น่ารู้ น้ํามันปลา - น้ํามันปลายี่ห้อไหนดี


1,588 ผู้ชม


Fish oil หรือน้ำมันปลา มีประโยชน์อย่างไร?

สำหรับคนที่เป็นโรคอะไรโดยเฉพาะ คนที่ไม่ได้เป็นโรคอะไรทานได้หรือเปล่า ควรทานวันละกี่เม็ด ทานได้นานแค่ไหน ทานยี่ห้ออะไรดี ทานติดต่อกันเป็นเวลานานได้หรือเปล่า ควรทานตอนไหน เช้า กลางวัน เย็น ทานพร้อมอาหารเลยหรือเปล่า

คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเพื่อนๆ ที่ช่วยกันโหวต

ความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลา
ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์หันมาสนใจถึงความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลามากขึ้น หลังจากที่พบว่าชาวเอสกิโมกรีนแลนด์และชาวญี่ปุ่น มีอัตราการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดต่ำกว่าชนชาติอื่นๆ เพราะรับประทานเนื้อปลาทะเลเป็นอาหารหลัก
สารประกอบสำคัญของน้ำมันปลา
น้ำมันปลา เป็นสารประกอบของกรดไขมัน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโอเมก้า-3 มี 2 ชนิด ได้แก่
1. EPA (Eicosapentaenoic Acid)
มี คุณสมบัติในการลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด พร้อมทั้งป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด และยังป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคสมองขาดเลือด และโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2. DHA (Docosahexaenoic Acid)
เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองและดวงตา ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ ความจำ ตลอดจนระบบสายตา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของน้ำมันปลา
ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและสมองขาดเลือดชั่วคราว
การ รับประทานน้ำมันปลา จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและช่วยลดไขมันในเลือด จึงป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง โดยมีผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานน้ำมันปลาวันละ 3 กรัม ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 200-400 ยูนิต สามารถลดอัตราการตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลวลง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานน้ำมันปลา
ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน
กรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันปลา เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) อันได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3 (Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่ง สารกลุ่มนี้จะยับยั้ง การเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น
ช่วยลดไขมันในเลือดกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 จะช่วยยับยั้งการสร้างไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) และไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) นอกจากนี้ยังเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไลโปโปรตีนที่นำโคเรสเตอรอลไปทำลายที่ตับ จึงช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
ลดความดันโลหิตสูง
การ รับประทานน้ำมันปลาช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันเลือดลดลง
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อรูมาตอยด์และข้อเสื่อมกรด ไขมันในน้ำมันปลา ช่วยลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (สารกลุ่มลิวโคไตรลิน) ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบตามข้อและยังช่วยลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวดข้อ (NSAID) ลงได้
ข้อควรทราบของน้ำมันปลา
กรดไขมัน EPA และ DHA ในปลาน้ำจืดมีน้อยกว่าปลาทะเล
การกินปลาทะเล 200-300 กรัมต่อวัน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า-3 ในอาหารได้ถึง 0.2 - 0.5 กรัมต่อวัน
น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลา
โดยทั่วไป น้ำมันปลาให้วิตามิน A , D เหมาะสมต่อร่างกาย แต่การรับประทานน้ำมันตับปลาเพียง 20 CC จะได้รับวิตามิน A , D มากเกินความต้องการถึง 4 เท่า
น้ำมันปลา 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่
น้ำมันปลา เหมาะสำหรับ
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง
ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะประจำ และขาดการออกกำลังกาย
ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอร์ไรด์
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดอุดตัน
ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง
ขนาดรับประทาน
สำหรับ บุคคลทั่วไปทาน 1,000 มก./วันเพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูง และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือด หรือผู้ที่ต้องการลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ที่มีปัญหาไขข้ออักเสบ ควรทาน 2,000-3,000 มก. ต่อวัน
ข้อควรระวัง
ผู้ที่แพ้ปลาทะเลและผู้ที่กำลังได้รับยาต้านการแบ่งตัวของเกล็ดเลือดหรือแอสไพรินไม่ควรทานน้ำมันปลา

ที่มา:

https://www.latistae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538702418
 

อัพเดทล่าสุด