ข้อความเผยแพร่โรคสะเก็ดเงิน เรื่อง โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ การรักษาก่อนเกิดโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ


1,272 ผู้ชม


 
 
การประชุมผู้ป่วยสะเก็ดเงินแบบองค์รวม
เรื่อง “ดูแลเล็บอย่างเข้าใจ ช่วยแก้ไขโรคสะเก็ดเงิน”
วันพุธที่ 26 มีนาคม 2551 เวลา 13.30-15.00 น.
ห้องประชุมประชาโมกขะเวส แผนกตรวจโรคผิวหนัง ตึกผู้ป่วนนอก ชั้น 4
วิทยากร
-  คุณจุภาภรณ์ กังวานภูมิ พยาบาลจากคลินิกเล็บ ห้องผ่าตัดเล็ก ภาควิชาศัลยศาสตร์
-  คุณนฤมล ทองอินทร์  พยาบาลจากคลินิกเล็บ ห้องผ่าตัดเล็ก ภาควิชาศัลยศาสตร์
- คุณผกามาศ  รัตนสุวรรณ พยาบาลจากห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก แผนกผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา
-  รศ.นพ.ป่วน  สุทธิพินิจธรรม
                จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  26 คน
สรุปเนื้อหาการประชุม
ช่วงที่ 1 : รศ.อ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม เกริ่นนำและให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธินาน 5 นาที
ช่วงที่ 2 : รศ.อ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม บรรยายความรู้เรื่อง ความผิดปกติของเล็บในโรคสะเก็ดเงิน
สรุปดังนี้
- โครงสร้างของผิวหนังประกอบด้วย 3 ส่วน
                - หนังกำพร้า เป็นผิวหนังชั้นนอกสุด จะมีเซลล์แม่อยู่ด้านล่างทำหน้าที่คอยแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่ดันขึ้นด้านบน ส่วนเซลล์เก่าชั้นบนสุดจะหลุดออกไปเป็นขี้ไคล ช่วงเวลาหมุนเวียนของชั้นกำพร้าใช้เวลา 4 สัปดาห์ ช่วงเวลาหมุนเวียนของชั้นขี้ไคลใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีความหนาของชั้นหนังกำพร้าแตกต่างกัน เช่น หนามากที่ฝ่ามือฝ่าเท้า
                - หนังแท้ จะมีเส้นเลือด เส้นประสาท ต่อมเหงื่อ อยู่ภายใน
                - ไขมันใต้ผิวหนัง
- ผิวหนังแต่ละส่วนของร่างกายจะมีความแตกต่างกันไป เช่น ผิวหนังที่หนังศีรษะ จะมีเส้นผม ซึ่งประกอบด้วยรากผมและเส้นผมอยู่จำนวนมาก
- โครงสร้างของเล็บ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                1. แม่เล็บ จะเป็นส่วนที่อยู่ใต้โคนส่วนต้นของเล็บ ในบางคนเห็นเป็นวงคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวสีขาวที่โคนเล็บ เรียก lanula ทำหน้าที่สร้างเล็บแผ่นด้านบน
                2. พื้นเล็บ อยู่ด้านล่างทำหน้าที่สร้างเล็บแผ่นด้านล่าง ซึ่งจะงอกขึ้นไปประกบกับเล็บแผ่นด้านบนที่สร้างมาจากแม่เล็บ และงอกออกมาเป็นแผ่นเดียวกัน
                3. แผ่นเล็บ แผ่นสี่เหลี่ยม งอกจากโคนจนถึงปลายนิ้ว ใช้เวลางอก 3 mm ต่อเดือน
-          ความผิดปกติของเล็บในโรคสะเก็ดเงิน
ความ ผิดปกติที่เล็บเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยที่มีเล็บผิดปกติบางราย อาจมีอาการทางข้อร่วมด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเล็บผิดปกติควรหมั่นสังเกตอาการทางข้อ เพื่อจะได้รับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมสำหรับป้องกันการ ผิดรูปของข้อ
เล็บผิดปกติที่พบบ่อยในโรคสะเก็ดเงิน มีดังนี้
1.       เล็บ เป็นหลุม เป็นความผิดปกติที่แม่เล็บทำให้ผิวเล็บส่วนบนมีลักษณะขรุขระเป็นหลุม ส่วนเล็บด้านล่างที่สร้างจากพื้นเล็บปกติ ลักษณะดังกล่าวพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายมีอาการเล็บเป็นหลุมก่อนอาการทางผิวหนังหรือทาง ข้อ
