การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด และ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหอบหืด จากโครง การวินิจฉัยการพยาบาลโรคหอบหืด ร.พ พิษณุโลก


2,102 ผู้ชม


 

งานหอบหืดบูรณาการ ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก      (การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด)

ในวันที่ 29 ตุลาคม 2552 กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ได้จัดการอบรมเสริมทักษะและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องระบบการดูแลรักษาผู้ ป่วยโรคหอบหืดในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยมี นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท แพทย์ประจำกลุ่มงานอายุรกรรมเป็น ผู้ให้ความรู้และวางแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืด การจัดระบบส่งต่อในการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ทั้งหมด 25 แห่งและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบางกระทุ่ม,โรงพยาบาลพรมพิรามเข้าร่วมรับ การอบรมในครั้งนี้ หมอรัฐภูมิได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนได้ อย่างดีเยี่ยม เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้ง่าย อย่างแรกที่เน้นต้องจำให้ได้ นั้นคือต้องรู้

 

เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วย      

   1. Controlled Asthma

   2.NO AE

   3.คุณภาพชีวิต

   4.ลดผลข้างเคียงจากยา

   5. ลดอัตราตาย

หรือจำง่ายๆ  คือ ควบคุมอาการ ให้สงบ ทำให้มีชีวิต เป็นปกติสุข

และมีสมรรถภาพปอด ในระยะยาวให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

 ซึ่งหนทางนำไปสู่เป้าหมาย....

  1. ให้ความรู้
  2. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น(รูปธรรม)
  3. Evaluate symptom
  4. Plan for treatment 

    - chronic

    - AE

  5.Effective system

 6. Special case

 หากเรารักษาแล้วผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นสักที..ซึ่งเรามักจะเจอคำถามจากผู้ป่วยหรือญาติบ่อยๆว่า...." ทำไมอาการถึงไม่ดีขึ้นเลย! ”

  ซึ่งสาเหตุของการไม่ตอบสนองต่อการรักษา นั้นต้องพิจารณาตามนี้ก่อน

  1. สูดยาไม่เป็น,ไม่ใช้ spacer
  2. ยังไม่หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น บุหรี่
  3. มีโรคร่วมที่ทำให้แย่ลง
  4. ไม่ใช่ Asthma

ดังนั้นทางทีมเจ้าหน้า PCU ต้องพิจารณา หาข้อมูลของผู้ป่วยทั้ง 4 ข้อนี้ก่อน หากการรักษาไม่ได้ผล ควรส่งมาพบแพทย์โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เมื่อ

1. คิดว่าไม่ใช่,ไม่แน่ใจ   ส่งมายืนยันการวินิจฉัย

2. รักษาเต็มที่แล้วยังไม่ดีขึ้น ( Budesonide Inhaler (200) 3*2 สูดก่อนแปรงฟัน )

3. มี AE

        งานนี้ต้องขอขอบคุณนพ.รัฐภูมิเป็นอย่างมากที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้ให้เรา อย่างมากมาย อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มองเห็นภาพการดูแลรักษาที่ชัดเจนนำไปใช้ได้

หลังจากนั้นพี่สมพร มีมะโน พยาบาล วิชาชีพประจำคลินิกโรคหอบหืด เป็นวิทยากรท่านต่อซึ่งพี่สมพร ได้ให้เราทราบหลักการประเมินและการลงข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืดต่างๆ เช่น  

การใช้แบบประเมินการควบคุมโรคหืด ( Asthma Control Test ) หรือแรก  สั้นๆว่า ACT

การทดสอบสมรรถภาพปอด ( วัด Peak Flow Meter ) เพื่อ

* การประเมินความรุนแรง

* ช่วยบอกการควบคุมอาการหืดได้ดีมากน้อยเพียงใด

* ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคหืด

ซึ่ง เราต้องทราบค่า PEFR ปกติก่อน เพราะแต่ละคนไม่เท่ากัน ค่า PEFR ขึ้นกับ เพศ ส่วนสูง อายุ , ต้องทราบค่า % predicted PEFR เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการ, ต้องบอกเป้าหมายการเป่า ( AIM PEFR )

การประเมินความรุนแรงจากการวัด PEFR

>80%-100% หอบไม่รุนแรง

> 60% - 80% หอบรุนแรงปานกลาง

< 60%  หอบรุนแรงมาก

พี่สมพรฝากเน้นย้ำ หากเจ้าหน้าที่PCUจะส่งตัวผู้ป่วยมารักษาโรคหอบหืดต่อที่ตึกผู้ป่วยนอกแผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช นั้น ให้เขียนใบส่งตัวลงข้อมูลผู้ป่วยให้ชัดเจนและส่งมาในวันที่มีคลินิกโรคหอบ หืด คือวันจันทร์ พบ นพ.ขจร สุนทราภิวัฒน์,  วันพุธ พบ นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท,วันพฤหัสฯ พบ พญ.สุนี จิรสมิทธาและวันศุกร์ พบ นพ.สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล

 งานนี้ต้องขอบคุณพี่สมพรเป็นอย่างมากที่เป็นแนวร่วมสำคัญในการจัดระบบต่างๆ

ส่วนเรื่องสุดท้ายในการอบรมนั้นเป็นส่วนของคุณพี่มณีวรรณ (พี่ตุ๋ม ) ..วันนี้ พี่ตุ๋มได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องของการจัดตั้งคลินิกและการจัดตั้งชมรมคนปลอดบุหรี่ในชุมชน ซึ่งหากเราจะดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้นถ้าเรายังไม่สามารถตัดสาเหตุการ กระตุ้นหอบกำเริบได้การรักษาก็ไม่ได้ผลดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน ดังนั้นเราจึงคิดว่าสาเหตุการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้การ รักษาหอบหืดไม่ได้ผล ถ้าผู้ป่วยยังสูบบุหรี่อยู่เช่นเดิม...เราจึงคิดถึงการจัดตั้งชมรมคนปลอด บุหรี่ขึ้นในชุมชน ซึ่งในปี 2553 ศูนย์สุขภาพชุมชนนำร่องในการตั้งชมรมฯคือ ศูนย์สุขภาพชุมชนสมอแขและบ้านป่า ...พี่ตุ๋มได้พูดถึงการใช้ทักษะการสื่อสารกับบุคคล ,การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพ  อย่างไรก็ตามหากชมรมมี การรวมกลุ่มที่ชัดเจนงานนี้ก็ต้องของเชิญวิทยากรคนเก่งของเรา (พี่ตุ๋ม) เจ้าเดิมลงชุมชนกับทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนด้วยนะคะ

ที่มา   gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด