อาหาร กับ โรค ไมเกรน - แนะนำ อาหารสำหรับคนเป็นไมเกรน !!


866 ผู้ชม


อาหารสำหรับคนเป็นไมเกรน
      ไมเกรนคืออะไร
สารอาหารที่มีหลักฐานการวิจัยว่าช่วยรักษาอาการไมเกรน
วิธีรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
วิธีการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยไมเกรน

ไมเกรนคืออะไร
อาการปวดหัวแบบ ไมเกรน จะเป็นอาการปวดที่สร้างความรำคาญ ทรมานให้กับผู้ป่วย โดยจะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุ๊บๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตาเหมือนหัวใจเต้นตุ๊บๆ ที่ปวดน้อยๆ มักจะไม่ใช่ ไมเกรน อาการปวด ไมเกรน อาจจะปวดได้นาน 2-3 วันหรืออาจจะปวด 2-4 ชั่วโมง และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเ วลาหายปวดจะหายสนิท อาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด ไม่แน่เสมอไปที่ว่าอาการปวดหัวข้างเดียวคืออาการปวด ไมเกรน อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คอตกหมอน เนื้องอก เป็นต้น
สารอาหารที่มีหลักฐานการวิจัยว่าช่วยรักษาอาการไมเกรน
สารอาหารที่พบว่ามีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจน
► 5-HTP
แคลซียม/แมกนีเซียม
► Feverfew
► Riboflavin (Vitamin B2)
สารอาหารที่พบว่าน่าจะมีผล
St. John's wort
นอกจากนี้แล้วอาหารพวก วิตามินบี ก็มีรายงานว่าสามารถช่วยในรายที่มีอาการ ไมเกรน บ่อยได้ อีกทั้งการรับประทานอาการพวกปลาซึ่งจะมีสารอาหาร Omega-3 ก็จะทำให้ลดการเกิดอาการ ไมเกรน ได้
วิธีรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้ง แคลซียม และ แมกนีเซียม สารอาหารที่ดีในการช่วยป้องกันอาการไมเกรน คือพวกมันจะไปบำรุงระบบหลอดเลือดและการทำงานของสารสื่อประสาท ยังมีรายงานด้วยว่าคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไมเกรนมักจะมีอาการขาด แมกนีเซียม และทั้ง แคลซียม และ แมกนีเซียม เป็นสารอาหารที่สามารถรับประทานได้ต่อเนื่องได้โดยไม่มีปัญหา
นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอีก 3 ชนิดที่ช่วยป้องกันและลดโอกาสเกิดอาการไมเกรน ตัวหนึ่งนั้นคือ Feverfew มันจะไปยับยั้งการขยายตัวของหลอดเลือดเล็กๆ ในสมอง ตัวถัดมาคือ 5-HTP มันจะไปช่วยเพิ่มปริมาณ Serotonin ในสมอง ที่จะสามารถยับยั้งการเกิดไมเกรนได้ สุดท้ายก็วิตามินบี2 (Riboflavin) ซึ่งจะช่วยการสร้างเซลของหลอดเลือด ทั้ง 3 ตัวนี้สามารถใช้ร่วมกันหรือรับประทานตัวใดตัวหนึ่ง โดยควรจะรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์
เรามักจะเห็นแพทย์อาจจ่ายยากลุ่ม รักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant) แก่ผู้ป่วย ไมเกรน จึงเชื่อว่า St. John's wort ซึ่งยังไม่มีการทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยไมเกรนและมันมีผลต่อการสร้าง Serotonin เช่นกันก็มีบางท่านเชื่อว่ามันน่าจะมีผลดีคล้ายกับการรับประทานยากลุ่มรักษา อาการซึมเศร้า (Antidepressant) ถ้าจะรับประทาน St. John's wort ต้องรับประทาน 900 มิลลิกรัมติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
วิธีการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยไมเกรน
อาหารบางชนิดที่เรารับประทานเข้าอาจจะมีสารบางอย่างที่ไปกระตุ้นให้เกิด อาการ ไมเกรน ได้ ดังนั้นผู้มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรค ไมเกรน ควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่จะกระตุ้นอาการปวด ไมเกรน
► อาหารที่มีไทรามีน (Tyramine) ไทรามีนเป็นเอมีนชนิดหนึ่ง พบได้มากในอาหารพวก เนย ชีส ช็อคโกแลต กล้วยสุก ส้ม ไวน์แดง เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ใช่คนที่เป็น ไมเกรน จะตอบสนองต่ออาหารที่มีไทรามีนทุกคน
► สารปรุงแต่งอาหาร สารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไม่เกรน ได้ เช่น
► สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม
► สารแต่งรส เช่น ผงชูรส แอสปาแตม (Aspatame)
2. ลดการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เนื่องจากสารเหล่านี้หากดื่มในปริมาณมากจะไปมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด หรือมีผลต่อสุขภาพการนอนหลับได้ ทำให้มีผลต่อการเกิด ไมเกรน ได้เช่นกัน


ที่มา  www.healthdd.com

อัพเดทล่าสุด