สารอาหารที่มีไอโอดีนสารอาหารอาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์โดยทำ ให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ประกอบด้วยสารอาหารหลายประเภท คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในอาหารนั้นมีมากมายหลายชนิด จะรวมเรียกว่า “สารอาหาร” การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ใน อาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ดังนี้ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อน เพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ - กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน - กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และจะขาดไม่ได้ 1. คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย มักพบอยู่ในรูปของแป้ง และน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ พบมากในข้าว แป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี หากปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายมีมากเกินความต้องการ ร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินนี้ให้อยู่ในรูปของไกลโคเจนและเก็บ สะสมไว้ในร่างกาย 2. ไขมัน สารอาหารประเภทไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ประกอบด้วยกรดไขมันและ กลีเซอรอล พบมากในไขมันจากพืช มันสัตว์ นม เนย ถั่ว กรดไขมันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1 กรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง กุ้ง ปู นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไขมันประเภทนี้ หากมีมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน 2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในถั่ว เต้าหู้ เห็ด น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม) ช่วยลดการดูดซึมไขมันอิ่มตัว ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน สำหรับไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี สารอาหารประเภทไขมันช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค ไขมันที่มีมากเกินความต้องการของร่างกายจะถูกสะสมเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย 3. โปรตีน สารอาหารประเภทโปรตีน เป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นที่สองรองจากน้ำ มี หน่วย ย่อยที่เล็กที่สุด คือกรดอะมิโน ซึ่งมีประมาณ 12 -22 ชนิด แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย สารอาหารประเภทโปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และเอนไซม์ รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตัน และสร้างภูมิคุ้มกันโรค โปรตีนจะพบมากในไข่ นม เนื้อสัตว์ ถั่ว ข้าว ข้าวโพด ผักและผลไม้บางชนิด โปรตีนในเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เพราะมีกรดอะมิโนครบตามความต้องการ ของร่างกาย แต่หากผู้ใดไม่รับประทานเนื้อสัตว์ก็สามารถรับประทานอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด ผัก และผลไม้ชดเชยได้ แต่อาหารประเภทนี้ก็จะมีกรดอะมิโนไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี การตรวจสอบหาสารอาหารประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร มีวิธีการตรวจสอบอย่างง่ายๆ ดังนี้ 1. การตรวจสอบหาคาร์โบไฮเดรต มี 2 วิธี คือ 1.1 การทดสอบแป้ง จะใช้สารละลายไอโอดันหยดลงบนอาหารที่ต้องการทดสอบ ถ้าอาหารที่ทดสอบมีแป้งเป็นส่วนประกอบจะเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนจากสี น้ำตาลเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ หรือม่วงแกมน้ำเงิน 1.2 การทดสอบน้ำตาล จะใช้สารละลายเบเนดิกต์หยดลงไปในอาหาร แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ถ้าเกิดตะกอนสีส้ม สีเหลือง หรือสีอิฐ แสดงว่าอาหารนั้นมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 2. การตรวจสอบหาโปรตีน จะใช้การทดสอบที่เรียกว่า การทดสอบไบยูเร็ต คือการเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารประกอบคอปเปอร์ซัลเฟตลงในอาหาร ถ้าสีของสารละลายเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง หรือสีชมพูอมม่วง หรือสีน้ำเงิน แสดงว่าอาหารนั้นมีโปรตีน 3. การตรวจสอบหาไขมัน เป็นการตรวจสอบที่สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเหมือนกับวิธีการตรวจสอบสารอาหารประเภทอื่น คือการนำอาหารไปแตะหรือถูกับกระดาษสีขาว แล้วให้แสงส่องผ่าน ถ้ากระดาษเป็นมันและมีลักษณะโปร่งแสงแสดงว่าอาหารนั้นมีไขมันอยู่ กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน วิตามิน เป็น สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ 1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค 2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม วิตามินมีดังต่อไปนี้ วิตามินเอ ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ของวิตามินเอมีดังนี้ หากขาดจะทำให้เป็นโรคมองไม่เห็นในที่มืด ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคน ผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันตับปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก) ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอร อลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้ วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมี แคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก วิตามินบีรวม มีดังต่อไปนี้ วิตามินบี1 มีมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง เห็ดฟาง ฯลฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้คาร์โบไฮเดรต การทำงานของหัวใจ หลอดอาหารและระบบประสาท วิตามิน บี2 พบมากในตับ ยีสต์ ไข่ นม เนย เนื้อ ถั่ว และผักใบเขียว ปลาและผลไม้จำพวกส้มแทบไม่มีวิตามินบี2เลย ถ้ากินวิตามินบี 2มากเกินไป ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถถูกขับถ่ายออกมาได้ วิตามินบี2มีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันที่เรียกกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า ลิปิด ใช้ในการเผาผลาญกรดอะมิโนทริพโตเฟน กรดนี้มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีความจำเป็นต่อการเกิดสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของสีที่เรตินาของลูกตา ซึ่งช่วยให้สายตาปรับตัวในแสงสว่าง อาการที่เกิดจากการขาดวิตามินบี2 คือ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร มีอาการทางประสาทการย่อยอาหารไม่ปกติ ถ้าเป็นมากๆปาก และลิ้นอาจแตก วิตามินบี3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน ประวัติของไนอาซินเริ่มมาจากการที่ประเทศอังกฤษเกิดโรคที่เรียกว่า เพลากรา(Pellagra) อาการของโรคนี้คือ เป็นโรคผิวหนัง ต่อมามีอาการท้องเดิน ในที่สุดก็จะมีอาการทางประสาทถึงขั้นเสียสติและตายไปในที่สุด ซึ่งในสมัยโบราณโรคนี้ไม่มีทางหายได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โกลเบอร์เกอร์(Goldberger)ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบคทีเรีย ได้วิจัยโรคนี้ ซึ่งเขาได้สังเกตเห็นว่า ผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนที่ไม่สามารถกินอาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ ได้เขาจึงสรุปผลออกมาว่า โรคนี้เกิดจากการที่ขาดสารอาหาร ต่อมาเขาทำการทดลองให้อาสาสมัครกินอาหารประเภทเดียวกันกับผู้ป่วยที่เป็นโรค เพลากรา และเมื่ออาสาสมัครเหล่านั้นเป็นโรคแล้ว เขาก็ทำให้หายโดยให้กินเนื้อสัตว์ นม และยีสต์ เมื่อผลเป็นเช่นนี้ ผู้คนจึงยอมรับว่า ยังมีวิตามินบีอีกชนิดหนึ่งอยู่ในอาหาร ภายหลังเรียกวิตามินนี้ว่า ไนอาซิน สามารถรักษาโรคเพลากราให้หายได้ ไนอาซินมีมากในตับและไต หน้าที่ของไนอาซิน ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นำไปใช้กับวิตามินชนิดอื่นๆเช่น วิตามินซี รักษาโรคชิโซฟรีเนีย สามารถใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนไดผล ความต้องการไนอาซิน ควรได้รับวันละ 20 มิลลิกรัม การได้รับไนอาซินมากเกินไปไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถขับถ่ายออกมาได้ อาหารที่มีไนอาซินได้แก่ ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ไต หัวใจ 1. วิตามินบี6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน(Pyridoxin) ความสำคัญของวิตามินบี6 มีดังนี้ คือ ใช้ในการผาผลาญกรดอะมิโนทริปโตเฟนในร่างกาย หากขาดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย เพราะวิตามินบี6จะช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอลอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน ผู้ที่มักขาดวิตามินบี6 ได้แก่ สตรีที่กินยาคุมกำเนิด สตรีที่อยู่ในช่วงของการมีประจำเดือน และหญิงมีครรภ์ อาหารที่มีวิตามินบี6 ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ปลา ไก่ กล้วย ข้าวแดง ฯลฯ 2. วิตามินบี12 มีอยู่ในอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ(มีวิตามินบี12มากที่สุด) นม ไข่ เนย วิตามินนี้มีอยู่ในพืชน้อยมาก ความสำคัญของ วิตามินบี12 มีดังนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค(nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์ มีส่วนช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต มีส่วนช่วยให้ร่างกายนำไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กๆ คือ มีความต้านทานต่อโรค มีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าปกติ 3. วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิก ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีมีดังนี้ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้ วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมี แคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก 4. วิตามินอี วิตามินอีได้มาจากพืชในธรรมชาติ ประโยชน์ของวิตามินอีมีดังนี้ ช่วยในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลที่ค้างอยู่ในหลอดเลือดในมนุษย์และสัตว์ ช่วยบำบัดโรคหัวใจ ช่วยในการป้องกันอันตรายจากโอโซนในบรรยากาศ ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกใต้ผิวหนัง เกลือแร่ ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้ 5. แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติ 6. เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด 7. ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง 8. แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้ ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน 9. ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้ มีการทำงานสัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันไม่ให้สารพิษชื่อว่า ฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นใน ร่างกายมนุษย์ ช่วยลดการแพ้เคมีภัณฑ์ต่างๆได้ ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร 10. สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้ หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติ หากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี(เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง) ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลง บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า 11. โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า ประโยชน์ของโครเมียมมีดังนี้ ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน |
ที่มา www.mu.ac.th |