ไส้เลื่อนลงอัณฑะ หรือ โรคไส้เลื่อนลงอัณฑะ แก้ไขและป้องกันอย่างไร


1,165 ผู้ชม


ไส้เลื่อนลงอัณฑะ


คำว่าไส้เลื่อนหมายถึงภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่นบริเวณขาหนีบ หรืออาจจะเลื่อนมาในตำแหน่งรอยผ่าตัด
ใน ท้องของเรามีลำไส้อยู่สองส่วน ส่วนแรกคือลำไส้เล็ก เป็นลำไส้ส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ขดอยู่ตรงกลางท้อง ทำหน้าที่ย่อยอาหารต่อจากกระเพาะ อีกส่วนคือลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่อยู่รอบๆลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เก็บอุจจาระและปล่อยออกไป ลำไส้พวกนี้จะมีเนื้อเยื่อบางๆเหมือนกระดาษ ที่ขึงลำไส้ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ที่ทางหน้าท้องจะมีเนื้อเยื่อบุผนังและกล้ามเนื้อบังลำไส้ไว้อีกที จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้ลำไส้มีที่อยู่ประจำของมันอยู่ในช่องท้อง หากวันใดที่ลำไส้มีเหตุให้มันเปลี่ยนไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เราก็จะเรียกมันว่า "ไส้เลื่อน"
ทำไมถึงเลื่อน
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนก็คือ ''''''''ผนังหน้าท้อง''''''''ขาดความแข็งแรง โดยสาเหตุต่างๆกันไป
1)ผิดปกติตั้งแต่เกิด บางคนมีช่องทางระหว่างช่องท้องกับลูกอัณฑะ(ซึ่งคนปกติจะปิดสนิท) บางคนขาดกล้ามเนื้อหน้าท้องบางตัว หรือมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องตั้งแต่เกิด ทั้งนี้แม้แต่จะเป็นแต่เกิด แต่อาจจะมาก่อเรื่องเมื่ออายุมากแล้วก็ได้
2)การเสื่อมลงตามอายุ พบในผู้สูงอายุ ซึ่งกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องอ่อนกำลังลง
3)อุบัติเหตุที่หน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงหรือเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง
4)แรงดันในช่องท้องสูง การยกของหนัก ไอบ่อย มีการเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ จะทำให้แรงดันในท้องเพิ่มขึ้นและค่อยๆทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง มากขึ้นอย่างช้าๆ
5)หลังการผ่าตัดช่องท้อง เนื้อเยื่อที่ถูกผ่าจะขาดความยืดหยุ่นและเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของหน้าท้อง หากช่วงพักฟื้นเกิดเหตุแทรกซ้อนกับแผล ก็จะทำให้เกิดไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัดได้มากขึ้น
ปัจจัยเหล่านี้ถ้ามีเพียงข้อเดียวมักไม่เกิดอะไรขึ้น แต่หากเป็นพร้อมกันหลายๆข้อ ก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดไส้เลื่อนได้มากขึ้น
ชนิดของไส้เลื่อนลงอัณฑะถ้าแบ่งตามตำแหน่งที่ตรวจพบ จะแบ่งได้เป็น
1) ไส้เลื่อนลงอัณฑะ
2) ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนล่าง
3) ไส้เลื่อนโคนขา
4) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด
5) ฯลฯ ไส้เลื่อนยังมีอีกหลายชนิด แต่เจอได้น้อยกว่ามาก
การแบ่งแบบนี้ ได้ประโยชน์ในแง่ของการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายด้วยตา บางครั้งอาจจะบอกได้ถึงที่มาที่ไปของโรค และนำไปใช้ในการเลือกวิธีการในการผ่าตัด
ประโยชน์อีกแง่หนึ่งก็คือบอกให้รู้ได้ว่า ไส้เลื่อนไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะกับผู้ชาย และไม่จำเป็นต้องลงไข่
ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุมโดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้นเพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืดไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal hernia และ direct inguinal hernia
Indirect inguinal hernia
ขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่ เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด
Direct inguinal hernia
ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน
ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูงเช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน
ไส้เลื่อนเกิดในผู้หญิงได้ด้วยเหรอ
ถ้าดูตามกายวิภาค ทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก ในส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ในช่องท้อง ก็มีการเจริญที่ใกล้เคียงกัน อวัยวะที่ภายนอกดูต่างกันต่างก็มีการเจริญทางกายวิภาคที่คล้ายกัน ผนังหน้าท้องของทั้งชายและหญิงก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ดังนั้นการเกิดไส้เลื่อนทุกชนิดจึงเกิดได้ในทั้งชายและหญิง
ไส้เลื่อนเกิดจากไม่ได้ใส่กางเกงในหรือไม่
เป็นความเชื่อที่ผิดๆที่ว่า ไส้เลื่อนเกิดจากการไม่ใส่กางเกงในและกระโดดโลดเต้น คิดว่าความเชื่อนี้มาจากคนที่เป็นไส้เลื่อนจะสังเกตเห็นไส้เลื่อนได้ชัดเจน ขึ้นถ้าไม่ได้ใส่กางเกงในหรือยืนเดิน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุในทางกลับกัน การใส่กางเกงในรัดๆโดยเฉพาะในผู้ชาย สามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้เช่นสังฆัง และการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการ
อาการในสายตาของแพทย์มีสองกลุ่มคือแบบหนักกับแบบเบา
แบบเบาๆก็คือ พบก้อนเคลื่อนเข้าออก หรือพบก้อนที่ค้างตุงไม่เลื่อนไปมา อาจจะไม่ปวดเลยหรือปวดมากก็ได้แบบหนักๆ ก็อาการเหมือนกลุ่มเบาๆ แต่ว่ามีอาการของลำไส้อุดตันหรือพบการอักเสบของลำไส้และช่องท้อง โดยมากมักพบในกลุ่มที่ก้อนเลื่อนมาแล้วไม่กลับเข้าที่และมีอาการปวด
