ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย เผย วิธี รักษา โรค ต้อหิน ที่ รักษาต้อหิน ที่ได้ผล


1,357 ผู้ชม


การรักษาต้อหิน

การรักษาต้อหินโดยการใช้ยา

การใช้ยาหยอดตารักษาต้อหินเป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด เพราะสะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาทุกวันตลอดชีวิต ปัจจุลันมียาหยอดตารักษาโรคต้องหินหลายชนิดแตกต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพและอาการข้างเคียง ผู้ป่วยอาจเริ่มใช้ยาเพียงชนิดเดียวก่อน หากยังไม่สามารถควบคุมโรคไว้ได้ ก็จะต้องใช้ยาหยอดตาหลายชนิดร่วมกัน การพิจารณาใช้ยารักษาต้อหินชนิดกินหรือฉีดนั้น จะใช้ในระยะสั้นเพื่อเตรียมผ่าตัดเนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง

วิธีการหยอดตา

  1. 1. ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังหยอดตาทุกครั้ง
  2. 2. แหงนหน้าพร้อมกับใช้นิ้วชี้ดึงหนังตาล่างลง ให้มีช่องว่างระหว่างขอบตาล่างกับตาขาว
  3. 3. หยอดตาหรือป้ายยาลงไปบริเวณช่องว่างนั้น ขณะหยอดยาควรให้ปลายหลอดยาอยู่ห่างจากตา ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ระวังอย่าให้สัมผัสตาหรือขรตาเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนโรคเข้าไปในขวดยา หรือปลายขวดขูดกระจกตาได้
  4. 4. ปล่อยนิ้วชี้ที่ดึงหนังตาล่างออก แล้วหลับตาเพื่อให้ยากระจายไปทั่วนัยน์ตา
  5. 5. ถ้าหยอดยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ควรหยอดยาห่างกันอย่างน้อย 5 - 10 นาที

การรักษาต้อหินโดยการใช้แสงเลเซอร์

การใช้เลเซอร์ในโรคต้องหินสามารถลดความดันตาหรือใช้ป้องกันภาวะต้อหิน เฉียบพลันได้ การใช้เลเซอร์เพื่อลดความดันตานั้นมักใช้ร่วมกับการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่มี มุมตาแคบหรือมีภาวะต้อหินเฉียบพลัน อาจต้องได้รับการยิงเลเซอร์ที่ม่านตาเพื่อป้องกันหรือควบคุมโรคได้ การทำเลเซอร์ในโรคต้อหินนั้นทำได้ไม่ยากและไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปจะพิจารณาทำในตาทั้ง 2 ข้าง ใช้เวลาทำตาละประมาณ 10 - 15 นาที โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล

  1. 1. การใช้เลเซอร์เจาะรูปที่ม่านตา (Laser Iridotomy)
  2. ใช้สำหรับรักษาโรคต้อหินเฉียบพลันหรือใช้ป้องกันภาวะต้อหินเฉียบพลันในคนที่มีมุมตาแคบ
  1. 2. การยิงเลเซอร์
  2. เป็นการใช้เลเซอร์ในผู้ป่วยต้อหินที่มักใช้ร่วมกับการใช้ยาหยอดตา เลเซอร์ชนิดนี้สามารถลดความดันตาได้ดีในผู้ป่วยต้อหินที่มีมุมตาเปิด
  1. 3. การจี้เลเซอร์เพื่อลดความดันตา (Cyclophotocoagulation)
  2. เป็นการใช้เลเซอร์เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างสารน้ำในตา มักพิจารณาใช้ในผู้ป่วยต้อหินที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด การทำเลเซอร์วิธีนี้ยังได้ผลไม่แน่นอน และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตาได้บ้างหลังการจี้เลเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการรักษาต้อหินโดยการใช้เลเซอร์วิธีอื่นๆ ได้แก่ peripheral iridoplasty เป็นต้น

การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัด 

การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัดมุ่งเน้นที่การทำช่องเพื่อระบายน้ำภายในลูกตา (Aqueous) จากช่องลูกตาส่วนหน้า (anterior chamber) ออกมาสู่ภายนอกเพื่อลดความดันตา ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การหายของบาดแผลตรงบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด ซึ่งหากเกิดขึ้นมากก็จะนำไปสู่ความลัมเหลวของการผ่าตัด และในทางกลับกันหากเกิดขึ้นน้อยเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ การผ่าตัดต้อหินต้องทำในห้องผ่าตัด โดยทั่วไปใช้เพียงการฉีดยาชาเฉพาะที่ก็เพียงพอในผุ้ป่วยที่ไม่ร่วมมือ เช่น เด็กเล็ก อาจพิจารณาทำผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบได้

ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาต้อหินโดยการผ่าตัดประกอบด้วย

  1. 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและเลเซอร์อย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้
  2. 2. ผู้ป่วยที่แม้จะได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและเลเซอร์จนความดันตาอยู่ในระดับ ปกติ แต่ยังไม่ปลอดภัยมากพอ โดยยังคงมีการสูญเสียลายสายตา หรือเส้นใยประสาทตาอย่างต่อเนื่อง
  3. 3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาสำหรับควบคุมความดันตาได้ หรือใช้ได้แต่ไม่สม่ำเสมอ การผ่าตัดรักษาต้อหินมีหลายวิธี แต่การผ่าตัด trabeculectomy เป็นการผ่าตัดต้อหินที่เป็นมาตรฐาน มีอัตราความสำเร็จสูง แต่ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น แผลผ่าตัดรั่วซึม การติดเชื้อ ภาวะเลือดออกในตาภาวะการสูญเสียการมองเป็นหลังการผ่าตัด เป็นต้น ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัดวิธีนี้ หรือเคยทำการผ่าตัดต้อหินมาก่อนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาจพิจารณาผ่าตัดใส่อุปกรณ์ระบายน้ำในตาสำหรับโรคต้อหินซึ่งก็ให้ผลดีเช่น กัน  ส่วนการผ่าตัดวิธีอื่นนั้นยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ที่มา  www.thaiglaucoma.org

อัพเดทล่าสุด