รักษาซิฟิลิส ด้วย ยารักษาโรคซิฟิลิส ที่ปลอดภัย !!


1,144 ผู้ชม


คุณเคยรู้จักโรคซิฟิลิส Syphilis หรือเปล่า

คนส่วนใหญ่จะเข้าในว่าโรคซิฟิลิส Syphilis กับ หนองใน คือโรคเดี่ยวกัน

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกเช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้ากระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่างๆทำให้เกิด โรคตามอวัยวะ โรคนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่

  • primary
  • secondary
  • latent
  • tertiary (or late)

คนเราติดเชื้อโรคนี้ได้อย่างไร

ทางเพศสัมพันธ์

  • เชื้อโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
  • เชื้อโรคจะติดต่อได้บ่อยในระยะ primary เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีอาการ
  • ในระยะ secondary จะมีหูดระยะนี้จะมีเชื้อโรคปริมาณมากหากสัมผัสอาจจะทำให้เกิดการติดต่อ

การติดต่อทางอื่น

  • เชื้อจะอ่อนแอตายง่ายดังนั้นการสัมผัสมือหรือการนั่งโถส้วมจะไม่ติดต่อ
  • หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ

จากแม่ไปลูก

  • เชื้อสามารถติดจากแม่ไปลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด

อาการของโรค

Primary Syphilis

ในระยะ primary รอยโรคจะปรากฏเป็นแผลริมแข็ง Chancre ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

  • หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วันจะมีตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศตรงบริเวณที่เชื้อเข้า
  • แผลมักจะเป็นแผลเดียว ไม่เจ็บ ขอบนูน ต่อมน้ำเหลืองจะโตกดไม่เจ็บ
  • ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก
  • แผลจะอยู่ 1-5สัปดาห์แผลจะหายไปเอง
  • แม้ว่าแผลจะหายไปแต่ยังคงมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือด
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเอดส์ และมีขนาดใหญ่และมีอาการเจ็บมาก
  • การตรวจเลือกในช่วงนี้อาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Secondary Syphilis

  • ระยะนี้จะเกิดหลังได้รับเชื้อ 17วัน- 6 เดือน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ประมาณ 2-6 สัปดาห์แล้วจะหายไปแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดตามข้อเนื่องจากข้ออักเสบ

อาการที่สำคัญมีดังนี้

  • มีผื่นสีแดงน้ำตาลที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน
  • ผื่นนี้สามารถพบได้ทั่วตัว
  • จะพบหูด Condylomata lata บริเวณที่อับชื้น เช่นรักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ
  • จะพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก
  • ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  • ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย
  • อาการเหล่านี้จะอยู่ได้ 1-3 เดือนหายไปได้เอง และอาจจะกลับเป็นซ้ำ
  • การตรวจเลือดในช่วงนี้จะให้ผลบวก

Latent Stage ระยะแฝง

  • ช่วงนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรค ช่วงนี้กินเวลา 2-30 ปีหลังจากได้รับเชื้อ
  • ในช่วงนี้จะทราบได้โดยการเจาะเลือดตรวจ
  • ในระยะนี้อาจจะเกิดผื่นเหมือนในระยะ Secondary Syphilis
  • ในระยะนี้หากตั้งครรภ์ เชื้อสามารถติดไปยังลูกได้

Late Stage (Tertiary)

  • ระยะนี้จะกินเวลา 2-30 ปีหลังได้รับเชื้อ
  • ระยะนี้เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะต่างๆเช่น หัวใจและหลอดเลือด สมองทำให้อ่อนแรงหรืออาจจะตาบอด กระดูกหักง่าย
  • หากไม่รักษาให้ทัน อวัยวะต่างๆจะถูกทำลายโดยที่ไม่สามารถกลับเป็นปกติ
  • การตรวจเลือดอาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Congenital Syphilis

หมายถึงทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กจะมีอาการดังนี้

  • เด็กจะมีอาการหลังคลอด 3-8 สัปดาห์
  • อาการอาจจะมีเล็กน้อยจนไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษา
  • เด็กโตขึ้นจะกลายเป็นระยะ Late Stage (Tertiary)

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นซิฟิลิส

การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการนำหนองจากแผล หรือเลือดไปตรวจหาตัวเชื้อ การตรวจเชื้อทำได้โดย

>>>>Darkfield Exam<<<<

  • การตรวจทำไดโดยการน้ำเหลืองจากแผลหรือผื่นที่สงสัยไปตรวจ
  • นำน้ำเหลืองนั้นไปส่องกล้องเพื่อหาตัวเชื้อ
  • การตรวจนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งระยะ Primary Syphilis และ Secondary Syphilis

>>>>การตรวจเลือด<<<<

  • การเจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อซิฟิลิสทำได้ 2วิธีคือ
  • การ เจาะเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่การเจาะ VDRL (Venereal Disease Research Laboratory) หรือ RPR (Rapid Plasma Reagent) หากให้ผลบวกต้องเจาะเลือดอีกเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
  • การเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test) หรือ MHA-TP (Microhemagglutination-Treponema Pallidum)

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เคยเป็นซิฟิลิสมาก่อนอาจจะให้ผลบวกหลอกโดยที่ไม่เป็นโรค

  • Cerebrospinal Fluid Test การตรวจน้ำไขสันหลังจะทำในรายสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในระบบประสาท

การรักษาโรคนี้ต้องทำอย่างไร

  • ยาที่ใช้รักษาคือ Penicillin
  • การรักษาต้องรักษาทั้งคู่
  • หลังจากรักษา 6 เดือนต้องตรวจซ้ำหลังจากนั้นตรวจทุกปี

   ข้อมูลจาก  ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร

     ประวัติความเป็นมา
          เมื่อปี  พ.ศ. 2480 ได้ มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง “เทศบาลกรุงเทพมหานคร” และพระราชกฤษฎีกามอบกิจการ“กองสาธารณสุขพระนคร” สังกัดกระทรวงมหาดไทยให้แก่เทศบาลกรุงเทพมหานคร  และได้เปิดดำเนินการในวันที่  27พฤษภาคม 2480 โดยใช้ชื่อ “กองสาธารณสุขพระนคร เทศบาลนครกรุงเทพ”และในปี พ.ศ. 2489 :  เริ่มมีการจัดตั้ง “สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก” เป็นแห่งแรกที่สะพานมอญ  โดยใช้ที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสถานที่ตั้ง  และเน้นให้บริการ เน้นด้านอนามัยแม่และเด็ก การตรวจสุขภาพแม่และเด็ก แนะนำวิธีเลี้ยงบุตร   รวมทั้งการตรวจรักษาโรคแบบผู้ป่วยนอก(OPD)กับประชาชนทั่วไป    ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2504 :  ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก”(ในตอนนั้นมี 8 แห่ง)  มาเป็น  “ศูนย์บริการสาธารณสุข”  โดยมีหมายเลขของศูนย์กำกับต่อท้ายชื่อเพื่อแสดงถึงลำดับที่ในการเปิด  เช่น “ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 สะพานมอญ”
หลังจากนั้นก็ได้มีการขยายการให้บริการโดยมีการเพิ่มศูนย์อย่างต่อเนื่องซึ่งปีพ.ศ. 2550  มีศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด   68 แห่ง

          ปัจจุบัน ศูนย์บริการสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขภาพและอนามัยของประชาชน  การบำบัดรักษาผู้ป่วย  การส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมป้องกันโรค โดยมีบริการเช่น

การบริการภายในศูนย์

คลินิกพิเศษ
(บางศูนย์เท่านั้น)

งานบริการนอกศูนย์

  • คลินิกรักษาโรคทั่วไป
  • คลินิกทันตกรรม
  • คลินิกฝากครรภ์
  • คลินิกวางแผนครอบครัว
  • คลินิกสุขภาพเด็กดี
  • คลินิกสุขภาพสตรี
  • คลินิกส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทอง
  • คลินิกครอบครัว       สมานทฉันท
  • คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • คลินิกเบาหวาน
  • คลินิกวัณโรค
  • คลินิกกามโรค
  • คลินิกนิรนาม
  • คลินิกโรคผิวหนัง
  • คลินิกผู้สูงอายุ
  • คลินิกทันตกรรมพิเศษ (ทันตกรรมเฉพาะเช่นทันตกรรมเด็ก  ผ่าตัดฝันคุด เป็นต้น)
  • คลินิกสุขภาพจิต
  • คลินิกยาเสพติด
  • สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน  รับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
  • บริการพยาบาลในชุมชน
  • บริการอนามัยในโรงเรียน
  • บริการด้านสังคมสงเคราะห์
  • บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่
  • บริการสาธารณสุขมูลฐาน  (อบรบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน)
ที่มา  learners.in.th

อัพเดทล่าสุด