ทั้งสองกลุ่มนี้ตัดกันด้วยเรื่องอาการลำไส้อุดตันหรือการอักเสบในช่องท้อง ครับ การที่แบ่งเป็นสองกลุ่มนี้ก็เพื่อเลือกว่าจะต้องผ่าตัดในทันทีเลยหรือไม่ หรือยังรอได้ส่วนขนาดหรือลักษณะไม่ได้เป็นตัวตัดสิน เนื่องจากพบว่าส่วนใหญ่แล้วในก้อนไส้เลื่อนที่เห็นตุงๆ ไม่ใช่ไส้ แต่เป็นพังผืดโอเมนตัม Omentum เลื่อนลงมาปิด ซึ่งไส้เลื่อนที่เกิดจากพวกนี้มักไม่ก่ออันตราย ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดในทันที
การรักษา
1) ผ่าตัด ความจริงผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อน ถ้าเป็นไปได้ควรจะผ่าตัด โดยเฉพาะในรายที่ไส้มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออก(เพราะพวกนี้ถ้าวันไหนเลื่อน เข้าแล้วไม่ออก มักเกิดเรื่อง) เมื่อผ่าไปแล้ว แพทย์ก็จะทำการตัดและเย็บปิดช่องทางที่ผิดปกติและใช้เทคนิกการผ่าตัดเพื่อ เสริมความแข็งแรงให้บริเวณนั้น หรืออาจจะใส่วัตถุสังเคราะห์รูปตาข่ายไปพยุงส่วนนั้นให้แข็งแรง
2) ดันไส้เลื่อนกลับ ในบางรายที่มารพ.ด้วยก้อนมีขนาดโตขึ้นและเจ็บปวด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไป
3) รอต่อไป ในผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวหรือสภาวะร่างกายที่ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด หรือเสี่ยงเกิดที่จะผ่าตัดไหว ก็จะไม่ได้รับการผ่าตัด แต่ก็จะมีการแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดการเป็นหรือลดการเกิดอาการ
ผ่าตัดเลยไม่ได้หรือ
ในทางทฤษฎี ไส้เลื่อนเป็นโรคที่ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ถ้าประเมินพบความเสี่ยงในการเกิดไส้เลื่อนติด (Incarcerated hernia & Strangulated hernia) ก็สมควรนัดทำการผ่าตัด
แต่ในสภาพปัจจุบัน ศัลยแพทย์มีจำนวนไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนการผ่าตัด การผ่าตัดที่ต้องการความชำนวญและความเร่งด่วนมีมากขึ้น โรคไส้เลื่อนชนิดที่ยังไม่รุนแรงอาการยังไม่มาก จึงมักถูกให้รอไปก่อนและนัดมาผ่า , บางครั้งในกรณีที่นัดมาแล้ว เจอเคสผู้ป่วยที่หนักถึงชีวิตเข้ามา ก็มักจะต้องเลื่อนการผ่าไส้เลื่อนออกไป ดังนั้นการผ่าหรือไม่ผ่า บางครั้งนอกจากตั้งบนสภาพของโรคแล้ว ยังตั้งอยู่บนปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่างครับ
(ในระยะหลังศัลยแพทย์ต้องทำ งานหนักขึ้น เนื่องจากปัญหาฟ้องร้องทำให้หลายรพ.ไม่สามารถทำการผ่าตัดที่เคยผ่าได้ด้วย แพทย์ทั่วไป และต้องส่งผู้ป่วยไปให้ศัลยแพทย์ดูแลโดยไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น)
แบบไหนที่ดูไม่น่าผ่าแต่ควรผ่า
ไส้เลื่อนที่พบในเด็ก เป็นภาวะหนึ่งที่ควรผ่า เนื่องจากว่าถ้าปล่อยไว้มีโอกาสเกิดไส้เลื่อนติดได้สูงกว่าในผู้ใหญ่ เมื่อพาเด็กไปตรวจและพบเป็นไส้เลื่อนแล้วก็สมควรมาผ่าตามแพทย์นัดครับ เนื่องจากถ้าปล่อยเอาไว้จนกลายเป็นแบบติดแล้วค่อยมาผ่าแบบฉุกเฉิน จะมีความเสี่ยงได้มากกว่า
กางเกงในพิเศษช่วยได้ไหม
สมัยก่อนช่วงที่ให้รอผ่าตัดไส้เลื่อน อาจจะมีผู้ป่วยบางคนได้รับกางเกงในแบบพิเศษหรืออุปกรณ์ดันไข่(เป็นกางเกงแบบ ซูโม่และมีก้านติดแผ่นโลหะแบนมากดดันที่จุดที่มีไส้เลื่อน
ปัจจุบัน การใช้เครื่องมือแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บที่จุดดังกล่าวและสามารถบดบังอาการที่ รุนแรงได้ แต่อาจมีใช้บ้างในระหว่างรอการผ่าตัด
แล้วจะทำอย่างไรขณะรอผ่าตัด
การป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำในช่วงที่รอผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เราพอจะป้องกันได้ทั้งในรายที่เป็นแล้วและในรายที่ยังไม่เป็นก็คือ การลดความดันในช่องท้องจากการกระทำต่างๆคือ
1) อย่าไอ - ในที่นี้คือไม่ไปรับสิ่งที่เสี่ยงต่อการไอ เช่นหยุดการสูบบุหรี่ รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด ถ้าไอควรจิบน้ำอุ่นบ่อยๆหรือใช้ยาแก้ไอตามสมควร
2) อย่ายกของหนัก - การยกของหนักจะทำให้เกิดการเบ่ง และเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
3) อย่าเบ่งอุจจาระ - ก็คือควรกินอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการระบาย เพราะหากท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระ ก็สามารถเกิดไส้เลื่อนซ้ำได้
4) อย่าเบ่งปัสสาวะ - ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต่อมลูกหมากโตหรืออายุมาก อาจจะต้องเบ่งปัสสาวะบ่อย ทางแก้คือไปพบแพทย์ในเรื่องดังกล่าวเพื่อตรวจและรับการรักษาเพื่อให้ถ่าย ปัสสาวะคล่องขึ้น
โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนลงอัณฑะที่สำคัญได้แก่
Incarcerated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
Strangulated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้ เน่าตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆจะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ
Bowel obstruction เกิดเมื่ออุจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม
สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์
ปวดบริเวณไส้เลื่อน ก้อนนั้นไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
ปวดท้องและอาเจียนท้องอืด
การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง
ผู้ชาย ทุกคนควรจะต้องตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น และเวลาที่เหมาะสมในการตรวจก็คือ เวลาหลังอาบน้ำเพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าท่านคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ท่านควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอด บริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่า เนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ

มะเร็งของลูกอัณฑะ
มะเร็ง ของลูกอัณฑะพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะพบในวัยอายุไม่มาก สิ่งที่จะช่วยในการตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติ คือการตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง อาการแสดงของมะเร็งลูกอัณฑะ นอกจากจะคลำก้อนหรือมีอาการบวมของลูกอัณฑะแล้ว ยังอาจจะมีอาการปวดและกดเจ็บ และคนไข้จะรู้สึกตึงหนักๆ บริเวณลูกอัณฑะ การคลำพบก้อนผิดปกติด้วยตนเองซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด ทำให้ผู้นั้นอาจมองข้ามไปก็ได้ หากผิดปกติควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันและให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
การตรวจพิสูจน์ว่าเป็น มะเร็งหรือไม่ภายหลังจากคลำก้อนที่ลูกอัณฑะได้ คือการผ่าตัดเล็กเอาชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพิสูจน์แล้วว่าเป็นมะเร็งลูกอัณฑะ แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาตัดลูกอัณฑะข้างนั้นออกไป และบางรายอาจต้องการ การฉายแสงและให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
โปรดอย่าลืมตรวจคลำความผิดปกติที่ลูกอัณฑะให้เป็นประจำ ท่านจะสามารถบอกความผิดปกติได้ทันที เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
ที่มา  www.bloggang.com

อัพเดทล่าสุด