้ยินผ่านเครื่องสเตรปโตสโคป แล้ว คุณพ่อเองถ้าเอาหูแนบท้องคุณแม่ดีๆ ก็จะได้ยินเสียงหัวใจของลูก เต้นเช่นกัน ในระยะนี้ผิวหนังของทารกจะถูกหุ้มด้วยไขสีขาวเรียกว่า "vernix" ซึ่งเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องให้ผิวลูกอ่อนนุ่มขณะที่ยังลอย ตัวอยู่ในน้ำคร่ำ ไขสีขาวนี้จะจางหายไปก่อนที่ลูกจะคลอดออกมา ใน ระยะสัปดาห์ที่ 24 ถ้าลูกคลอดตอนนี้ก็อาจมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดได้ ถ้าได้รับการดูแลเป็น พิเศษ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องการหายใจ และอุณหภูมิร่างกายต่ำ ถ้า คลอดก่อนหน้านี้โอกาสที่ลูกจะมีชีวิตรอดเป็นได้ยากเพราะว่าปอดและ อวัยวะส่วนสำคัญๆ ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เพียงพอ ในระยะสัปดาห์ที่ 26 เปลือกตาลูกจะเปิดเป็นครั้งแรก เท่ากับว่าลูกเริ่มลืมตาและมองเห็นได้ แล้ว ความยาวของลูกในช่วง 30 สัปดาห์จะประมาณ 24 ซม. สัปดาห์ที่ 31 - 40 ใน ระยะ 34 สัปดาห์อวัยวะต่างๆ ของลูกสมบูรณ์เกือบหมดแล้ว ยกเว้น ปอดซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระยะนี้ลูกจะเคลื่อนตัว เหยียดแขนขา หรือ เตะผนังหน้าท้องจนเห็นนูนชัดออกมาบริเวณหน้าท้อง ทำให้คุณแม่ นอนไม่ค่อยหลับ ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กก. นับจากเดือนนี้ เนื่องจากมี ไขมันสีขาวมาสะสมใต้ผิวหนังช่วยให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิของลูกเมื่อคลอด เล็บมืองอกยาวถึงปลาย นิ้ว แต่เล็บเท้า ยังไม่งอกถึงปลายนิ้ว ผมเริ่มดกเต็มศีรษะ ทารกบาง คนอาจเอาศีรษะลงสู่ช่องทางคลอดแล้ว แต่บางคนก็ยังไม่กลับหัวลงจน กว่าจะครบกำหนดคลอด การเจริญเติบโตของลูกในช่วงสุดท้าย ทารก จะสลัดขนอ่อนตามร่างกายออกเกือบหมด เหลือไว้แต่บริเวณไหล่ แขน ขา และรอยย่นตามลำตัว ผิวหนังนุ่มและเรียบ ยังคงมีไขสีขาว เคลือบอยู่บ้างบริวเณหลังเพื่อหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่าย เล็บมือจะ ยาว ปลายเล็บอาจข่วนบริเวณใบหน้าได้ ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมน เร่งความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกของชีวิต หลังคลอด ระบบ ภูมิคุ้มกันโรคของลูกในครรภ์ยังทำงานไม่ได้ ต้องอาศัยภูมิต้าน ทานโรคต่างๆ จากคุณแม่ผ่านทางรก ถ้าคุณแม่มีภูมิต้านทานโรค เช่น ไข้หวัด คางทูม หัดเยอรมัน ลูกก็จะได้รับภูมิคุ้มกันโรคเหล่านั้นครบ หมด และยังจะได้รับต่อเนื่องผ่านทางน้ำนมแม่ด้วย คุณแม่จะรู้สึกว่าลูก ดิ้นน้อยลงกว่าเดิมเพราะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ก็ยังคงรู้สึกว่าลูกเตะถีบในบางครั้งได้ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัว 3 - 4 กก. และมีความยาวจากศีรษะถึงก้นประมาณ 35 - 37 ซม. |
ที่มา www.sudrak.com |