งานวิจัยโรคซึมเศร้า และ ภาวะโรคซึมเศร้า


1,621 ผู้ชม


งานวิจัยโรคซึมเศร้า  ภาวะโรคซึมเศร้า


รหัสวิจัย : Code Research

0074

ชื่อเรื่องภาษาไทย:Thai Title

การทบทวนวรรณกรรมปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า.

ชื่อภาษาอังกฤษ:English Title

Review Literature of Relationship to Risk Factors for Major Depressive Disorders-

ผู้แต่ง: Author

จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน เกษราภรณ์ เคนบุปผา ธรณินทร์ กอสุข

หน่วยงาน:Department

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ปีที่ดำเนินการ:

ปี 2549

บทคัดย่อ : Abstract

หลักการและเหตุผล โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs)สูงที่สุดปี 2546 พบความชุกของโรคซึมเศร้าในคนไทย ร้อยละ 3.2 เพื่อลดหรือป้องกันอัตราการสูญเสียไม่ให้เพิ่มขึ้น จึงควรมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเพื่อ นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การวิจัยและการป้องกันต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ซึมเศร้า ขอบเขตการวิจัย ทบทวนวรรณกรรมของประเทศไทยและ ต่างประเทศ ใน 10 ปีที่ผ่านมาระหว่าง พ.ศ. 2539-2549 เป็นผลงานการศึกษาแบบ Systematic Review, Prospective Cohort Studiesn Case-Control Studies โดยใช้แหล่งข้อมูลจาก Electronic based ในกรณีงานวิจัยที่ไม่สามารถค้น Full Text/Original Article ไปค้นหา Full Text/Original Article และทำ Critical Appraisal พร้อมกับจัดลำดับและความหนักแน่นหลักฐานทางวิชาการ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการทบทวนวรรณกรรม ผลงานวิจัยที่มี การศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงที่มีค่าความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า (OR หรือ RR)=2.5 และมีค่านัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สรุปผลการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมค้นหาทาง Internet และห้องสมุดที่คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบงานวิจัยตามหัวข้อที่ค้นหาเริ่มปี 1999 จนถึงปี 2006 ได้งานวิจัยที่ตรงกัน จำนวน 14 เรื่อง มี 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่มี เหตุการณ์ คนปกติหรือ ผู้ที่ไม่เคยอยู่ในภาวะเหล่านี้ ได้แก่ 1)เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การถูกทำร้ายอย่างรุนแรง (OR=25.3) การมีปัญหาหนักทางการเงิน (OR=5.8) ครอบครัวมีปัญหากันอย่างรุนแรง (OR=7.2) การเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง (OR=3.1) ตกงาน (OR=3.9) การถูกฟ้องร้อง มีคดีความ (OR=10.8) เกิดการสูญเสียจากการตาย การพลัดพราก และการเสื่อมเสียชื่อเสียง อับอาย ขายหน้า (OR2.9,OR=3.1,OR=3.0 ตามลำดับ) 2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก การถูกทำร้ายทางร่างกาย (OR=4.8) การถูกทารุณกรรมทางเพศ (OR=4.6) 3) ปัญหา/พฤติกรรมของพ่อแม่และครอบครัว พ่อและแม่มีปัญหาภาวะซึมเศร้า (OR=3.9 และ 3.4 ตามลำดับ) พ่อและแม่ก้าวร้าว (OR=3.3 และ 4.4 ตามลำดับ) แม่มีปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ (OR=2.8) ในวัยหนุ่มถูกทำร้ายร่างกายและถูกทารุณกรรมทางเพศ (OR=3.6 และ 6.7 ตามลำดับ) การเจ็บป่วยเรื้อรัง (OR=3.0) การป่วยเป็นโรคจากแอลกอฮอล์/ยาเสพติด (OR=4.3) ญาติสายเลือดเดียวกันเป็นโรคซึมเศร้า (OR=2.8) การย้ายที่อยู่อาศัยไปที่ห่างไกล ทุรกันดาร (OR=3.3) การสนับสนุนจากสังคมต่ำ (OR=3.1) มีปัญหาการนอนนาน=10 ชม. (OR=4.0) 4) การติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด การติดแอลกอฮอล์(OR=3.1) โรคพิษสุรา (OR=3.0) การดื่มแอลกอฮอล์หนักติดต่อกัน 30 วัน (OR=3.8) การดื่มแอลกอฮอล์หนักเพราะใช้ยาเสพติดร่วมด้วย (OR=4.5) การใช้กัญชา (OR=4.0) 5) ปัจจัยทางสภาพจิตสังคม การพยายามฆ่าตัวตาย (OR=2.9)การเป็นพ่อแม่ใหม่ (OR=3.7) ข้อเสนอแนะ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ประสบการณ์ในวัยเด็ก ปัญหา/พฤติกรรมของพ่อแม่และครอบครัว การติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด และปัจจัยทางสภาพจิตสังคม เป็นปัจจัยที่มีความเป็นไปได้สูงในการเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า และเสี่ยงที่มีค่าความชุกสูงในประชาชนไทย ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศมีนโยบายของประเทศเกี่ยวข้อง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถให้การส่งเสริม ป้องกันได้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรพิจารณานำมาเป็นข้อมูลในการวิจัยหาปัจจัยเสี่ยง และหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าในคนไทยต่อไป

 

อ้างอิง :Reference

ประชุม วิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 167.


ที่มา  www.jvkk.go.th


อัพเดทล่าสุด