โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ | กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไร (ผลการวินิฉัย)


2,443 ผู้ชม


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ cystitis

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการขึ้นมา

มักจะเกิดในผู้หญิงเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นและรูเปิดของ ท่อปัสสาวะอยู่ใกล้ทวารหนักทำให้เชื้อสามารถเข้าไปในท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่พบในหญิงเจริญพันธ์แต่ก็สามารถพบได้ในเด็ก การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ เมื่อเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและแบ่งตัวมากกว่าการถูกขับออกไปจึงทำให้ เกิดโรค

ปัจจัยเสี่ยง

  • การใส่เครื่องมือ เช่นการคาสายสวนปัสสาวะหรือการส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ
  • การตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • มีการไหลย้อนของปัสสาวะ  reflux nephropathy
  • ต่อมลูกหมากโต
  • ท่อปัสสาวะตีบ
  • ดื่มน้ำน้อย

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย
  • ปวดท้องเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะไม่สุด
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ปัสสาวะกลิ่นเหม็น
  • สีขุ่น
  • มีเลือดปนปัสสาวะ

การวินิจฉัย

  • การตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง
  • การเพาะเชื้อจากปัสสาวะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ การเก็บปัสสาวะอาจจะให้ผู้ป่วยปัสสาวะเองหรือสวนปัสสาวะในกรณีที่ปัสสาวะเองไม่ได้

การรักษา

  1. ควรได้รับการรักษาเนื่องจากอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อน ยาที่นิยมใช้ได้แก่
  • nitrofurantoin
  • sulfa drugs (sulfonamides)
  • amoxicillin
  • cephalosporins
  • trimethoprim-sulfamethoxazole
  • doxycycline
  1. ให้ดื่มน้ำมากๆ 2000-4000 มล.เพื่อเร่งการขับเชื้อ 
  2. หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น กาแฟ แอลกอฮอล์

การป้องกันเหมือนการป้องกการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ


กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่ใช่จากสาเหตุจากการติดเชื้อ noninfectious Cystitis

กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากการฉายแสง หรือจากยาเคมีบำบัด หรือสารระคายอื่นเช่น ผ้าอนามัย spray ยาฆ่าเชื้อ ภาวะต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

อาการและการวินิจฉัยจะเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียต่างกันตรงที่การเพาะเชื้อจากปัสสาวะจะไม่พบเชื้อโรค

การรักษา

เป็นเพียงรักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด