สุขภาพ น้ํามันปลา สรรพคุณ - โทษของน้ํามันปลา


1,186 ผู้ชม


ประโยชน์ของน้ำมันปลา


น้ำมันปลาสกัดได้จากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้
น้ำมัน ปลาต่างจากน้ำมันตับปลาตรงที่น้ำมันตับปลาสกัดจากตับของปลาทะเลบางชนิด ซึ่งมีวิตามิน A และ D ในปริมาณสูง จึงเหมาะสำหรับเสริมสร้างกระดูกและสายตา ซึ่งในน้ำมันปลามีน้อยกว่ามาก
ประโยชน์ของน้ำมันปลา คือ ลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะลดไตรกลีเซอไรด์ และมีฤทธิ์ในการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือดจึงช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี ขึ้น บำรุงสมองและระบบประสาทเหมาะสำหรับทารกจนถึงวัยเด็กที่สมองกำลังพัฒนาสติ ปัญญา และการเรียนรู้ การทำงานของสมองป้องกันความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ต้านการอักเสบ เช่น ไขข้ออักเสบ โรคผิวหนังบางชนิด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการหอบหืด ภูมิแพ้ ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันในระยะต้น
ขนาด รับประทาน สำหรับบุคคลทั่วไปทาน 1,000 มก./วัน เพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูง และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือด หรือผู้ที่ต้องการลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ที่มีปัญหาไขข้ออักเสบ ควรทาน 2,000-3,000 มก. ต่อวัน
ข้อควรระวัง คือ ผู้ที่แพ้ปลาทะเลและผู้ที่กำลังได้รับยาแอสไพรินไม่ควรทานน้ำมันปลา
รู้อย่างนี้แล้ว ลองหันมาทานน้ำมันปลากันดีกว่า เพื่อสุขภาพ.

น้ำมันปลา (fish oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเนื้อและหนังปลาทะเลน้ำลึกหลายชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล น้ำมันปลาที่สกัดได้เป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ มีกรดไขมันเป็นองค์ประกอบหลายชนิด โดยมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงชนิดโอเมก้า-3 ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) กรดไขมันจำเป็นกลุ่มโอเมก้า-3 นี้ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารเข้าไป กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 มีประโยชน์ต่อเซลล์สมอง ช่วยลดไขมันในเลือดโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลทำให้ช่วยลดความ เสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและอาการปวดเค้นหน้าอกได้ ลดภาวะการเกิดหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดี และมีผลต่อกลไกการอักเสบต่างๆ ด้วย เช่น การปวดข้อเนื่องจากการอักเสบ
ในปลาทะเลแต่ละชนิดจะมีสัดส่วนของกรด ไขมันเหล่านี้อยู่ในปริมาณไม่เท่ากัน โดยในปลาซาดีนมีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 สูงสุด โดยปกติแล้วการรับประทานปลาทะเล ก็จะทำให้ร่างกายก็ได้รับน้ำมันปลาแล้ว จึงควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นปลาทะเลแพงๆ แค่ปลาอินทรีย์ ปลาทูก็ได้ประโยชน์มาก เพราะปลาทูเป็นปลาเล็ก กินได้ทั้งตัว จะทำให้ได้สารอาหารหมู่อื่นร่วมไป ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากซื้อน้ำมันปลาในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาการมารับประทาน แต่หากไม่ชอบรับประทานปลาจริงๆ ก็อาจเสริมด้วยน้ำมันปลาบรรจุแคปซูลได้ ทั้งนี้ต้องเน้นน้ำมันปลาที่มีคุณภาพดีด้วย คือ ต้องสกัดมาจากเนื้อปลาล้วนๆ ไม่ใช้ส่วนหัวที่มีคลอเลสเตอรอลสูง
ปริมาณกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ ประมาณ 250-300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับการรับประทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2 มื้อ ส่วนขนาดที่ใช้ในภาวะต่างๆ ต่างกัน เช่น ในการป้องกันโรคหัวใจและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ที่อาจเกิดจากการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง ให้แบ่งรับประทานเป็น 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือ 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นต้น
หญิงให้นมบุตรที่รับประทานน้ำมันปลาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อ เด็กที่ได้รับน้ำ นม ส่วนในเด็กเล็กไม่แนะนำให้รับประทานนำมันปลาในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากต้องการให้เด็กได้รับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 มากๆ ควรให้เด็กรับประทานในรูปอาหารดีกว่า
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูงเป็นเวลานาน มีดังต่อไปนี้
- ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทไม่พึ่งอินซูลิน อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงขึ้น
- ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด หญิงตั้งครรภ์ที่กำลังจะคลอดบุตร หรือผู้มีปัญหาโรคเลือด หากเสริมน้ำมันปลาปริมาณมากเกินไป อาจทำให้แผลหายช้า เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน
- การรับประทานน้ำมันปลาในขนาดสูงมากๆ อาจทำให้ร่างกายมีกลิ่นปลาได้
ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้น้ำมันปลาแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ดังนั้นหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์อาจลองเปลี่ยนยี่ห้อ
ที่มา  campus.sanook.com และ www.gconnex.com

อัพเดทล่าสุด