2.       เล็บ ร่อน เป็นความผิดปกติที่พื้นเล็บทำให้ผิวเล็บด้านล่างมีขุยสีขาวอยู่ใต้เล็บ ผิวเล็บด้านบนที่สร้างจากแม่เล็บปกติ ดังนั้นการทายาให้ได้ผลการรักษาที่ดี ควรตัดเล็บบริเวณที่ร่อนออกจนถึงจุดที่เล็บเริ่มร่อน และทายาที่บริเวณพื้นเล็บตรงจุดที่เล็บเริ่มร่อน
3.       เล็บเป็นหนองในโรคสะเก็ดเงิน เป็นความผิดปกติเกิดจากเม็ดเลือดขาวมารวมตัวกัน ถ้านำหนองมาตรวจจะไม่พบเชื้อโรค และเพาะเชื้อไม่ขึ้น
4.       เล็บมีแถบสีแดง (salmon patch) เป็นความผิดปกติเกิดจากเส้นเลือดขยายออก
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเล็บผิดปกติจากโรคสะเก็ดเงินจำเป็นต้องแยกจากภาวะหรือโรคดังต่อไปนี้
1.       โรค เชื้อราที่เล็บ โดยเชื้อราเป็นปัจจัยภายนอกที่เข้าไปทำลายเล็บ โรคเชื้อราที่เล็บส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และไม่ทำให้เล็บผิดรูปพร้อมกันทุกเล็บ ต่างกับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นปัจจัยจากภายใน จึงสามารถทำให้เล็บผิดรูปพร้อมกันได้ทั้งยี่สิบเล็บ การแยกโรคเชื้อราที่เล็บออกจากโรคสะเก็ดเงินสามารถทำได้โดย
1.       การตรวจร่างกาย ดูรอยโรคสะเก็ดเงินที่ผิวหนังส่วนต่างๆ และหนังศีรษะว่ามีหรือไม่
2.       การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขูดหรืดตัดเล็บผิดปกติดังกล่าวส่งย้อมดูเชื้อราและเพาะเชื้อรา
3.       การติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดว่า การดำเนินโรคเป็นอย่างไร ตอบสนองต่อการรักษาอย่างไร
2.       โรค เชื้อแบคทีเรียที่เล็บ จำเป็นต้องแยกกับเล็บเป็นหนองในโรคสะเก็ดเงิน โดยการนำหนองส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ย้อมและเพาะเชื้อหาเชื้อแบคทีเรีย
3.       โรค จมูกเล็บอักเสบ ทำให้สร้างเล็บผิดรูป มักพบในผู้ป่วยที่ทำงานสัมผัสกับน้ำ เช่น แม่บ้าน จะพบจมูกเล็บบวมแดง บางครั้งอาจติดเชื้อราร่วมด้วยได้ การรักษาที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ
4.       เล็บมีสีผิดปกติ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ
1.       ปัจจัยภายนอก เช่น เครื่องสำอาง หรือโลหะหนักบางชนิด
2.       ปัจจัยภายใน เช่น ความผิปกติที่ตับและไตทำให้เล็บมีสีขาวได้
3.       เล็บมีสีผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น กลุ่มอาการเล็บสีเหลือง ( yellow nail syndrome)
5.       โรคเล็บผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น เด็กที่เกิดมาโดยไม่มีเล็บ (congenital anonychia)
ช่วงที่ 3 : คุณจุภาภรณ์และคุณนฤมล สาธิตการดูแลรักษาเล็บ มาสาธิตการดูแลเล็บในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
-          เครื่อง มือที่ใช้ดูแลเล็บเป็นเครื่องมือที่สะอาด ผ่านการอบฆ่าเชื้อ ประกอบด้วย กรรไกรตัดเล็บ กรรไกรตัดหนัง ตะไบเล็บอันใหญ่และเล็ก ปากคีบอันเล็ก ที่ขูดเล็บ
-          น้ำเกลือที่ใช้เช็ดแผล
-          ข้อแนะนำจากพยาบาลคลินิกเล็บมีดังนี้
1.       น้ำยาที่ใช้ในการตัดเล็บที่ดีคือ น้ำเกลือ ไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอร์หรือเบตาดีน
2.       การตัดเล็บควรตัดให้ขอบตรง ไม่ควรตัดเข้ามุม
 -      ถ้าผู้ป่วยท่านใดสนใจจะเข้ารับบริการของคลินิกเล็บ ห้องผ่าตัดเล็ก ภาควิชาศัลยศาสตร์สามารถติดต่อสอบถามได้ที่  02-4197360, 02-4199721 หรือ คลินิกเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู 02-4197504
ที่มา  www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด