โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ - โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คืออะไร (คลิก)!


970 ผู้ชม


โรคที่มากับคอมพิวเตอร์

คลิกเพื่อดูขนาดจริง
โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ ในที่นี้ไม่ใช่ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” หรือ “โปรแกรมตัวหนอน” ที่บ่อนทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ด้วยในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีบทบาท สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว ทั้งด้านการทำงานที่ใช้งานเกือบทุกอย่างสารพัด ทั้งใช้เพื่อความเพลิดเพลิน ใช้เพื่อการศึกษา สืบค้นข้อมูลและการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า คอมพิวเตอร์จะมีบทบาทยิ่งในชีวิตประจำวัน จนแทบจะแยกจากกันไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่มีคุณประโยชน์ ก็ย่อมต้องมีโทษได้เช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษ ได้ หากพูดกันถึงในแง่สุขภาพของคนเรา การใช้คอม พิวเตอร์อาจมีพิษภัยต่อสุขภาพได้..หากใช้ไม่ถูกวิธี ซึ่งความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องคอม พิวเตอร์สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นโรคได้หลายประเภท ในที่นี้จะสรุปลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ ได้ดังนี้
ตา ลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ของเราถูกออกแบบมาให้ต้องนั่งอยู่หน้าจอมอนิเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง โดยมีข้อกำหนดในเรื่องระยะห่างประมาณ 1-2 ฟุต เมื่อต้องจ้องหน้าจอดูข้อมูลเป็นเวลานาน ส่วนของนัยน์ตาอย่างน้อย 2 ส่วนคือ กล้ามเนื้อตาที่จะต้องคอยหดตัวเกร็งตัว เพื่อปรับเลนส์ตาให้มีความหนาที่เหมาะสมเพียงพอให้แสงจากจอไปตกบนฉากรับภาพ ด้านหลังของตาที่เรียกว่า เรตินา ทำให้เกิดภาพคมชัด ซึ่งหากมองจอมอนิเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าได้ เมื่อใช้สายตานานวันเข้าก็อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสายตาได้ ทั้งสายตาสั้นหรือสายตายาว
ส่วนของนัยน์ตาอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำงานหนักก็คือ จอรับภาพด้านหลังตาหรือ เรตินา ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นแท่ง ทำหน้าที่รับแสงที่ไม่สว่างมาก เช่น ภาพขาวดำ อีกชนิดหนึ่งเป็นรูปโคน ทำหน้าที่รับแสงที่สว่าง เช่น ภาพสีต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณไปที่สมอง ถ้าจำเป็นต้องจ้องหน้าจอมอนิเตอร์ที่เป็นภาพสีเป็นเวลานาน ๆ ในระยะห่างใกล้ ๆ เซลล์รูปโคนจะทำงานหนักเป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิดความเสื่อมของเรตินาก่อนเวลาอันสมควรได้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องจึงควรจ้องมองภาพผ่านจอมอนิเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง แล้วควรมีการพักสายตา โดยการเปลี่ยนไปมองระยะไกล ๆ บ้างสัก 10-15 นาที จึงค่อยกลับมาใช้คอมพิวเตอร์อีกครั้ง
สมอง ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลหรือเล่นเกม เราต้องใช้สมองของเราทำงานไปด้วยสำหรับคิดหรือรับสารข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งการใช้สมองต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ย่อมเกิดอาการอ่อนล้าได้เช่นเดียวกัน อาการส่วนมากที่พบก็คือ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ ซึ่งบางครั้งอาจไม่รู้ตัวเนื่องจากกำลังทำงานหรือกำลังใช้อินเทอร์เน็ตเล่น เกม ทำให้อาการ เตือนของสมองไม่ว่าจะเป็นอาการมึนหรือปวดศีรษะนั้นไม่ได้รับการรับรู้ อันจะทำให้เกิดผลเสียต่อสมองได้ในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สมองทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เกินไป
คอ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการนั่งมองหน้าจอมอนิเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ ศีรษะก็จะอยู่ในตำแหน่งเดิม มุมเดิมเป็นเวลานาน คอซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของศีรษะก็จะอยู่นิ่ง กล้ามเนื้อคอก็จะต้องเกร็งตัวเอาไว้เพื่อรักษาท่าและตำแหน่งของศีรษะเอาไว้ เป็นเวลานานโดยที่เราเองไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีก็มีอาการปวดเมื่อยคอ คอตึงจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานเช่นนี้เป็นเวลานานหลายปีโดยไม่มีการบริหารคอที่เหมาะ สม อาจทำให้กระดูกคอเสื่อมก่อนเวลาอันควรได้ เพราะฉะนั้นจึงควรขยับศีรษะและคอไปมา และขยับกล้ามเนื้อคอหรือหมุนศีรษะไปมาในขณะทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำ ให้อาการปวดเมื่อยคอหรือโอกาสเกิดกระดูกคอเสื่อมน้อยลงไป
ไหล่ สำหรับท่านที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนมากแล้วก็มักจะสะพายเครื่องคอมพิวเตอร์ใส่ในกระเป๋า เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กนั้นจะมีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกันไป ตั้งแต่เครื่องเล็กที่น้ำหนักเบาประมาณ 1 กิโลกรัมจนถึงเครื่องที่ค่อนข้างใหญ่หรือน้ำหนักมากถึงประมาณ 4 กิโลกรัม แต่เครื่องเล็กที่มีน้ำหนักเบาก็มักจะมีราคาแพง ดังนั้นโน้ตบุ๊กที่ใช้งานกันทั่วไปก็มักจะเป็นเครื่องที่มีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อใส่รวมกับสายไฟ อุปกรณ์เสริมอื่น และเอกสารต่าง ๆ แล้ว ก็อาจมีน้ำหนักกว่า 4 กิโลกรัมได้ ซึ่งถ้าพกพาโดยการสะพายไหล่เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดไหล่จากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณไหล่อักเสบ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังที่ต้องเกร็งตัวตลอดเวลาด้วย การเปลี่ยนมาใส่ในกระเป๋าที่มีล้อลากได้หรือพยายามให้มีน้ำหนักเบาลงโดยใช้ เครื่องที่มีน้ำหนักเบาหรือนำของไปด้วยเท่าที่จำเป็น และสะพายไหล่เท่าที่จำเป็น ก็จะทำให้หลีกเลี่ยงการอักเสบของไหล่ได้
การนอน การเพลิดเพลินกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตหรือการเล่นเกมก็มักจะทำให้นอนดึก อดนอน และร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองไม่แจ่มใส ถ้าทำติดต่อกันหลายวัน อาจส่งผลให้การเรียนหรือการทำงานขาดประสิทธิภาพ หรือเสียการเรียน หรือเสียการเสียงานได้
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้คอมพิวเตอร์ ปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกาย ยังมีอีกสามารถติดตามต่อได้.
ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ
อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
 

อัพเดทล่าสุด