วิธีแก้เป็นลมพิษ และ รักษาลมพิษเรื้อรัง ด้วย ยา รักษา ลมพิษ โดยตรง


1,576 ผู้ชม


โรคลมพิษ Urticaria

โรคลมพิษเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง หากอาการเป็นมากจนถึงขั้นช็อกหมดสติ

อาการ 

จะเริ่มด้วยอาการคันหลัง จากนั้นจะมีอาการบวม wheals อาจจะเป็นขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่โดยตรงกลางผ่ื่นสีจะจางและไม่นูน โดยมากผื่นจะหายไปใน 24 ชั่วโมงถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงให้นึกว่าอาจจะเป็นโรคอื่น ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการบวมของหนังตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ ทางเดินหายใจเรียก Angioedema ผู้ป่วยอาจจะมีทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉิน โรคลมพิษแบ่งเป็นสองชนิด

  • ลมพิษชนิดปัจจุบัน Acute urticaria เกิดอาการลมพิษหลังจากได้รับสารทีแพ้ ผื่นมักจะหายใน 24 ชั่วโมง แต่บางคนผื่นอาจจะอยู่ได้ 2-3 วัน สาเหตุมักจะเกิดจากอาหาร ยา และการติดเชื้อไวรัส
  • ลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria เป็นลมพิษที่เป็นเรื้อรังเกิน 6สัปดาห์ สาเหตุอาจจะเกิดจากได้รับสารที่แพ้อย่างต่อเนื่อง เช่น ได้รับยาปฏิชีวนะที่อยู่ในนม สารถนอมอาหาร สีสารปรุงรส

Angioedema

1

Agioedema เป็นอาการบวมของหนังตาและปาก

กลไการเกิดจะเหมือนกับลมพิษ ลักษณะที่สำคัญได้แก่

  • การบวมจะอยู่ลึกถึงชั้นหนังแท้และชั้นไขมัน
  • ตำแหน่งที่เกิดมักจะอยู่บริเวณใบหน้า หนังตา ลิ้น อวัยวะเพศ
  • ไม่ค่อยพบบริเวณแขนหรือขา
  • ผื่นมักจะไม่คัน

ชนิดและสาเหตุของลมพิษปัจจุบันได้แก

  • ยา ที่ จริงแล้ว ยาทุกชนิดมีโอกาสทำให้เกิดผื่นลมพิษได้ทั้งสิ้น แต่ชนิดที่มักเป็นสาเหตุได้บ่อย ได้ แก่ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาคลายเครียดและระงับประสาท การสืบค้นว่ายาชนิดใดเป็นสาเหตุต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งผู้ป่วย และแพทย์ มียาบางชนิดที่ผู้ป่วยอาจนึกไม่ถึงว่า อาจเป็นสาเหตุของลมพิษ ได้แก่ ไวตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดหู ยาหยอดตา ยาลูกกลอน หรือยาแผนโบราณชนิดต่างๆ ที่ผู้ป่วยอาจซื้อมารับประทานเองก็ได้ แพ้ยา เช่น penicillin sulfonamide salocylate tetracyclin barbiturates codiene quinine phenylbutazone streptomycin chloramphenicol griseofluvin inh nitrfurantoin
  • แมลงต่อยเช่น ผึ้ง มด ต่อ
  • อาหาร การ เกิดลมพิษ อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือสิ่งอื่นที่ผสมอยู่ในอาหาร เช่น สารแต่งกลิ่นรส สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือ สิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ผื่นอาจขึ้นภายในเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมงภายหลังรับประทานอาหารที่มีรายงาน ว่าทำให้ลมพิษขึ้น ได้แก่ ถั่ว ปลา ไข่ นม ชอกโกแลต มะเขือเทศ และผลไม้สด บางชนิด หากสงสัยว่าแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะต้องจัดชนิดของอาหารที่รับประทานทุกมื้อในแต่ละวัน เพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อรับประทานอาหารชนิดใดแล้วผื่นขึ้นมาบ้าง และอาจลองหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยดูว่าผื่นลมพิษจะหายไปหรือไม่
     
  • การติดเชื้อ ชนิด ที่เป็นสาเหตุของลมพิษได้บ่อยคือ การเป็นหวัด และการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูกอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเป็นการอักเสบเฉพาะที่ เช่น ฟันผุ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อการในช่องคลอดสตรี หรือการมีพยาธิลำไส้ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจหาการอับเสบติดเชื้อเหล่านี้และให้การรักษา การติดเชื้อบางอย่าง เช่น ตับอักเสบ หัด

    Physical urticaria

    สาเหตุทางกายภาพ สาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเย็น ความร้อน แสงแดด แรงกดรัด

    ความสั่นสะเทือนน้ำ การออกกำลังกาย หากลมพิษเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ผู้ป่วยจะเป็นผู้สังเกตได้ดีกว่าแพทย์และอาจ ทดสอบง่ายๆ โดยทดลองทำกิจกรรมที่สงสัยนั้นซ้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจากความร้อน เมื่อไปเล่นกีฬาจนเหงื่อออกจะเกิดลมพิษขึ้นทุกครั้ง และเมือพักลมพิษจะหายไปเอง เป็นต้น

Cold-induce urticaria

1

ผื่นที่แขนหลังจากถูกปน้ำแข็งประคบ

  • เป็นผื่นลมพิษเมื่อผิวหนังเจอกับอากาศเย็น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเย็นจัด โดยมาก จะเกิดผื่นหลังจากผิวหนังพบกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยกระทันหัน
  • เมื่อผิวหนังเจอกับอากาศเย็นจะเกิดอาการคัน มีผื่นขึ้นและบวม
  • ผื่นมักจะเกิดกับผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับความเย็น
  • หากผิวหนังส่วณใหญ่เจอกับความเย็น และเกิดมักจะรุนแรงจนกระทั่งความดันโลหิตต่ำ
  • การทดสอบทำได้โดยการใช้น้ำแข็งแตะผิวหนัง ก็จะปรากฎผื่นบริเวณที่แตะ
  • การรักษาจะให้ยา cyproheptadine

Heat induce urticaria

  • เป็นผื่นลมพิษที่เกิดหลังจากสัมผัสความร้อน
  • ผื่นอาจจเกิดขึ้นเฉพาะที่ หรืออาจจะเกิดทั่วร่างกาย
  • มักจะพบร่วมกับภาวะผื่นลมพิษเมื่อสัมผัสความเย็น
  • กลไกการเกิดผื่นยังไม่ทราบ

Cholinergic urticaria

1

ผื่นลมพิษ Cholinergic urticaria

เป็นลมพิษขนาดเล็กและคันที่เกิดจากสาเหตุดุงต่อไปนี้

  • การออกกำลังกาย
  • การอาบน้ำอุ่น
  • มีเหงื่อออก
  • ความเครียด
  • การรักษาให้ยา hydroxazine

ผื่นสามารถพบได้ทั่วตัว แต่มักจะไม่พบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้

Exercise induce urticaria

  • เป็นผื่นลมพิษที่เกิดจากการออกกำลังกาย
  • ผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิด cholinergic urticaria อาจจะมีหนังตาหรือหน้า(angioedema)บวม
  • บางรายอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย ตัวอุ่น หรืออาจจะมีอาการหลอดลมเกร็ง ทำให้เกิดอาการหอบหืด

    11

    ผื่นลมพิษชนิด Dermograph เกิดจากการขีดหรือกดทับ

  • รายที่เป็นมากอาจจะมีความดันโลหิตต่ำ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารก่อนออกกำลังกาย 3 ชั่วโมงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดผื่น
  • หากเกิดผื่นให้หยุดการออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังอาหาร

Dermographism

  • เมื่อเอามือขูดผิวหนังจะทำให้เกิดผื่นตามแนวที่ขีด ผื่นมักจะหายใน 15 นาที
  • มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นลมพิษเรื้อรัง

Delated pressure-induced urticaria

  • เป็นลมพิษที่เกิดจากมีการรัดหรือกระแทก
  • มักจะเกิดผื่นหลังจากได้รับแรงกด 4-6 ชั่วโมง
  • มักพบในผู้ป่วยที่เป็นลมพิษเรื้อรัง
  • การเกิดลมพิษจะเกิดในภาวะ ผิวหนังที่มีแรงรัดหรือกด เช่นขอบกางเกงหรือยกทรง มือเช่นการตอกตะปู ก้นเกิดจากการนั่งนานๆ เท้าเกิดจากการเดินนานๆ

Urticaria with vasculitis

เป็นลมพิษซึ่งเกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด( vasculitis) ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดข้อ หรือข้ออักเสบ ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน

  • ผื่นมักจะเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมง
  • ผื่นมักจะเกิดบริเวณขา
  • มักจะมีอาการคัน
  • เมื่อผื่นหายมักจะมีรอยดำเหลือไว้(ผื่นลมพิษชนิดอื่นเมื่อหายผิวหนังจะเป็นปกติ)
  • อาจจะพบร่วมกับโรค SLE การติดเชื้อหวัด ไวรัสตับอักเสบบี

ท่านจะทราบสาเหตุของลมพิษได้อย่างไร

  • ท่านแพ้ยาหรือไม่หากท่านรับประทานยาที่แพ้ก็จะทำให้เกิดผื่นลมพิษ
  • อาหาร ท่านอาจจะแพ้อาหารที่รับประทานก็ได้ อาหารที่แพ้บ่อยคือ ถั่ว อาหารทะเล สี ยีสต์
  • จากทางหายใจ เช่นเกษรดอกไม้ ควันธูป ยาฆ่าแมลง
  • ท่านมีไข้หรือไม่ หากมีไข้ผื่นที่เกิดอาจจะมาจากการติดเชื้อ เช่นไข้หวัด ปอดบวม พยาธิ์
  • แมลงกัดหรือต่อยหรือไม่
  • ท่านมีโรคประจำตัวหรือไม่ SLE ธัยรอยด์
  • รับประทานยา aspirin อยู่หรือไม่
  • สภาวะแวดล้อม เช่น ความร้อน ความเย็น แรงกดรัด แสง

การรักษา

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้หรือสงสัยว่าจะแพ้
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่นภาวะเครียด การดื่มสุรา
  • ผู้ที่เป็นลมพิษเรื้อรังให้หลีกเลี่ยงการรับประทานยา aspirin ยาลดความดันกลุ่ม ACEi

การรักษาด้วยยา

  • ในรายที่เป็นรุนแรงให้ใช้ยา epinephrine
  • ให้ยา H1-antihistamines
  • หากให้ยาในกลุ่มแรกไม่ได้ผล ให้ยากลุ่ม H2-antihistamine,Tricyclic antidepressant
  • หากไม่ได้ผลก็ให้ยา steroid
  • ให้ยาแก้แพ้ เช่น chlorpheniramine 4 mgวันละ4 ครั้ง, diphenhydramine 50 mgวันละ 4 ครั้ง, hydroxyzine 25 mgวันละ 2 ครั้ง
  • ในรายที่รุนแรงให้ prednisolone 30-40 mg ต่อวัน
  • ผู้ป่วยที่เป็นรุนแรง Angioedema ควรพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุดต้องรีบให้ epinephrine 1:1000,0.3cc s.c.
ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด